นครศรีธรรมราช - รองอธิบดีกรมศิลป์ แจงขั้นตอนดัน “พระธาตุสู่มรดกโลก” รับตั้ง กก.เร่งดำเนินการ สรุป 2 แนวทางดันเฉพาะพระธาตุ และเมืองที่เกี่ยวข้องตั้งแต่สุราษฏร์ ถึงมาเลเซีย มีพระธาตุเป็นศูนย์กลาง เตรียมยกพลพบ “ดร.อดุลย์” ขอคำแนะนำชี้ช่อง
วันนี้ (23 เม.ย.) ที่ห้องประชุมพุทธสมาคมนครศรีธรรมราช บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานผลักดันพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นมรดกโลก ครั้งที่ 2 โดยมี นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธาน โดยได้เชิญ นายเขมชาติ เทพไชย รองอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมคณะนักวิชาการกรมศิลปากร มาบรรยายให้ข้อมูลกรอบของการพิจารณามรดกโลกรวมทั้งแนะนำขั้นตอนการดำเนินการตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง
นายเขมชาติ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับการเสนอพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช เข้าสู่การพิจารณาเป็นมรดกโลก เพราะถือเป็นโบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญทางพุทธศาสนา และมีเอกลักษณะที่โดดเด่นในหลายประการ แต่การที่จะผ่านการพิจารณาเป็นมรดกโลกนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะต้องมีองค์ประกอบและขั้นตอนการดำเนินการมากมาย
โดยตนจะรับไปดำเนินการในส่วนของกรมศิลป์ที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาช่วยดูแลรวบรวมข้อมูล หลักฐานต่างๆ รวมทั้งการติดต่อประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ โดยบุคคลในประเทศไทยที่ถือว่าเชี่ยวชาญ มีบทบาท และมีบารมีเป็นที่ยอมรับของคณะกรรมการพิจารณามรดกโลก คือ ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ ในปัจจุบันท่านอายุประมาณ 80 ปี และท่านเคยเสนอพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช พระปฐมเจดีย์ สุโขทัย และอยุธยา เข้าสู่การพิจารณาเป็นมรดกโลกมาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อประมาณปี 2534 แต่ทั้งหมดไม่ผ่านการพิจารณา เพราะเหตุผลหลายประการ
“อย่างไรก็ตาม ในครั้งนั้นไม่เหมือนกับครั้งนี้ ทั้งในเรื่องของเวลาและจังหวะของการนำเสนอ และท่านได้ดำเนินการเพียงคนเดียวเท่านั้น แต่ในในครั้งนี้เป็นการร่วมกันดำเนินของของทุกฝ่ายรวมทั้งกระแสการมีส่วนร่วมและความต้องการของประชาชนก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มน้ำหนักในการพิจารณาด้วย โดยมรดกโลกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติ
ซึ่งในปัจจุบันยูเนสโกมีสมาชิกอยู่ 185 ประเทศ และ 145 ประเทศมีสถานที่ที่ผ่านการพิจารณาเป็นมรดกโลก รวม 878 แห่ง ซึ่งจำนวน 679 แห่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 174 แห่งเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ส่วนอีก 25 แห่งเป็นมรดกโลกที่ผสมผสานทั้งสองอย่าง ในส่วนของการนำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชเป็นมรดกโลกควรจะเสนอไป 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1.เสนอเฉพาะองค์พระบรมธาตุหมายรวมถึงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเพียงอย่างเดียว และ
2.เสนอในภาพรวมของเส้นทางที่เกี่ยวข้องกับพระบรมธาตุและพุทธศาสนา ตั้งแต่พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฏร์ธานี ลงไปถึงพื้นที่ จ.สงขลา อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี รวมทั้งการเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่ในประเทศมาเลเซีย โดยทั้งหมดมีพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช เป็นจุดศูนย์กลาง หากสามารถทำได้ก็จะทำให้เกิดเป็นภาพที่ยิ่งใหญ่ และมีน้ำหนักในการพิจารณามากยิ่งขึ้น”
