ศูนย์ข่าวภูเก็ต - นักวิชาการประมงสถาบันวิชัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลลงพื้นที่สำรวจพบปลาดาวหนามระบาดบริเวณเกาะแอว ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตอีกแล้ว
วันนี้ (9 ม.ค.) นายนิพนธ์ พงศ์สุวรรณ นักวิชาการประมง 8 ว สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กล่าวถึงการลงพื้นที่สำรวจจำนวนปลาดาวหนามในพื้นที่บริเวณเกาะแอว ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ภายหลังสำรวจพบการระบาดของปลาดาวหนามที่บริเวณดังกล่าวเมื่อปีที่ผ่านมา และมีการกำจัดไปแล้วบางส่วนว่า จากการลงพื้นที่สำรวจจำนวนปลาดาวหนามครั้งล่าสุดที่บริเวณเกาะแอว เมื่อวานนี้ (8 ม.ค.) พบว่าจำนวนปลาดาวหนามที่พบในแนวปะการังอยู่ในขั้นระบาดในบางบริเวณ เช่น ด้านทิศตะวันออก และด้านทิศเหนือของเกาะแอว โดยสามารถจัดเก็บปลาดาวหนามขึ้นมาได้มากกว่า 293 ตัว
อย่างไรก็ตาม สำหรับสำหรับการกำจัดปลาดาวหนามที่ระบาดในบริเวณเกาะแอว อ.เมือง จ.ภูเก็ต นั้นทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกับกลุ่มนักดำน้ำทำการจัดเก็บครั้งใหญ่เพื่อกำจัดปลาดาวหนามให้มีจำนวนน้อยลง ในเดือน ก.พ.52 ซึ่งจะทำการจัดเก็บทั้งในส่วนของปลาดาวหนามเพื่อลดจำนวน และทำความสะอาดโดยการจัดเก็บขยะ และเศษอวนที่ปกคลุมแนวปะการัง ซึ่งการจัดเก็บปลาดาวหนามที่บริเวณเกาะแอวนั้นได้มีการดำเนินการไปแล้ว 2 ครั้ง สามารถจัดเก็บปลาดาวหนามมากำจัดได้จำนวนกว่า 700 ตัว
นายนิพนธ์ กล่าวต่อไปว่า จากการลงไปสำรวจครั้งล่าสุดพบว่าแนวปะการังที่ปลาดาวหนามระบาดนั้นได้รับความเสียหายมากเนื่องจากปลาดาวหนามกินเนื้อเหยื่อของปะการังทำให้ปะการังตาย ประกอบกับปริมาณปลาดาวหนามมีจำนวนมาก โดยในทางวิชาการนั้นได้มีการกำหนดพื้นที่ในการประเมินการระบาดของปลาดาวหนามไว้ดังนี้ คือพื้นที่ 6 ไร่ จะพบปลาดาวหนามมีเกิน 10 ตัว ถ้าพบมากกว่า 10 ตัวถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของปลาดาวหนาม
ส่วนสาเหตุของการระบาดของปลาดาวหนามนั้นไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน แต่ก็เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เรื่องของการทำประมงมีการจับปลาบางชนิดมากเกินไป เช่นปลาหน้าวัว ปลาปักเป้า ซึ่งปลาเหล่านี้มีปากแข็งและจะกินลูกปลาดาวหนามเป็นอาหาร ซึ่งถ้าลูกปลาดาวหนามถูกกำจัดโดยระบบธรรมชาติก็จะทำให้จำนวนลดลงได้
นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของการใช้ปุ๋ยเคมีในการทำการเกษตรเมื่อมีฝนตกลงมาปุ๋ยเหล่านี้จะถูกชะล้างลงทะเลทำให้แพลนตอนอาหารของตัวอ่อนปลาดาวหนามโตเร็วเมื่ออาหารสมบูรณ์จำนวนปลาดาวหนามจะรอดมากขึ้นด้วย และที่สำคัญปัจจุบันนี้ศัตรูโดยตรงของปลาดาวหนามคือหอยสังข์แตรซี่งกินปลาดาวเป็นอาหารมีจำนวนลดลงอย่างมาก รวมไปถึงการให้อาหารปลาบางชนิดที่กินไข่ปลาดาวเป็นอาหารซึ่งเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของปลาในธรรมชาติทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุลและเกิดการแพร่ระบาดของปลาดาวหนามในที่สุด
สำหรับวีธีการกำจัดปลาดาวหนาม ทำง่ายๆโดยใช้มีดคว้านตรงกลางลำตัวให้อวัยวะภายในกระจายออกมา อย่าผ่ากลางเป็นสองท่อน เพราะปลาดาวสามารถงอกแขนใหม่กลายเป็นสองตัวได้ หรืออาจใช้วีธีเก็บขึ้นบนเรือแล้วเอาไปทิ้งบนฝั่งก็ได้
นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า จริงๆ แล้วปลาดาวหนามก็เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ หากปริมาณอยู่ในระดับสมดุล ก็เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ ปลาดาวหนามมักจะเลือกกินปะการังเขากวางเป็นอันดับแรก ปะการังประเภทนี้โตเร็วกว่าพวกอื่น ในบางพื้นที่ปะการังเขากวางโตอย่างรวดเร็ว จนปกคลุมพื้นที่หนาแน่นเป็นดงกว้างใหญ่ ทำให้ปะการังประเภทโตช้ามีโอกาสครอบครองพื้นที่ได้น้อยมาก แนวปะการังแห่งนั้นจึงมีความหลากหลายของชนิดปะการังต่ำ แต่ถ้าหากมีปลาดาวหนามคอยกินปะการังเขากวางไปบ้าง ทำให้มีพื้นที่ว่างสำหรับตัวอ่อนปะการังชนิดอื่นๆได้มีโอกาสลงเกาะพื้นเจริญเติบโตต่อไปได้ นี่คือสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ
วันนี้ (9 ม.ค.) นายนิพนธ์ พงศ์สุวรรณ นักวิชาการประมง 8 ว สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กล่าวถึงการลงพื้นที่สำรวจจำนวนปลาดาวหนามในพื้นที่บริเวณเกาะแอว ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ภายหลังสำรวจพบการระบาดของปลาดาวหนามที่บริเวณดังกล่าวเมื่อปีที่ผ่านมา และมีการกำจัดไปแล้วบางส่วนว่า จากการลงพื้นที่สำรวจจำนวนปลาดาวหนามครั้งล่าสุดที่บริเวณเกาะแอว เมื่อวานนี้ (8 ม.ค.) พบว่าจำนวนปลาดาวหนามที่พบในแนวปะการังอยู่ในขั้นระบาดในบางบริเวณ เช่น ด้านทิศตะวันออก และด้านทิศเหนือของเกาะแอว โดยสามารถจัดเก็บปลาดาวหนามขึ้นมาได้มากกว่า 293 ตัว
อย่างไรก็ตาม สำหรับสำหรับการกำจัดปลาดาวหนามที่ระบาดในบริเวณเกาะแอว อ.เมือง จ.ภูเก็ต นั้นทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกับกลุ่มนักดำน้ำทำการจัดเก็บครั้งใหญ่เพื่อกำจัดปลาดาวหนามให้มีจำนวนน้อยลง ในเดือน ก.พ.52 ซึ่งจะทำการจัดเก็บทั้งในส่วนของปลาดาวหนามเพื่อลดจำนวน และทำความสะอาดโดยการจัดเก็บขยะ และเศษอวนที่ปกคลุมแนวปะการัง ซึ่งการจัดเก็บปลาดาวหนามที่บริเวณเกาะแอวนั้นได้มีการดำเนินการไปแล้ว 2 ครั้ง สามารถจัดเก็บปลาดาวหนามมากำจัดได้จำนวนกว่า 700 ตัว
นายนิพนธ์ กล่าวต่อไปว่า จากการลงไปสำรวจครั้งล่าสุดพบว่าแนวปะการังที่ปลาดาวหนามระบาดนั้นได้รับความเสียหายมากเนื่องจากปลาดาวหนามกินเนื้อเหยื่อของปะการังทำให้ปะการังตาย ประกอบกับปริมาณปลาดาวหนามมีจำนวนมาก โดยในทางวิชาการนั้นได้มีการกำหนดพื้นที่ในการประเมินการระบาดของปลาดาวหนามไว้ดังนี้ คือพื้นที่ 6 ไร่ จะพบปลาดาวหนามมีเกิน 10 ตัว ถ้าพบมากกว่า 10 ตัวถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของปลาดาวหนาม
ส่วนสาเหตุของการระบาดของปลาดาวหนามนั้นไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน แต่ก็เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เรื่องของการทำประมงมีการจับปลาบางชนิดมากเกินไป เช่นปลาหน้าวัว ปลาปักเป้า ซึ่งปลาเหล่านี้มีปากแข็งและจะกินลูกปลาดาวหนามเป็นอาหาร ซึ่งถ้าลูกปลาดาวหนามถูกกำจัดโดยระบบธรรมชาติก็จะทำให้จำนวนลดลงได้
นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของการใช้ปุ๋ยเคมีในการทำการเกษตรเมื่อมีฝนตกลงมาปุ๋ยเหล่านี้จะถูกชะล้างลงทะเลทำให้แพลนตอนอาหารของตัวอ่อนปลาดาวหนามโตเร็วเมื่ออาหารสมบูรณ์จำนวนปลาดาวหนามจะรอดมากขึ้นด้วย และที่สำคัญปัจจุบันนี้ศัตรูโดยตรงของปลาดาวหนามคือหอยสังข์แตรซี่งกินปลาดาวเป็นอาหารมีจำนวนลดลงอย่างมาก รวมไปถึงการให้อาหารปลาบางชนิดที่กินไข่ปลาดาวเป็นอาหารซึ่งเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของปลาในธรรมชาติทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุลและเกิดการแพร่ระบาดของปลาดาวหนามในที่สุด
สำหรับวีธีการกำจัดปลาดาวหนาม ทำง่ายๆโดยใช้มีดคว้านตรงกลางลำตัวให้อวัยวะภายในกระจายออกมา อย่าผ่ากลางเป็นสองท่อน เพราะปลาดาวสามารถงอกแขนใหม่กลายเป็นสองตัวได้ หรืออาจใช้วีธีเก็บขึ้นบนเรือแล้วเอาไปทิ้งบนฝั่งก็ได้
นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า จริงๆ แล้วปลาดาวหนามก็เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ หากปริมาณอยู่ในระดับสมดุล ก็เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ ปลาดาวหนามมักจะเลือกกินปะการังเขากวางเป็นอันดับแรก ปะการังประเภทนี้โตเร็วกว่าพวกอื่น ในบางพื้นที่ปะการังเขากวางโตอย่างรวดเร็ว จนปกคลุมพื้นที่หนาแน่นเป็นดงกว้างใหญ่ ทำให้ปะการังประเภทโตช้ามีโอกาสครอบครองพื้นที่ได้น้อยมาก แนวปะการังแห่งนั้นจึงมีความหลากหลายของชนิดปะการังต่ำ แต่ถ้าหากมีปลาดาวหนามคอยกินปะการังเขากวางไปบ้าง ทำให้มีพื้นที่ว่างสำหรับตัวอ่อนปะการังชนิดอื่นๆได้มีโอกาสลงเกาะพื้นเจริญเติบโตต่อไปได้ นี่คือสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