นครศรีธรรมราช- ม.วลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช เจ๋ง ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก ตั้งชื่อเก๋ “เปราะต้นศิริรักษ์” สแกนดิเนเวียเตรียมนำข้อมูลตีพิมพ์วารสารพฤกษศาสตร์โลก
ผศ.ดร.ฉัตรชัย งามเรียบสกุล อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า ได้ทำโครงการการศึกษาวิจัยความหลากหลายของพืช ซึ่งการศึกษานั้นสามารถค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลเปราะต้น “วงศ์ขิงข่า” ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยชั้นนำทางพฤกษศาสตร์ Nordic Journal of Botany ซึ่งได้สร้างความชื่นชมให้กับนักพฤกษศาสตร์ทั่วโลกโดยการค้นพบด้วยการศึกษาของนักวิชาการชาวไทย
สำหรับการค้นพบพืชชนิดดังกล่าวว่า ตามที่ตนได้รับทุนวิจัย โครงการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ (Biodiversity Utilization Programหรือ BUP) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ BIOTEC เพื่อทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “ความหลากหลาย และประวัติวิวัฒนาการของพืชในสกุลกระชาย (Boesenbergia) วงศ์ขิงข่า (Zinigberaceae)” ของประเทศไทยนั้น
“ระหว่างการศึกษาวิจัย ได้มีการค้นพบพืชชนิดใหม่ที่อยู่ในสกุลเปราะต้น (Caulokaempferia) ซึ่งเป็นพืชที่อยู่ในสกุลที่ใกล้ชิดกับพืชสกุลกระชาย อยู่ในวงศ์ขิงข่า เช่นเดียวกัน บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จ.พังงา และมีการตั้งชื่อพืชที่ค้นพบชนิดใหม่ดังกล่าว ว่า Caulokaempferia sirirugsae Ngamriab.หรือในชื่อภาษาไทยว่า “เปราะต้นศิริรักษ์” โดยได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์พวงเพ็ญ ศิริรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายของพืชในวงศ์ขิงข่าของโลก” ผศ.ดร.ฉัตรชัย กล่าว
ผศ.ดร.ฉัตรชัย กล่าวต่อไปว่า “เปราะต้นศิริรักษ์” เป็นพืชล้มลุก ขึ้นตามโขดหินที่มีความชื้นสูง ลักษณะลำต้นมีความสูง 12-20 เซนติเมตร มีใบจำนวน 6-8 ใบ ช่อดอกยาว 4-7 เซนติเมตร ดอกสีเหลืองโดยจะบานครั้งละ 1 ดอก ในช่วงเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม และจะเป็นผลในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน
เปราะต้นศิริรักษ์ ยังเป็นพืชประจำถิ่น (endemic) คือ พบเฉพาะบริเวณน้ำตกลำปี อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ซึ่งในประเทศไทยคาดว่ามีพืชในสกุลนี้ประมาณ 16 ชนิด โดยในภาคใต้พบเพียง 4 ชนิดเท่านั้น หนึ่งในนั้นคือเปราะต้นศิริรักษ์
ผศ.ดร.ฉัตรชัย ยังกล่าวต่ออีกว่า การค้นพบพืชชนิดใหม่ในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในประเทศไทย โดยเฉพาะในวงศ์ขิงข่า เพราะเปราะต้นศิริรักษ์ที่ถูกค้นพบถือเป็นพืชหายาก พบเฉพาะถิ่น
นอกจากนี้ ยังเป็นข้อมูลในการอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสามารถส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพได้อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ผลการวิจัยดังกล่าวได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร Nordic Journal of Botany (ISI listed) ซึ่งเป็นวารสารวิจัยชั้นนำทางพฤกษศาสตร์ ของสแกนดิเนเวีย ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของนักพฤกษศาสตร์ชาวไทยอีกครั้ง ที่สามารถสร้างชื่อเสียงได้จากการศึกษาค้นคว้าไปทั่วโลก
ผศ.ดร.ฉัตรชัย งามเรียบสกุล อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า ได้ทำโครงการการศึกษาวิจัยความหลากหลายของพืช ซึ่งการศึกษานั้นสามารถค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลเปราะต้น “วงศ์ขิงข่า” ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยชั้นนำทางพฤกษศาสตร์ Nordic Journal of Botany ซึ่งได้สร้างความชื่นชมให้กับนักพฤกษศาสตร์ทั่วโลกโดยการค้นพบด้วยการศึกษาของนักวิชาการชาวไทย
สำหรับการค้นพบพืชชนิดดังกล่าวว่า ตามที่ตนได้รับทุนวิจัย โครงการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ (Biodiversity Utilization Programหรือ BUP) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ BIOTEC เพื่อทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “ความหลากหลาย และประวัติวิวัฒนาการของพืชในสกุลกระชาย (Boesenbergia) วงศ์ขิงข่า (Zinigberaceae)” ของประเทศไทยนั้น
“ระหว่างการศึกษาวิจัย ได้มีการค้นพบพืชชนิดใหม่ที่อยู่ในสกุลเปราะต้น (Caulokaempferia) ซึ่งเป็นพืชที่อยู่ในสกุลที่ใกล้ชิดกับพืชสกุลกระชาย อยู่ในวงศ์ขิงข่า เช่นเดียวกัน บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จ.พังงา และมีการตั้งชื่อพืชที่ค้นพบชนิดใหม่ดังกล่าว ว่า Caulokaempferia sirirugsae Ngamriab.หรือในชื่อภาษาไทยว่า “เปราะต้นศิริรักษ์” โดยได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์พวงเพ็ญ ศิริรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายของพืชในวงศ์ขิงข่าของโลก” ผศ.ดร.ฉัตรชัย กล่าว
ผศ.ดร.ฉัตรชัย กล่าวต่อไปว่า “เปราะต้นศิริรักษ์” เป็นพืชล้มลุก ขึ้นตามโขดหินที่มีความชื้นสูง ลักษณะลำต้นมีความสูง 12-20 เซนติเมตร มีใบจำนวน 6-8 ใบ ช่อดอกยาว 4-7 เซนติเมตร ดอกสีเหลืองโดยจะบานครั้งละ 1 ดอก ในช่วงเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม และจะเป็นผลในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน
เปราะต้นศิริรักษ์ ยังเป็นพืชประจำถิ่น (endemic) คือ พบเฉพาะบริเวณน้ำตกลำปี อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ซึ่งในประเทศไทยคาดว่ามีพืชในสกุลนี้ประมาณ 16 ชนิด โดยในภาคใต้พบเพียง 4 ชนิดเท่านั้น หนึ่งในนั้นคือเปราะต้นศิริรักษ์
ผศ.ดร.ฉัตรชัย ยังกล่าวต่ออีกว่า การค้นพบพืชชนิดใหม่ในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในประเทศไทย โดยเฉพาะในวงศ์ขิงข่า เพราะเปราะต้นศิริรักษ์ที่ถูกค้นพบถือเป็นพืชหายาก พบเฉพาะถิ่น
นอกจากนี้ ยังเป็นข้อมูลในการอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสามารถส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพได้อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ผลการวิจัยดังกล่าวได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร Nordic Journal of Botany (ISI listed) ซึ่งเป็นวารสารวิจัยชั้นนำทางพฤกษศาสตร์ ของสแกนดิเนเวีย ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของนักพฤกษศาสตร์ชาวไทยอีกครั้ง ที่สามารถสร้างชื่อเสียงได้จากการศึกษาค้นคว้าไปทั่วโลก