พัทลุง – เกษตรจังหวัดพัทลุงส่งเสริมปลูกพืชฤดูแล้ง พร้อมเตือนให้วางแผนการใช้น้ำ กำหนดพืชที่จะปลูกให้เหมาะสมกับช่วงฤดูกาล และแหล่งน้ำต้นทุนโดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน ที่เสี่ยงต่อการขาดน้ำ ควรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยเพื่อลดความเสียหาย
วันนี้ (27 ก.พ.) นายสุรศักดิ์ สุวรรณวงศ์ เกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า จังหวัดพัทลุงกำหนดพื้นที่ส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2551/52 ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 11 อำเภอ จำนวน 69,000 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง 64,700 ไร่ อยู่ในเขตชลประทาน 32,300 ไร่ สูบน้ำด้วยไฟฟ้า 9,500 ไร่ และแหล่งน้ำอื่น ๆ 23,900 ไร่ ส่วนพืชไร่-พืชผัก พื้นที่ปลูก 4,300 ไร่ อยู่ในเขตชลประทาน 1,800 ไร่ สูบน้ำด้วยไฟฟ้า 250 ไร่ และแหล่งน้ำอื่นๆ 2,500 ไร่ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร มีรายได้เสริมหลังการเก็บเกี่ยวข้าว สร้างการมีงานทำ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พื้นที่ของตนเองให้คุ้มค่า ปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
เกษตรจังหวัดพัทลุงกล่าวต่ออีกว่า เกษตรกรที่มีแผนหรือกำลังปลูกพืชฤดูแล้งให้ไปขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชฤดูแล้ง กับสำนักงานเกษตรอำเภอ หรือศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลที่ใกล้บ้านท่าน เพื่อจะได้วางแผนบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอตลอดช่วงการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งให้กับเกษตรกร
นอกจากนี้ เกษตรจังหวัดพัทลุงยังขอให้เกษตรกรที่จะปลูกพืชฤดูแล้งได้วางแผนการใช้น้ำ กำหนดพืชที่จะปลูกให้เหมาะสมกับช่วงฤดูกาล และแหล่งน้ำต้นทุนโดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทานที่เสี่ยงต่อการขาดน้ำ ควรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยเพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป
วันนี้ (27 ก.พ.) นายสุรศักดิ์ สุวรรณวงศ์ เกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า จังหวัดพัทลุงกำหนดพื้นที่ส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2551/52 ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 11 อำเภอ จำนวน 69,000 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง 64,700 ไร่ อยู่ในเขตชลประทาน 32,300 ไร่ สูบน้ำด้วยไฟฟ้า 9,500 ไร่ และแหล่งน้ำอื่น ๆ 23,900 ไร่ ส่วนพืชไร่-พืชผัก พื้นที่ปลูก 4,300 ไร่ อยู่ในเขตชลประทาน 1,800 ไร่ สูบน้ำด้วยไฟฟ้า 250 ไร่ และแหล่งน้ำอื่นๆ 2,500 ไร่ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร มีรายได้เสริมหลังการเก็บเกี่ยวข้าว สร้างการมีงานทำ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พื้นที่ของตนเองให้คุ้มค่า ปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
เกษตรจังหวัดพัทลุงกล่าวต่ออีกว่า เกษตรกรที่มีแผนหรือกำลังปลูกพืชฤดูแล้งให้ไปขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชฤดูแล้ง กับสำนักงานเกษตรอำเภอ หรือศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลที่ใกล้บ้านท่าน เพื่อจะได้วางแผนบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอตลอดช่วงการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งให้กับเกษตรกร
นอกจากนี้ เกษตรจังหวัดพัทลุงยังขอให้เกษตรกรที่จะปลูกพืชฤดูแล้งได้วางแผนการใช้น้ำ กำหนดพืชที่จะปลูกให้เหมาะสมกับช่วงฤดูกาล และแหล่งน้ำต้นทุนโดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทานที่เสี่ยงต่อการขาดน้ำ ควรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยเพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป