กลุ่มสหพันธ์แรงงานฯ ยื่นข้อเรียกร้องจังหวัดปรับค่าจ้างขั้นต่ำ จัดระเบียบแรงงานข้ามชาติ และยื่นขอส่วนกลางแก้วิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อคนงาน
เมื่อเวลา 18.30 น.วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 )ที่บริเวณปลายแหลมสะพานหิน อ.เมือง จ.ภูเก็๖นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดงาน “แรงงานภูเก็ต รักษ์สิ่งแวดล้อม” เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ จังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2552 โดยมีหน่วยงานราชการเกี่ยวข้อง และผู้ใช้แรงงานในจังหวัดภูเก็ต จำนวนมาก เข้าร่วมในพิธี
นายวิจิตร ดาสันทัด ประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ จ.ภูเก็ต ประจำปี 2552 กล่าว ว่า การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติในส่วนของ จ.ภูเก็ต ในปีนี้คณะกรรมการจัดงานได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน ต่อการมีส่วนบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดใช้ชื่องานวันแรงงานแห่งชาติ จ.ภูเก็ต ว่า “แรงงานภูเก็ต รักษ์สิ่งแวดล้อม” ทั้งนี้ก็เพื่อร่วมกันรณรงค์ ปลูกจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วนในสังคมตระหนักและร่วมมือกันป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งประกาศให้สังคมรับทราบถึงบทบาทความสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่ได้สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศชาติตลอดมา จนถึงปัจจุบัน และเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานประกอบกิจการเดียวกันหรือไม่ก็ตาม อันจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีภายในจังหวัด
โดยวันนี้สหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต ได้ถือเอาโอกาสเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต โดย ขอให้ทางจังหวัดปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้ลูกจ้างในจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องรองรับกับสภาวะค่าครองชีพ ที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ขอให้ควบคุมราคาสินค้า อุปโภค บริโภค ที่จำเป็นในครัวเรือนและในชีวิตประจำวันของผู้ใช้แรงงานไม่ให้ปรับราคาสูงขึ้นเกินกว่าต้นทุนที่แท้จริง ขอให้เข้มงวดบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยค่าจ้างขั้นต่ำ อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน
นอกจากนั้นยังขอให้ทางจังหวัดภูเก็ตขอให้จัดระเบียบ แรงงานข้ามชาติ ด้วยการเข้มงวดการบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยการทำงานให้ตรงกับประเภทของใบอนุญาตทำงาน ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่เลือกเชื้อชาติ และให้เร่งผลักดันแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ออกนอกประเทศ หรือให้รับเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนให้เร่งรัดจัดระเบียบ ระบบการคมนาคม ของ จ.ภูเก็ต อาทิเช่น สร้างสะพานข้ามและกลับรถตรงแยกเซ็นทรัลและแยกโลตัส เป็นต้น
ขอให้ปรับภูมิทัศน์ตามถนนสายหลักโดยประดับไม้ดอกไม้ประดับให้มีความสวยงามสมกับเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติ ขอให้จัดระเบียบสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ และสายเคเบิ้ลต่างๆ ที่เกะกะอยู่ตามเสาไฟฟ้า ข้างถนน ให้ดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย และปลอดภัย และสุดท้ายขอให้พิจารณาจัดให้ จ.ภูเก็ต เป็นเขตการปกครองพิเศษ เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ ต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สมกับเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติ
นอกจากนี้ทางสหพันธ์แรงงานฯ ยังได้เรียกร้องไปทางส่วนกลาง ผ่านทาง จ.ภูเก็ต ในเรื่องการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อคนงาน โดยขอให้กระทรวงแรงงานตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสถานประกอบการที่มีปัญหา ตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือจ่ายเงินชดเชยแก่คนงานที่ไม่ได้รับค่าชดเชย ให้รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับขบวนการแรงงาน เพียงฉบับเดียว ให้รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ฉบับบูรณาการร่วมของผู้ใช้แรงงาน รัฐบาลต้องยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รัฐต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ประกันสังคม ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคมมีความโปร่งใส มีส่วนร่วมของผู้ประกันตน และขยายการคุ้มครองไปสู่แรงงานนอกระบบ และให้รัฐตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่จะได้รับผลกระทบจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของแต่ละกองทุน
เมื่อเวลา 18.30 น.วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 )ที่บริเวณปลายแหลมสะพานหิน อ.เมือง จ.ภูเก็๖นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดงาน “แรงงานภูเก็ต รักษ์สิ่งแวดล้อม” เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ จังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2552 โดยมีหน่วยงานราชการเกี่ยวข้อง และผู้ใช้แรงงานในจังหวัดภูเก็ต จำนวนมาก เข้าร่วมในพิธี
นายวิจิตร ดาสันทัด ประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ จ.ภูเก็ต ประจำปี 2552 กล่าว ว่า การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติในส่วนของ จ.ภูเก็ต ในปีนี้คณะกรรมการจัดงานได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน ต่อการมีส่วนบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดใช้ชื่องานวันแรงงานแห่งชาติ จ.ภูเก็ต ว่า “แรงงานภูเก็ต รักษ์สิ่งแวดล้อม” ทั้งนี้ก็เพื่อร่วมกันรณรงค์ ปลูกจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วนในสังคมตระหนักและร่วมมือกันป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งประกาศให้สังคมรับทราบถึงบทบาทความสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่ได้สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศชาติตลอดมา จนถึงปัจจุบัน และเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานประกอบกิจการเดียวกันหรือไม่ก็ตาม อันจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีภายในจังหวัด
โดยวันนี้สหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต ได้ถือเอาโอกาสเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต โดย ขอให้ทางจังหวัดปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้ลูกจ้างในจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องรองรับกับสภาวะค่าครองชีพ ที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ขอให้ควบคุมราคาสินค้า อุปโภค บริโภค ที่จำเป็นในครัวเรือนและในชีวิตประจำวันของผู้ใช้แรงงานไม่ให้ปรับราคาสูงขึ้นเกินกว่าต้นทุนที่แท้จริง ขอให้เข้มงวดบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยค่าจ้างขั้นต่ำ อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน
นอกจากนั้นยังขอให้ทางจังหวัดภูเก็ตขอให้จัดระเบียบ แรงงานข้ามชาติ ด้วยการเข้มงวดการบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยการทำงานให้ตรงกับประเภทของใบอนุญาตทำงาน ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่เลือกเชื้อชาติ และให้เร่งผลักดันแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ออกนอกประเทศ หรือให้รับเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนให้เร่งรัดจัดระเบียบ ระบบการคมนาคม ของ จ.ภูเก็ต อาทิเช่น สร้างสะพานข้ามและกลับรถตรงแยกเซ็นทรัลและแยกโลตัส เป็นต้น
ขอให้ปรับภูมิทัศน์ตามถนนสายหลักโดยประดับไม้ดอกไม้ประดับให้มีความสวยงามสมกับเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติ ขอให้จัดระเบียบสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ และสายเคเบิ้ลต่างๆ ที่เกะกะอยู่ตามเสาไฟฟ้า ข้างถนน ให้ดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย และปลอดภัย และสุดท้ายขอให้พิจารณาจัดให้ จ.ภูเก็ต เป็นเขตการปกครองพิเศษ เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ ต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สมกับเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติ
นอกจากนี้ทางสหพันธ์แรงงานฯ ยังได้เรียกร้องไปทางส่วนกลาง ผ่านทาง จ.ภูเก็ต ในเรื่องการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อคนงาน โดยขอให้กระทรวงแรงงานตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสถานประกอบการที่มีปัญหา ตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือจ่ายเงินชดเชยแก่คนงานที่ไม่ได้รับค่าชดเชย ให้รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับขบวนการแรงงาน เพียงฉบับเดียว ให้รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ฉบับบูรณาการร่วมของผู้ใช้แรงงาน รัฐบาลต้องยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รัฐต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ประกันสังคม ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคมมีความโปร่งใส มีส่วนร่วมของผู้ประกันตน และขยายการคุ้มครองไปสู่แรงงานนอกระบบ และให้รัฐตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่จะได้รับผลกระทบจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของแต่ละกองทุน