ชุมพร- แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ประชุมวางแผน จัดเวทีปราศรัยย่านชุมชน ต้าน กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ อ.ปะทิว จ.ชุมพร
วันนี้ (20 พ.ย.) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร นายชาญชัย ชุมเกษียร ประธานกลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน นายเสริญ อาจอ่อนศรี นายกเทศบาลตำบลชุมโค นายไพจิตร อินทเสน รองนายกฯ นายสมศักดิ์ เพชรคีรี กำนันตำบลชุมโค นายสุพนัด ดวงกมล ผญบ.หมู่ 5 ต.ชุมโค นายธนเทพ กมศิลป์ ผญบ.หมู่ 11 ต.ชุมโค พร้อมแกนนำกลุ่มนักอนุรักษ์ ผู้นำชุมชน ในพื้นที่ ต.ชุมโค และคณะอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร รวมกว่า 50 คน เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือแนวทางเกี่ยวกับมาตรการคัดค้านต่อต้าน
จากกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.เข้ามาทำมวลชน พากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน นักการเมืองท้องถิ่น ผอ.โรงเรียน ชาวบ้าน สื่อมวลชน นั่งรถบัส และ เครื่องบินไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง และท่องเที่ยวทางภาคเหนือ เพื่อทำมวลชนให้สนับสนุนการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 4,000 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ริมทะเลบริเวณบ้านบางจาก หมู่ที่ 5 และหมู่ 6 ต.ชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร จนมีกลุ่มอนุรักษ์ ผู้นำชุมชน และชาวบ้านออกมาต่อต้านเดินขบวนคัดค้านอย่างต่อเนื่องขณะนี้
ที่ประชุมเห็นว่า หากปล่อยให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่จะเกิดปัญหาขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กำมะถัน สารตะกั่ว ปรอท ออกสู่อากาศ ทำให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอาชีพชาวสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ประมงชายฝั่ง และด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมีรายได้รวมปีละกว่าหมื่นล้านบาท ในขณะที่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าก็เพียงเพื่อตอบสนองแก่กลุ่มทุนเท่านั้น
ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 6 ชุด ได้แก่ (1) ฝ่ายยุทธศาสตร์และวางแผน (2) ฝ่ายประสานงานทั้งองค์กรภายในและนอกพื้นที่ (3) ฝ่ายประชาสัมพันธ์ (4) ฝ่ายจัดกิจกรรมมวลชน (5) ฝ่ายกิจกรรมภาคสนามและรักษาความปลอดภัย (6) ฝ่ายระดมทุน ทั้งนี้ คณะกรรมการทั้งหมดจะร่วมกันทำงานจัดกิจกรรมออกรณรงค์ และตั้งเวทีปราศรัย ให้ความรู้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนต่างๆ
ทั้งนี้ เพื่อเชิญชวนออกมาร่วมกันคัดค้านการที่ กฟผ.เข้ามาทำกิจกรรมแจกสิ่งของ และให้บริการฟรีแก่ชาวบ้านตามกลุ่มเป้าหมาย เพื่อโน้มน้าวให้ชาวบ้านสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ดังกล่าว พร้อมทั้งติดป้ายผ้าโปสเตอร์ เขียนข้อความต่อต้าน กฟผ.ตามจุดต่างๆ ทั่ว อ.ปะทิว โดยจะใช้มาตรการเข้มข้นขึ้นตามลำดับจนกว่า ผู้บริหาร กฟผ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะยกเลิกโครงการ
วันนี้ (20 พ.ย.) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร นายชาญชัย ชุมเกษียร ประธานกลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน นายเสริญ อาจอ่อนศรี นายกเทศบาลตำบลชุมโค นายไพจิตร อินทเสน รองนายกฯ นายสมศักดิ์ เพชรคีรี กำนันตำบลชุมโค นายสุพนัด ดวงกมล ผญบ.หมู่ 5 ต.ชุมโค นายธนเทพ กมศิลป์ ผญบ.หมู่ 11 ต.ชุมโค พร้อมแกนนำกลุ่มนักอนุรักษ์ ผู้นำชุมชน ในพื้นที่ ต.ชุมโค และคณะอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร รวมกว่า 50 คน เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือแนวทางเกี่ยวกับมาตรการคัดค้านต่อต้าน
จากกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.เข้ามาทำมวลชน พากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน นักการเมืองท้องถิ่น ผอ.โรงเรียน ชาวบ้าน สื่อมวลชน นั่งรถบัส และ เครื่องบินไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง และท่องเที่ยวทางภาคเหนือ เพื่อทำมวลชนให้สนับสนุนการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 4,000 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ริมทะเลบริเวณบ้านบางจาก หมู่ที่ 5 และหมู่ 6 ต.ชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร จนมีกลุ่มอนุรักษ์ ผู้นำชุมชน และชาวบ้านออกมาต่อต้านเดินขบวนคัดค้านอย่างต่อเนื่องขณะนี้
ที่ประชุมเห็นว่า หากปล่อยให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่จะเกิดปัญหาขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กำมะถัน สารตะกั่ว ปรอท ออกสู่อากาศ ทำให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอาชีพชาวสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ประมงชายฝั่ง และด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมีรายได้รวมปีละกว่าหมื่นล้านบาท ในขณะที่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าก็เพียงเพื่อตอบสนองแก่กลุ่มทุนเท่านั้น
ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 6 ชุด ได้แก่ (1) ฝ่ายยุทธศาสตร์และวางแผน (2) ฝ่ายประสานงานทั้งองค์กรภายในและนอกพื้นที่ (3) ฝ่ายประชาสัมพันธ์ (4) ฝ่ายจัดกิจกรรมมวลชน (5) ฝ่ายกิจกรรมภาคสนามและรักษาความปลอดภัย (6) ฝ่ายระดมทุน ทั้งนี้ คณะกรรมการทั้งหมดจะร่วมกันทำงานจัดกิจกรรมออกรณรงค์ และตั้งเวทีปราศรัย ให้ความรู้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนต่างๆ
ทั้งนี้ เพื่อเชิญชวนออกมาร่วมกันคัดค้านการที่ กฟผ.เข้ามาทำกิจกรรมแจกสิ่งของ และให้บริการฟรีแก่ชาวบ้านตามกลุ่มเป้าหมาย เพื่อโน้มน้าวให้ชาวบ้านสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ดังกล่าว พร้อมทั้งติดป้ายผ้าโปสเตอร์ เขียนข้อความต่อต้าน กฟผ.ตามจุดต่างๆ ทั่ว อ.ปะทิว โดยจะใช้มาตรการเข้มข้นขึ้นตามลำดับจนกว่า ผู้บริหาร กฟผ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะยกเลิกโครงการ