พัทลุง - สกย.พัทลุง เปิดเวทีระดมสมองบรรดาผู้นำเกษตรกรชาวสวนยางพัทลุง เพื่อหาแนวทางที่จะช่วยกันฟื้นราคายางให้สูงขึ้นมา เสนอให้ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน พักหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย และสถาบันทางการเงิน ปล่อยกู้ให้แก่เจ้าของสวนยาง และแรงงานกรีดยาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น
จากความเคลื่อนไหวราคายางพาราตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2551 ราคายางในตลาดตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ยางแผ่นดิบราคาวันที่ 23 กันยายน 2551 กิโลกรัมละ 91.09 บาท และขณะนี้กิโลกรัมละ 40 กว่าบาท
วันนี้( 3 พ.ย.)สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพัทลุง (สกย.) ที่มีนายประวิทย์ เรืองประดับ ผู้อำนวยการสำนักงาน จึงได้เปิดเวทีระดมสมองบรรดาผู้นำเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดพัทลุง ประมาณ 120 คน เพื่อประชุมหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ราคายางตกต่ำ และสรุปแนวทางที่จะช่วยกันฟื้นราคายางให้ดีดกลับไปอยู่ที่สูงกว่านี้ เพราะเกิดผลกระทบต่อเจ้าของสวนยางขนาดเล็ก แรงงานรับจ้างกรีดยาง เจ้าของสวนขนาดใหญ่และสหกรณ์กองทุนสวนยาง
จากการประชุมเสวนา สรุปได้ว่า ราคายางที่ตกลงเพราะมีการเก็งกำไรจากการซื้อ ขายยาง ในตลาดล่วงหน้า ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ และจากปัจจัยปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา นักลงทุนในตลาดวิเคราะห์ว่า ปริมาณการใช้ยางของโลกจะลดลงในอนาคต แต่การผลิตยางเท่าเดิมหรืออาจเพิ่มขึ้น เมื่ออุปสงค์น้อยกว่าอุปทาน ราคายางควรจะลดลง จึงกระหน่ำขายยางออกมาเพื่อหวังทำกำไรจากส่วนต่างของราคา เมื่อซื้อยางมาปิดสัญญา แต่ผู้ซื้อยังชะลอการซื้อเพราะกลัวขาดทุนจะเข้าซื้อเมื่อเห็นราคาต่ำลง จนกระทั่งคิดว่าตนเองสามารถทำกำไรจากการซื้อได้ ราคายางจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุที่ทำให้ราคาต่ำลงอีกประการหนึ่ง คือ ขณะที่ราคายางในตลาดล่วงหน้าต่ำลงรายวัน การตกลงซื้อขายยางกันโดยตรงระหว่างผู้ส่งออกยางกับผู้ใช้ยางในต่างประเทศ ชะลอตัวออกไป เพราะต่างฝ่ายต่างรอดูราคายางให้มีเสถียรภาพก่อน จึงทำการตกลงซื้อขายกัน เมื่อมีการชะลอการซื้อ แต่เจ้าของสวนยางกรีดยางออกมาขายทุกวัน เพราะต้องการใช้เงินรายวันราคายางที่แท้จริง จึงต่ำลง
ผู้ประกอบการโรงรม โรงงานทำยางแท่ง โรงงานทำน้ำยางข้นไม่กล้าซื้อยางในราคาสูงเก็บไว้ เพราะกลัวขาดทุน หรือมองอีกมุมหนึ่งในแง่ลบคือ กรณีผู้ประกอบการส่งออกที่ได้ตกลงขายยางไว้ก่อนแล้ว และนัดส่งมอบในเดือนตุลาคม 2551 ไม่ยอมไล่ราคาซื้อยาง เพราะเห็นว่าเป็นตลาดขาลง จึงเก็บซื้อยางราคาถูกไปเรื่อยๆ จนครบจำนวนตามต้องการจึงหยุดซื้อ ทำให้ราคายางไม่ดีดกลับสูงขึ้น