ทางด้าน นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า การประชุมและรับฟังบรรยายสรุปแนวทาง ขั้นตอนการดำเนินงานจากนายเขมชาติ เทพไชย รองอธิบดีกรมศิลปากร ทำให้เรามีแนวทางและเป้าหมายการดำเนินการที่ถูกต้องชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในเบื้องต้นสรุปว่าจะนำเสนอ 2 แนวทางคือเฉพาะวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และในภาพรวมเมืองต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในระหว่างวันที่ 20-25 พ.ค.2552 คณะกรรมการจากนครศรีธรรมราชประมาณ 10-15 คน จะเดินทางไปพบ ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ ที่บ้านใน จ.นครปฐม
โดยทาง นายเขมชาติ วิเชียรเจริญ รวมทั้งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ จะเดินทางไปสมทบ เพื่อร่วมกันปรึกษาหารือและขอคำแนะนำจาก ดร.อดุลย์ หลังจากนั้นทุกฝ่ายจะร่วมกับทำงานในส่วนที่ได้รับมอบหมายและรีบผิดชอบ เพื่อสรุปและนำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณามรดกโลก ณ เมืองเซบีญา ประเทศสเปน ให้ทันในระหว่างวันที่ 22-24 มิ.ย.2552
“สิ่งที่จะต้องนำเสนอประกอบไปด้วย คือ การเป็นเมืองธรรมะ ที่สามารถนำธรรมะมาปกครองบ้านเมืองได้อย่างจริงจัง โดยไม่ต้องมีการใช้กำลัง ใช้อาวุธเข็ญฆ่ากัน โดยมีหลักฐานยืนยันและพิสูจน์ได้จากอดีตที่นครศรีธรรมราชมีหัวเมืองขึ้น หรือเมืองประเทศราชมากถึง 12 เมือง โดยทุกเมืองยินยอมเป็นหัวเมืองของนครศรีธรรมราชเพราะรังสีและบารมีของพระบรมธาตุเจดีย์ จนมีชื่อเรียกนครศรีธรรมราชว่า”เมือง 12 นักษัตร
และเป็นต้นแบบของการปกครองโดยใช้มรรมาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลกทำได้ ที่สำคัญ ในจำนวนมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ทั่วโลกก็ไม่มีในเรื่องนี้ การเสนอในจุดนี้จึงเป็นจุดที่แตกต่างและน่าสนใจไม่น้อย ซึ่งเชื่อว่าเป็นประเด็นที่คณะกรรมการมรดกโลกจะให้ความสำคัญและสนใจในประเด็นนี้” ผวจ.นครศรีธรรมราช กล่าว
วันนี้ (23 เม.ย.) ที่ห้องประชุมพุทธสมาคมนครศรีธรรมราช บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานผลักดันพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นมรดกโลก ครั้งที่ 2 โดยมี นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธาน โดยได้เชิญ นายเขมชาติ เทพไชย รองอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมคณะนักวิชาการกรมศิลปากร มาบรรยายให้ข้อมูลกรอบของการพิจารณามรดกโลกรวมทั้งแนะนำขั้นตอนการดำเนินการตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง
นายเขมชาติ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับการเสนอพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช เข้าสู่การพิจารณาเป็นมรดกโลก เพราะถือเป็นโบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญทางพุทธศาสนา และมีเอกลักษณะที่โดดเด่นในหลายประการ แต่การที่จะผ่านการพิจารณาเป็นมรดกโลกนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะต้องมีองค์ประกอบและขั้นตอนการดำเนินการมากมาย
โดยตนจะรับไปดำเนินการในส่วนของกรมศิลป์ที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาช่วยดูแลรวบรวมข้อมูล หลักฐานต่างๆ รวมทั้งการติดต่อประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ โดยบุคคลในประเทศไทยที่ถือว่าเชี่ยวชาญ มีบทบาท และมีบารมีเป็นที่ยอมรับของคณะกรรมการพิจารณามรดกโลก คือ ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ ในปัจจุบันท่านอายุประมาณ 80 ปี และท่านเคยเสนอพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช พระปฐมเจดีย์ สุโขทัย และอยุธยา เข้าสู่การพิจารณาเป็นมรดกโลกมาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อประมาณปี 2534 แต่ทั้งหมดไม่ผ่านการพิจารณา เพราะเหตุผลหลายประการ
“อย่างไรก็ตาม ในครั้งนั้นไม่เหมือนกับครั้งนี้ ทั้งในเรื่องของเวลาและจังหวะของการนำเสนอ และท่านได้ดำเนินการเพียงคนเดียวเท่านั้น แต่ในในครั้งนี้เป็นการร่วมกันดำเนินของของทุกฝ่ายรวมทั้งกระแสการมีส่วนร่วมและความต้องการของประชาชนก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มน้ำหนักในการพิจารณาด้วย โดยมรดกโลกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มรดกโลกทางวัฒนธรรมและมรดกโลกทางธรรมชาติ
ซึ่งในปัจจุบันยูเนสโกมีสมาชิกอยู่ 185 ประเทศ และ 145 ประเทศมีสถานที่ที่ผ่านการพิจารณาเป็นมรดกโลก รวม 878 แห่ง ซึ่งจำนวน 679 แห่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 174 แห่งเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ส่วนอีก 25 แห่งเป็นมรดกโลกที่ผสมผสานทั้งสองอย่าง ในส่วนของการนำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชเป็นมรดกโลกควรจะเสนอไป 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1.เสนอเฉพาะองค์พระบรมธาตุหมายรวมถึงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเพียงอย่างเดียว และ
2.เสนอในภาพรวมของเส้นทางที่เกี่ยวข้องกับพระบรมธาตุและพุทธศาสนา ตั้งแต่พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฏร์ธานี ลงไปถึงพื้นที่ จ.สงขลา อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี รวมทั้งการเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่ในประเทศมาเลเซีย โดยทั้งหมดมีพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช เป็นจุดศูนย์กลาง หากสามารถทำได้ก็จะทำให้เกิดเป็นภาพที่ยิ่งใหญ่ และมีน้ำหนักในการพิจารณามากยิ่งขึ้น”
ทางด้าน นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า การประชุมและรับฟังบรรยายสรุปแนวทาง ขั้นตอนการดำเนินงานจากนายเขมชาติ เทพไชย รองอธิบดีกรมศิลปากร ทำให้เรามีแนวทางและเป้าหมายการดำเนินการที่ถูกต้องชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในเบื้องต้นสรุปว่าจะนำเสนอ 2 แนวทางคือเฉพาะวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และในภาพรวมเมืองต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในระหว่างวันที่ 20-25 พ.ค.2552 คณะกรรมการจากนครศรีธรรมราชประมาณ 10-15 คน จะเดินทางไปพบ ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ ที่บ้านใน จ.นครปฐม
โดยทาง นายเขมชาติ วิเชียรเจริญ รวมทั้งนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ จะเดินทางไปสมทบ เพื่อร่วมกันปรึกษาหารือและขอคำแนะนำจาก ดร.อดุลย์ หลังจากนั้นทุกฝ่ายจะร่วมกับทำงานในส่วนที่ได้รับมอบหมายและรีบผิดชอบ เพื่อสรุปและนำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณามรดกโลก ณ เมืองเซบีญา ประเทศสเปน ให้ทันในระหว่างวันที่ 22-24 มิ.ย.2552
“สิ่งที่จะต้องนำเสนอประกอบไปด้วย คือ การเป็นเมืองธรรมะ ที่สามารถนำธรรมะมาปกครองบ้านเมืองได้อย่างจริงจัง โดยไม่ต้องมีการใช้กำลัง ใช้อาวุธเข็ญฆ่ากัน โดยมีหลักฐานยืนยันและพิสูจน์ได้จากอดีตที่นครศรีธรรมราชมีหัวเมืองขึ้น หรือเมืองประเทศราชมากถึง 12 เมือง โดยทุกเมืองยินยอมเป็นหัวเมืองของนครศรีธรรมราชเพราะรังสีและบารมีของพระบรมธาตุเจดีย์ จนมีชื่อเรียกนครศรีธรรมราชว่า”เมือง 12 นักษัตร
และเป็นต้นแบบของการปกครองโดยใช้มรรมาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลกทำได้ ที่สำคัญ ในจำนวนมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ทั่วโลกก็ไม่มีในเรื่องนี้ การเสนอในจุดนี้จึงเป็นจุดที่แตกต่างและน่าสนใจไม่น้อย ซึ่งเชื่อว่าเป็นประเด็นที่คณะกรรมการมรดกโลกจะให้ความสำคัญและสนใจในประเด็นนี้” ผวจ.นครศรีธรรมราช กล่าว