ชุมพร - กรมประมงไม่อนุญาตลดระยะแนวเขตการปิดอ่าวอนุรักษ์สัตว์น้ำตามที่กลุ่มชาวประมงร้องขอ จาก 60 ไมล์ทะเล ให้คงเหลือ 45 ไมล์ทะเล หวั่นกระทบต่อการเจริญเติบโตของลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน
นายสุพจน์ จึงแย้มปิ่น ประมงจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า ด้วยมีกลุ่มชาวประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี สมุทรสาคร และชุมพร เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อขอร่นระยะแนวเขตการประกาศปิดอ่าว เนื่องจากได้รับความเดือดร้อน และได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดอ่าว โดยขอให้จังหวัดได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยการร่นแนวเขตห้ามทำการประมงจากเดิมในระยะ 60 ไมล์ทะเล ให้คงเหลือ 45 ไมล์ทะเล
นายสุพจน์ เปิดเผยด้วยว่า จากปัญหาและข้อเรียกร้องดังกล่าว ทางจังหวัดได้แจ้งให้กรมประมง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ผลปรากฏว่า ไม่สามารถผ่อนผันให้ตามที่กลุ่มประมงร้องขอได้
ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่ที่ห้ามทำการประมงตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศปิดอ่าวเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์-15 พฤษภาคม ของทุกปี ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และ สุราษฎร์ธานี เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่แหล่งวางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำหมายชนิด ทั้งปลาผิวน้ำ ปลาหน้าดิน
ประกอบกับเป็นพื้นที่ที่มีลูกปลาวัยอ่อนของปลาทู-ลัง ปลาสีกุน ปลาหางแข็ง และสัตว์น้ำวัยอ่อนหลายชนิด ซึ่งหากมีการลดพื้นที่ตามที่ชาวประมงร้องขอ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน ทำให้ปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง อันจะส่งผลกระทบต่อชาวประมงได้ในระยะยาวได้
นายสุพจน์ จึงแย้มปิ่น ประมงจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า ด้วยมีกลุ่มชาวประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี สมุทรสาคร และชุมพร เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อขอร่นระยะแนวเขตการประกาศปิดอ่าว เนื่องจากได้รับความเดือดร้อน และได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดอ่าว โดยขอให้จังหวัดได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยการร่นแนวเขตห้ามทำการประมงจากเดิมในระยะ 60 ไมล์ทะเล ให้คงเหลือ 45 ไมล์ทะเล
นายสุพจน์ เปิดเผยด้วยว่า จากปัญหาและข้อเรียกร้องดังกล่าว ทางจังหวัดได้แจ้งให้กรมประมง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ผลปรากฏว่า ไม่สามารถผ่อนผันให้ตามที่กลุ่มประมงร้องขอได้
ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่ที่ห้ามทำการประมงตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศปิดอ่าวเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์-15 พฤษภาคม ของทุกปี ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และ สุราษฎร์ธานี เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่แหล่งวางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำหมายชนิด ทั้งปลาผิวน้ำ ปลาหน้าดิน
ประกอบกับเป็นพื้นที่ที่มีลูกปลาวัยอ่อนของปลาทู-ลัง ปลาสีกุน ปลาหางแข็ง และสัตว์น้ำวัยอ่อนหลายชนิด ซึ่งหากมีการลดพื้นที่ตามที่ชาวประมงร้องขอ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน ทำให้ปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง อันจะส่งผลกระทบต่อชาวประมงได้ในระยะยาวได้