xs
xsm
sm
md
lg

ชง “เมืองเก่าเชียงแสน-สุวรรณโคมคำ” อายุ 600 ปี เป็นมรดกโลกร่วมไทย-ลาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เมืองโบราณสุวรรณโคมคำ ความสวยงามฝั่งลาว
ชงวัฒนธรรมไทย-ลาว “เมืองเก่าเชียงแสน-สุวรรณโคมคำ” อายุกว่า 600 ปีเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมร่วม 2 ชาติแห่งแรก ส่วน “เส้นทางศรีวิชัย-ล้านนา-วัดเบญจฯ-ภูมิทัศน์เจ้าพระยา” เตรียมเสนอยูเนสโก ขอขึ้นทะเบียนปี 53 ส่วนภูพระบาทหมดลุ้นมรดกโลกปีนี้แน่นอนแล้ว

เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า วธ.มีแผนงานดำเนินการด้านนำเสนอแหล่งมรดกโลกในประเทศไทยขึ้นเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ จำนวน 5 แหล่ง ได้แก่ 1. แหล่งโบราณ คดีเมืองเก่าเชียงแสน จ.เชียงราย ร่วมกับแหล่งโบราณคดีสุวรรณโคมคำ แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ชื่อ The Trans-boundary of Archaeological Urban Complex of ChiangSean and Suvannakhomkham ร่วมเป็นมรดกโลกแห่งแรกของ 2 ประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีที่สมบูรณ์อายุราว 500-600 ปี และที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองในภูมิภาคนี้ เสมือนเป็นช่องประตูแม่น้ำโขงตอนเหนือของ 2 ประเทศรับอารยธรรมยิ่งใหญ่ของโลกคือจีน-อินเดีย มาผสมผสานจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ศิลปกรรมที่โดดเด่นของตนเอง
เมืองโบราณสุวรรณโคมคำ ความสวยงามฝั่งลาว
รมว.วธ.กล่าวอีกว่า 2.เส้นทางวัฒนธรรมศรีวิชัย-นครศรีธรรมราช-สทิงพระ 3.แหล่งวัฒนธรรมล้านนา 4.ภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา และ 5.กลุ่มสถาปัตยกรรมของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดิวงศ์ เช่น วัดเบญจมบพิตร เป็นต้น ทางสำนักโบราณคดีกรมศิลปากรจะจัดทำข้อมูลของไทย 5 แห่งดังกล่าวให้เสร็จในปี 2553 เข้าสู่บัญชีรายชื่อTentative ศูนย์มรดกโลกยูเนสโกให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรมส่วนที่ไทยได้นำเสนอให้ศูนย์มรดกโลกเข้าบัญชีรายชื่อแล้ว 2 แหล่ง มีอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี และเส้นทางเชื่อมต่อทางวัฒนธรรมปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้งและปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ โดยในส่วนของอุทยานฯ ภูพระบาทกำลังจัดทำเอกสารประกอบขอขึ้นทะเบียน Nomination File ขั้นตอนสุดท้ายเสนอต่อศูนย์มรดกโลกให้ทันการพิจารณาปี 2553

“หากผ่านความเห็นชอบจะเข้าสู่คณะกรรมการมรดกโลกชุดใหญ่พิจารณาในกลางปี 2554 อย่างไรก็ตาม อุทยานฯ ปราสาทหินพิมายยังมีปัญหาขอบเขตพื้นที่ของโบราณสถานอยู่ในชุมชน ที่ต้องสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ก่อน เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาเหมือนอุทยานฯ พระนครศรีอยุธยา ดังนั้น กรมศิลปากรจะจัดสัมมนาประชาพิ จารณ์รับฟังความคิดเห็นของประชาชนพื้นที่อุทยานฯ ปราสาทหินพิมายในวันศุกร์ที่ 5 มิ.ย.นี้” รมว.วธ.กล่าว

ด้าน นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กล่าวว่า คณะกรรมการมรดกโลกจะมีการประชุม ครั้งที่ 33 วันที่ 22-30 มิ.ย.นี้ ประเทศสเปน ซึ่งกรมศิลปากรจะยังไม่เสนออุทยานฯ 2 แหล่งดังกล่าว เนื่อง จากขณะนี้ยังจัดทำข้อมูล Nomination File ของอุทยานฯ ภูพระบาทขั้นตอนสุดท้าย เพราะสภาพนิเวศทางวัฒนธรรม ประติมากรรมโขดหินอายุนับล้านปีและร่องรอยวัฒนธรรมทวารวดี กับธรรมชาติของป่าเขาไม่ถูกรบกวนจากบ้านเรือนและผู้คนอาศัยอยู่รอบเขตอุทยานฯ ซึ่งต้องดำเนินการจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานฯ ตามหลักเกณฑ์มรดกโลก และแปลเป็นภาษาอังกฤษประมาณ 500 หน้า ที่จะเสนอศูนย์มรดกโลก น่าจะเสนอในกลางปี 2553

“ในส่วนของอุทยานฯ ปราสาทพิมายนั้น ต้องทำประชาพิจารณ์รับฟังข้อคิดเห็นของคนในพื้นที่กับแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาฯ ให้เรียบร้อยก่อน เพราะเกรงว่าจะไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินของอีโคโมสสากล ทั้งจะส่งผลกระทบไปถึงปราสาทหินพนมรุ้ง-ปราสาทเมืองต่ำจะไม่ได้เป็นมรดกโลกอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากประชาชนในพื้นที่อุทยานฯปราสาทหินพิมายเห็นชอบแผนแม่บทฯ ก็จะเร่งจัดทำข้อมูลเสนอพร้อมกันอุทยานฯ ภูพระบาทปี 2553” ผอ.สำนักโบราณคดี กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น