xs
xsm
sm
md
lg

รมต.ต่างประเทศนำทูตสหภาพยุโรปเยี่ยมคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ 3 จชต.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ปัตตานี – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศนำคณะเอกอัคราชทูตสหภาพยุโรป เยี่ยมคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “อังคณา นuละไพจิต” เผย ผิดหวังฝ่ายความมั่นคงของรัฐคิดว่าศูนย์ยุติธรรมเพื่อสันติภาพฯ เป็นการเอื้อเฟื้อแก่ผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่

นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้นำคณะทูตสหภาพยุโรปมาเยี่ยมคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 22/186 ถ.หนองจิก อ.เมือง จ.ปัตตานี โดยมีนางอังคณา นิละไพจิต ประธานศูนย์ยุติธรรมเพื่อสันติภาพฯพร้อมด้วยคณะทำงานให้การต้อนรับ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคณะเอกอัคราชทูตสหภาพยุโรป ได้มีการสอบถามถึงหลายเรื่องโดยเฉพาะบทบาทการทำงานขององค์กรว่ามีอะไรบ้าง ในเรื่องสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

นอกจากนั้นยังได้ถามถึงกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ทหาร เข้าทำการปิดล้อมตรวจค้นที่ทำงานแห่งนี้เป็นอย่างไร และก็ได้รับการชี้แจงจากนางอังคณา นีละไพจิต ทุกๆ คำถามโดยเฉพาะเรื่องทหารปิดล้อมและตรวจค้นที่ทำงานว่ามีผู้ใหญ่ของทหารในพื้นที่ได้โทรศัพท์ขอโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

คณะฯยังได้เดินทางต่อที่มัสยิดกลางปัตตานี เพื่อพบปะกับผู้นำศาสนาอิสลาม ก่อนที่คณะจะเข้าพักที่ โรงแรม ซีเอส ปัตตานี

นางอังคณา นีละไพจิต ประธานศูนย์ยุติธรรมเพื่อสันติภาพฯ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าการทำงานด้านยุติธรรมเพี่อสันติภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้นั้น ต้องยอมรับว่ามันเสี่ยงมาก แต่ต้องทำเพื่อผดุงไว้ซึ่งคุณธรรม หลังจากที่ต้องประสพกับตัวเองหลังจากที่ทนายสมชายต้องถูกอุ้มหายสาบสูญไปจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน

การทำงานด้านยุติธรรมฯที่นี่ ได้รับการร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่ได้รับความเป็นธรรม จากเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นอย่างมาก และทุกครั้งเราก็ได้มีการบันทึกข้อมูลเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลของคณะทำงานไว้ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่เราก็ไม่ได้ยืนยันว่าข้อมูลที่เราได้มานั้นว่าจะถูกต้องเสมอไป และอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ค่อยตรงกับข้อมูลของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะต้องยอมรับว่าประชาชนอาจมีความมั่นใจว่า ข้อมูลที่ได้เปิดเผยมานั้นจะได้รับการดูแลและคุ้มครองตามสิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญ

แต่เราก็สามารถทำให้ข้อมูลเหล่านั้นตรงได้ โดยผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงของแต่ละเรื่องว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร และอธิบายสร้างความเข้าใจร่วมกันให้กับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือผู้ที่ได้รับความเสียหายกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ความเสมอภาพความเท่าเทียมกัน ความยุติธรรมก็จะเกิดขึ้น และสุดท้ายจะได้ไม่ต้องให้กลับกลายเป็นข้ออ้างของผู้ก่อความไม่สงบในพื้น ที่อ้างถึงความชอบธรรมให้กับกลุ่มตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ไม่นึกเลยว่าหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ มองว่าเป็นการเอื้อเฟื้อแก่ผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านได้มีกำลังเจ้าหน้าที่ทหารหลายสิบนายทำการปิดล้อมและตรวจค้นภายในที่ทำงาน และตรวจข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยข่มขู่ให้คณะทำงานบอกเลขรหัสผ่าน เพื่อที่จะนำข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด โดยใช้เวลาตรวจค้นนานถึง 2 ชั่วโมง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลของเพื่อนร่วมงาน ที่เป็นชาวแคนาดา ที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนรวมอยู่ด้วย

นอกจากนั้นวันถัดไป ได้มีเจ้าหน้าที่บางคนเข้ามาสังเกตการณ์ที่ทำงานบ่อยครั้ง จึงต้องมีการปิดสำนักงานมาระยะหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยและเริ่มเปิดที่ทำงานอีกครั้ง

นางอังคณา ยังได้เปิดเผยอีกว่า ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจนในนโยบายของรัฐที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน นโยบายการดูแลความปลอดภัยให้แก่คนทำงานในด้านสิทธิมนุษยชน แม้การเลือกตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ผ่านสมาชิกวุฒิสภา ว่าใครบ้างที่เคยทำงานด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นประจักษ์ ซึ่งหมายความว่าองค์กรมนุษยชนแห่งชาติภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญว่า จะยังสามารถเป็นองค์ที่พึ่งของประชาชนอีกหรือไม่



กำลังโหลดความคิดเห็น