ศูนย์ข่าวภูเก็ต -ภูเก็ตทำแผนแม่บท จัดการแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภค-บริโภค กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาทั้งระยะเร่งด่วนจนถึงระยะยาว
นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการจัดทำแผนแม่บท ด้านการบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภคจังหวัดภูเก็ต เพื่อพิจารณาสถานการณ์น้ำอุปโภคบริโภคในจังหวัดภูเก็ต ว่า จากรายงานสถานการณ์น้ำอุปโภคบริโภคปัจจุบันของจังหวัดภูเก็ต จากโครงการชลประทานภูเก็ตทราบว่า ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตมีแหล่งน้ำที่ใช้ได้ในปี 2552 รวมความจุแหล่งเก็บกักน้ำผิวดินประมาณ 21 ล้านลูกบาศก์เมตร
ในจำนวนนี้รวมขุมน้ำของเอกชนด้วย แต่เมื่อรวมกับน้ำท่า น้ำทะเล และน้ำใต้ดิน จะสามารถนำมาใช้ได้ ประมาณ 46 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี แต่ปริมาณน้ำต้นทุนที่นำมาใช้ได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทั้งหมด เอกชนบางแห่งไม่ยินยอมให้ใช้น้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณที่ไม่มีระบบประปา จำเป็นต้องใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้น บ่อบาดาลและประปาชนบทขนาดเล็ก
จากปัญหาดังกล่าว จังหวัดภูเก็ตจะต้องหาแนวทางในการจัดทำแผนแม่บท เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคขึ้น โดยการแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคของจังหวัดภูเก็ต จะต้องมีการแก้ปัญหาทั้งในระยะเร่งด่วน ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
ทั้งนี้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินการ 3 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์แรก คือ การหาและพัฒนาแหล่งน้ำ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการน้ำ และยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ทั้งนี้ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อรวมรวบรวมข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน ที่มีการศึกษาไว้แล้วมาบูรณาการ เพื่อจัดทำเป็นแผนแม่บทในการด้านการบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภคจังหวัดภูเก็ตต่อไป
นายตรี ยังได้กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ โครงการชลประทานภูเก็ต ยังได้ใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์จากที่ได้จ้างบริษัทฯ ศึกษาการ จัดหาน้ำภูเก็ตเมื่อปี 2539-2541 เป็นแนวทางการวิเคราะห์ปริมาณความต้องการน้ำในทุกกิจกรรม โดยใช้ข้อมูลจริงปี 2545-2549 และวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มปริมาณความต้องการน้ำของจังหวัดภูเก็ต
ผลคือปริมาณความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและปริมาณนักท่องเที่ยว ซึ่งจากปี 2547 มีความต้องการน้ำประมาณ 42 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2552 ต้องการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคประมาณ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือต้องการน้ำประปาเฉลี่ยประมาณวันละ 137,000 ลูกบาศก์เมตร
ส่วนในระยะยาวปริมาณความต้องการน้ำ ดังนี้ ปี 2560 ต้องการน้ำ ประมาณ 61 ล้านลูกบาศก์เมตร ปี 2570 ต้องการน้ำประมาณ 78 ล้านลูกบาศก์เมตร ปี 2580 ต้องการน้ำ ประมาณ 101 ล้านลูกบาศก์เมตร
นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการจัดทำแผนแม่บท ด้านการบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภคจังหวัดภูเก็ต เพื่อพิจารณาสถานการณ์น้ำอุปโภคบริโภคในจังหวัดภูเก็ต ว่า จากรายงานสถานการณ์น้ำอุปโภคบริโภคปัจจุบันของจังหวัดภูเก็ต จากโครงการชลประทานภูเก็ตทราบว่า ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตมีแหล่งน้ำที่ใช้ได้ในปี 2552 รวมความจุแหล่งเก็บกักน้ำผิวดินประมาณ 21 ล้านลูกบาศก์เมตร
ในจำนวนนี้รวมขุมน้ำของเอกชนด้วย แต่เมื่อรวมกับน้ำท่า น้ำทะเล และน้ำใต้ดิน จะสามารถนำมาใช้ได้ ประมาณ 46 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี แต่ปริมาณน้ำต้นทุนที่นำมาใช้ได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทั้งหมด เอกชนบางแห่งไม่ยินยอมให้ใช้น้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณที่ไม่มีระบบประปา จำเป็นต้องใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้น บ่อบาดาลและประปาชนบทขนาดเล็ก
จากปัญหาดังกล่าว จังหวัดภูเก็ตจะต้องหาแนวทางในการจัดทำแผนแม่บท เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคขึ้น โดยการแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคของจังหวัดภูเก็ต จะต้องมีการแก้ปัญหาทั้งในระยะเร่งด่วน ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
ทั้งนี้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินการ 3 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์แรก คือ การหาและพัฒนาแหล่งน้ำ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการน้ำ และยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ทั้งนี้ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อรวมรวบรวมข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน ที่มีการศึกษาไว้แล้วมาบูรณาการ เพื่อจัดทำเป็นแผนแม่บทในการด้านการบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภคจังหวัดภูเก็ตต่อไป
นายตรี ยังได้กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ โครงการชลประทานภูเก็ต ยังได้ใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์จากที่ได้จ้างบริษัทฯ ศึกษาการ จัดหาน้ำภูเก็ตเมื่อปี 2539-2541 เป็นแนวทางการวิเคราะห์ปริมาณความต้องการน้ำในทุกกิจกรรม โดยใช้ข้อมูลจริงปี 2545-2549 และวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มปริมาณความต้องการน้ำของจังหวัดภูเก็ต
ผลคือปริมาณความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและปริมาณนักท่องเที่ยว ซึ่งจากปี 2547 มีความต้องการน้ำประมาณ 42 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2552 ต้องการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคประมาณ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือต้องการน้ำประปาเฉลี่ยประมาณวันละ 137,000 ลูกบาศก์เมตร
ส่วนในระยะยาวปริมาณความต้องการน้ำ ดังนี้ ปี 2560 ต้องการน้ำ ประมาณ 61 ล้านลูกบาศก์เมตร ปี 2570 ต้องการน้ำประมาณ 78 ล้านลูกบาศก์เมตร ปี 2580 ต้องการน้ำ ประมาณ 101 ล้านลูกบาศก์เมตร