ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สำนักปลัดกระทรวงการคลัง ถ่ายทอดความรู้ธุรกิจเงินนอกระบบป้องกันชาวบ้านถูกหลอก หลังมีการร้องเรียนเกิดขึ้นมาก
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (19 ก.พ.) ที่ห้องประชุมโรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมสร้างวิทยากรตัวคูณ รุ่นที่ 16 ตามโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจการเงินนอกระบบให้กับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งทางกลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังจัดขึ้น โดยมีพนักงานพัฒนาธุรกิจของ ธ.ก.ส.และผู้นำองค์กรส่วนท้องถิ่นหรือผู้แทนที่เป็นสมาชิก เครือข่ายของ ธ.ก.ส.จำนวนประมาณ 70 คน เข้าร่วม ทั้งนี้ เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบที่เข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายและแนวโน้ม ตลอดจนเมื่อถูกหลอกลวงจะปฏิบัติอย่างไร
ในขณะที่ นายจิระ พันธ์คีรี รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจการเงินนอกระบบได้มีการพัฒนารูปแบบหลากหลายและขยายวงกว้างในเวลาอันรวดเร็ว และที่ผ่านมา ทางกระทรวงการคลังได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนในต่างจังหวัดซึ่งเป็นผู้ถูกหลอกให้ได้รับความเสียหายจากธุรกิจการเงินนอกระบบในรูปแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก
เช่น การสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทในลักษณะของแชร์ลูกโซ่ แชร์น้ำมัน แชร์ข้าวสาร การจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น ซึ่งเข้าข่ายกระทำผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 และแก้ไขเพิ่มเติม จึงต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูลธุรกิจการเงินนอกระบบในต่างจังหวัด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาในการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันการณ์ รวมทั้งเป็นการปฏิบัติตามนัยของนโยบาย
ขณะที่ นางสาวเพ็ญศรี ภาสสกุล สรรพากรพื้นที่ภูเก็ต ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบในส่วนของภูมิภาคระดับจังหวัด กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนในหลายจังหวัดว่าได้รับความเสียหายจากกลุ่มมิจฉาชีพโดยหลอกให้ลงทุนในธุรกิจการเงินนอกระบบในรูปแบบต่างๆ และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวออกไปมากขึ้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับธุรกิจการเงินนอกระบบรูปแบบต่างๆ ให้กับประชาชน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องดังกล่าวเพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดให้ประชาชนได้มีความเข้าใจ และไม่ถูกหลอกลวงอีกต่อไป รวมทั้งยังได้มีการจัดทำสื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ประเภทต่างๆ มอบให้แก่วิทยากรตัวคูณเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขยายผลให้ครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความเข้าใจง่ายขึ้น
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (19 ก.พ.) ที่ห้องประชุมโรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมสร้างวิทยากรตัวคูณ รุ่นที่ 16 ตามโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจการเงินนอกระบบให้กับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งทางกลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังจัดขึ้น โดยมีพนักงานพัฒนาธุรกิจของ ธ.ก.ส.และผู้นำองค์กรส่วนท้องถิ่นหรือผู้แทนที่เป็นสมาชิก เครือข่ายของ ธ.ก.ส.จำนวนประมาณ 70 คน เข้าร่วม ทั้งนี้ เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบที่เข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายและแนวโน้ม ตลอดจนเมื่อถูกหลอกลวงจะปฏิบัติอย่างไร
ในขณะที่ นายจิระ พันธ์คีรี รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจการเงินนอกระบบได้มีการพัฒนารูปแบบหลากหลายและขยายวงกว้างในเวลาอันรวดเร็ว และที่ผ่านมา ทางกระทรวงการคลังได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนในต่างจังหวัดซึ่งเป็นผู้ถูกหลอกให้ได้รับความเสียหายจากธุรกิจการเงินนอกระบบในรูปแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก
เช่น การสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทในลักษณะของแชร์ลูกโซ่ แชร์น้ำมัน แชร์ข้าวสาร การจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น ซึ่งเข้าข่ายกระทำผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 และแก้ไขเพิ่มเติม จึงต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูลธุรกิจการเงินนอกระบบในต่างจังหวัด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาในการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันการณ์ รวมทั้งเป็นการปฏิบัติตามนัยของนโยบาย
ขณะที่ นางสาวเพ็ญศรี ภาสสกุล สรรพากรพื้นที่ภูเก็ต ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบในส่วนของภูมิภาคระดับจังหวัด กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนในหลายจังหวัดว่าได้รับความเสียหายจากกลุ่มมิจฉาชีพโดยหลอกให้ลงทุนในธุรกิจการเงินนอกระบบในรูปแบบต่างๆ และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวออกไปมากขึ้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับธุรกิจการเงินนอกระบบรูปแบบต่างๆ ให้กับประชาชน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องดังกล่าวเพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดให้ประชาชนได้มีความเข้าใจ และไม่ถูกหลอกลวงอีกต่อไป รวมทั้งยังได้มีการจัดทำสื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ประเภทต่างๆ มอบให้แก่วิทยากรตัวคูณเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขยายผลให้ครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความเข้าใจง่ายขึ้น