นครศรีธรรมราช – ผู้ว่าราชการจังหวัดนราศรีธรรมราช ผุดโครงการ “ฝากพ่อแม่ไว้กับผู้ว่า” รับเทศกาลสงกรานต์ เพื่อช่วยดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ยามลูกหลานไม่อยู่ - ช่วง 7 วันอันตราย สั่งตั้งจุดตรวจทุกหมู่บ้าน “หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งจุดตรวจ” คาดโทษท้องถิ่นไหนมีบาดเจ็บ ตาย งดพิจารณาท้องถิ่นดีเด่น 3 เดือน
นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า จากการเข้าร่วมประชุมสัมมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ ปี 2552 ที่โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร ในประเด็นเรื่อง “การดูแลผู้สูงอายุ” ทำให้ได้รับทราบสถิติที่น่าสนใจจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปรากฏว่า สังคมไทยมีผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียวเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติปี 2545 มีผู้สูงอายุอยู่คนเดียว คิดเป็นร้อยละ 6.3 ปี 2548 ร้อยละ 7.1 และปี 50 ร้อยละ 7.7 เป็นตัวเลขที่น่าห่วงสำหรับสับคมไทยในปัจจุบัน ที่เริ่มจะมีความห่างเหินกับพ่อแม่หรือผู้สูงอายุ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของความอบอุ่นในสังคมไทย
สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงถือเอาเทศกาลสงกรานต์ปี 2552 เปิดตัวโครงการ “ฝากพ่อแม่ไว้กับผู้ว่าฯ” โดยกำหนดให้การบริหารราชการ คือ ให้ส่วนราชการ เข้าไปดูแลผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และสร้างความใกล้ชิดระหว่างประชาชนกับข้าราชการ โดยขณะนี้ได้สั่งการให้นายอำเภอทุกอำเภอดำเนินการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบว่าบ้านใดมีผู้สูงอายุที่ต้องการฝากให้ผู้ว่าฯ ดูแล ในยามที่ท่านอยู่ห่างไกล พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือจะไม่ถูกทอดทิ้งแบบไร้คนเหลียวแล
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จะทำหน้าที่แทนท่าน โดยจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลเรื่องการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ดูแลเรื่องสวัสดิการต่างๆ เพื่อสร้างความใกล้ชิดให้เกิดขึ้นระหว่างข้าราชการกับประชาชนอย่างแท้จริง
นายภาณุ กล่าวต่อว่า หากบุตรหลานที่มีความประสงค์จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าไปดูแลพ่อแม่แทนลูกๆ หลานๆ ที่ต้องทิ้งถิ่นฐานไปทำงานต่างถิ่นที่ห่างไกล ให้แจ้งความประสงค์ได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 0-7535-6165 หรือแจ้งไปยังอำเภอทุกอำเภอได้ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
สำหรับช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ นายภาณุกล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือเทศกาลสงกรานต์ ปี 2552 ในช่วง วันหยุด 7 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 10-16 เมษายน 2552 เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ผ่านมาปรากฏว่า มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บ (Admit) บนถนนสายรองภายในหมู่บ้านสูงกว่าอุบัติเหตุบนถนนสายหลัก
ในส่วนนี้นครศรีธรรมราช จึงใช้มาตรการเพิ่มความเข้มข้น โดยวิธี “หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งจุดตรวจ” โดยสั่งการทุกอำเภอตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับอำเภอ รวมทั้งให้มีการตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจร่วมแบบบูรณาการ ตั้งจุดสกัดประจำชุมชน หมู่บ้าน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. เทศบาลตำบล เป็นหน่วยงานหลักในการตั้งจุดตรวจ ในถนนสายรองหมู่บ้านละ 1 แห่ง เพื่อดูแลสอดส่อง ป้องกันผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น วัยรุ่นผู้ขับขี่ขณะมึนเมา ขับขี่โดยไม่มีใบขับขี่ ขับขี่รถเร็วเกินสมควร ขับขี่ย้อนศร และผู้ขับขี่จักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัย รวมทั้งรถกระบะที่บรรทุกผู้โดยสารท้ายกระบะเกินจำนวนที่เหมาะสมหรือในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตราย นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัด นครศรีธรรมราช กล่าว
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวต่อว่า สำหรับการจัดตั้งจุดตรวจให้ปฏิบัติในลักษณะบูรณาการร่วมกัน โดยจัดให้มีบุคลากรจากอาสาสมัคร ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มพลังมวลชน พนักงานส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ และควรให้มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ประจำอยู่ในจุดตรวจด้วย เพื่อจะได้ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเบื้องต้นได้ นอกจากนี้ทุกจุดตรวจจะต้องจัดตั้งชุดหน่วยกู้ชีพ กู้ภัยพร้อมพาหนะและวัสดุอุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างน้อยตำบลละ 1 ชุด และกรณีที่ตำบลใดมีจุดเสี่ยงภัยที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งให้ติดตั้งสัญญาไฟ หรือไฟหมุน ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเห็นอย่างชัดเจน
นายภาณุ อุทัยรัตน์ กล่าวอีกว่า จังหวัดจะพิจารณามอบรางวัลให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลตำบลที่ปฏิบัติตามมาตรการ “หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งจุดตรวจ” สำหรับตำบลใดที่ทุกส่วนบูรณาการร่วมกันในการปฏิบัติงาน และไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต และหากตำบลใดมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจังหวัดจะระงับการพิจารณาคัดเลือกข้าราชการและผู้บริหาร/สมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ในการรับรางวัลคนเด่นท้องถิ่นเป็นเวลาติดต่อกัน 3 เดือน
นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า จากการเข้าร่วมประชุมสัมมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ ปี 2552 ที่โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร ในประเด็นเรื่อง “การดูแลผู้สูงอายุ” ทำให้ได้รับทราบสถิติที่น่าสนใจจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปรากฏว่า สังคมไทยมีผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียวเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติปี 2545 มีผู้สูงอายุอยู่คนเดียว คิดเป็นร้อยละ 6.3 ปี 2548 ร้อยละ 7.1 และปี 50 ร้อยละ 7.7 เป็นตัวเลขที่น่าห่วงสำหรับสับคมไทยในปัจจุบัน ที่เริ่มจะมีความห่างเหินกับพ่อแม่หรือผู้สูงอายุ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของความอบอุ่นในสังคมไทย
สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงถือเอาเทศกาลสงกรานต์ปี 2552 เปิดตัวโครงการ “ฝากพ่อแม่ไว้กับผู้ว่าฯ” โดยกำหนดให้การบริหารราชการ คือ ให้ส่วนราชการ เข้าไปดูแลผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และสร้างความใกล้ชิดระหว่างประชาชนกับข้าราชการ โดยขณะนี้ได้สั่งการให้นายอำเภอทุกอำเภอดำเนินการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบว่าบ้านใดมีผู้สูงอายุที่ต้องการฝากให้ผู้ว่าฯ ดูแล ในยามที่ท่านอยู่ห่างไกล พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือจะไม่ถูกทอดทิ้งแบบไร้คนเหลียวแล
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จะทำหน้าที่แทนท่าน โดยจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลเรื่องการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ดูแลเรื่องสวัสดิการต่างๆ เพื่อสร้างความใกล้ชิดให้เกิดขึ้นระหว่างข้าราชการกับประชาชนอย่างแท้จริง
นายภาณุ กล่าวต่อว่า หากบุตรหลานที่มีความประสงค์จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าไปดูแลพ่อแม่แทนลูกๆ หลานๆ ที่ต้องทิ้งถิ่นฐานไปทำงานต่างถิ่นที่ห่างไกล ให้แจ้งความประสงค์ได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 0-7535-6165 หรือแจ้งไปยังอำเภอทุกอำเภอได้ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
สำหรับช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ นายภาณุกล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือเทศกาลสงกรานต์ ปี 2552 ในช่วง วันหยุด 7 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 10-16 เมษายน 2552 เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ผ่านมาปรากฏว่า มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บ (Admit) บนถนนสายรองภายในหมู่บ้านสูงกว่าอุบัติเหตุบนถนนสายหลัก
ในส่วนนี้นครศรีธรรมราช จึงใช้มาตรการเพิ่มความเข้มข้น โดยวิธี “หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งจุดตรวจ” โดยสั่งการทุกอำเภอตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับอำเภอ รวมทั้งให้มีการตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจร่วมแบบบูรณาการ ตั้งจุดสกัดประจำชุมชน หมู่บ้าน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. เทศบาลตำบล เป็นหน่วยงานหลักในการตั้งจุดตรวจ ในถนนสายรองหมู่บ้านละ 1 แห่ง เพื่อดูแลสอดส่อง ป้องกันผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น วัยรุ่นผู้ขับขี่ขณะมึนเมา ขับขี่โดยไม่มีใบขับขี่ ขับขี่รถเร็วเกินสมควร ขับขี่ย้อนศร และผู้ขับขี่จักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัย รวมทั้งรถกระบะที่บรรทุกผู้โดยสารท้ายกระบะเกินจำนวนที่เหมาะสมหรือในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตราย นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัด นครศรีธรรมราช กล่าว
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวต่อว่า สำหรับการจัดตั้งจุดตรวจให้ปฏิบัติในลักษณะบูรณาการร่วมกัน โดยจัดให้มีบุคลากรจากอาสาสมัคร ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มพลังมวลชน พนักงานส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ และควรให้มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ประจำอยู่ในจุดตรวจด้วย เพื่อจะได้ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเบื้องต้นได้ นอกจากนี้ทุกจุดตรวจจะต้องจัดตั้งชุดหน่วยกู้ชีพ กู้ภัยพร้อมพาหนะและวัสดุอุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างน้อยตำบลละ 1 ชุด และกรณีที่ตำบลใดมีจุดเสี่ยงภัยที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งให้ติดตั้งสัญญาไฟ หรือไฟหมุน ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเห็นอย่างชัดเจน
นายภาณุ อุทัยรัตน์ กล่าวอีกว่า จังหวัดจะพิจารณามอบรางวัลให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลตำบลที่ปฏิบัติตามมาตรการ “หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งจุดตรวจ” สำหรับตำบลใดที่ทุกส่วนบูรณาการร่วมกันในการปฏิบัติงาน และไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต และหากตำบลใดมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจังหวัดจะระงับการพิจารณาคัดเลือกข้าราชการและผู้บริหาร/สมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ในการรับรางวัลคนเด่นท้องถิ่นเป็นเวลาติดต่อกัน 3 เดือน