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ คือ เจ้าของสวนยางมีปัญหาเรื่องหมุนเงินไม่ทัน มีเงินไม่พอใช้ตามภาระที่ก่อไว้ เช่น ค่าใช้จ่ายที่จะส่งให้ลูกในวันเปิดเทอม ในต้นเดือนพฤศจิกายน 2551 เงินค่างวดผ่อนชำระหนี้ธนาคาร หรือเจ้าหนี้นอกระบบ เงินค่างวดซื้อสินค้าเงินผ่อน เงินค่างวดส่งค่าประกัน ฯลฯ ปัจจัยการผลิต ไม่ว่าปุ๋ย ยาปราบวัชพืช ฯลฯ ราคาที่แพง ทำให้ขาดทุน ส่วนการผลิตที่ยังอยู่ได้ เพราะใช้แรงานในครอบครัว รายได้หดหายไปทันที ถึงครึ่งหนึ่งที่เคยได้ สหกรณ์กองทุนสวนยาง ก็ขาดทุนจากการซื้อน้ำยางราคาสูง เมื่อนำไปขายเป็นยางแผ่นรมควันได้ราคาต่ำกว่าราคาน้ำยาง
ในที่เสวนามีข้อเสนอเพื่อให้องค์กรอื่นช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และช่วยแก้ไขปัญหาราคายาง เช่น ให้สถาบันการเงินที่เป็นของรัฐบาล เช่น ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน พักหนี้ และลดอัตราดอกเบี้ย นอกจากนั้น ให้หาสถาบันทางการเงิน ปล่อยกู้ให้แก่เจ้าของสวนยาง และแรงงานกรีดยาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น
ส่วนการแก้ปัญหาระยะสั้น ให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์ เร่งรัดให้ผู้ที่ได้รับการสงเคราะห์ในรุ่นปี 52 ซึ่งจะเริ่มอนุมัติตั้งแต่เดือน ตุลาคม 51 รีบโค่นต้นยาง และประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของสวนยางที่กรีดยางเสียหายและได้ผลน้อยยื่นขอรับการสงเคราะห์ และโค่นต้นยางทันที่ที่ได้รับอนุมัติ เพื่อนำเงินจากการขายไม้ยางมาใช้จ่ายแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
อย่างไรก็ตาม บริษัท ร่วมทุน ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ควรออกมาดำเนินการให้ราคายางมีเสถียรภาพ ไม่ผันผวนจนเกินไป และเมื่อราคายางต่ำลงเพราะกลไกตลาดการแก้ไขปัญหา รัฐบาลควรจะแทรกแซงตลาดด้วยการรับจำนำยางเพื่อให้เจ้าของสวนยางชะลอการขายยางได้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนให้สหกรณ์กองทุนสวนยาง ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางแห่งประเทศไทย ใช้โรงอัดก้อนยางที่ได้สร้างไว้ เพื่อให้สถาบันเกษตรกรสามารถผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนลูกขุนได้ ซึ่งทำให้เก็บยางแผ่นรมควันไว้ได้นาน ดำเนินการให้ราคาปุ๋ยลดลงหรือให้ สกย.ดำเนินการจัดหาปุ๋ยมาจ่ายให้เจ้าของสวนยางที่ยื่นขอรับการสงเคราะห์ ดังเช่นที่เคยทำมาก่อน เพราะจะช่วยถ่วงราคาปุ๋ยในตลาดไม่ให้พุ่งสูงขึ้นเหมือนที่ผ่านมา
แนวทางแก้ไขปัญหาราคายางตกของเจ้าของสวนยางจังหวัดพัทลุง ในที่ประชุมหารือได้สรุปแนวทางแก้ปัญหา คือให้เครือข่ายผู้นำเจ้าของสวนยาง จ.พัทลุง และสกย.พัทลุง รณรงค์ให้เจ้าของสวนยางเปลี่ยนจากขายน้ำยางสดมาขายยางในรูปยางแผ่นดิบ เพื่อที่จะขายยางได้ราคาสูงขึ้น เช่น หากวันนี้ราคาน้ำยาง กก.ละ 43.00 บาท ราคายางแผ่นดิบ กก.ละ 58.53 บาท
ยืดเวลาการเก็บยางให้นานขึ้น และให้นำออกมาขายเมื่อราคายางสูงขึ้นเปลี่ยนจากการกรีดยาง จากระบบกรีด 2-3 วันเว้น 1 วัน มากรีดระบบวันเว้นวัน ตามคำแนะนำทางวิชาการ เพื่อเป็นการฟักฟื้นต้นยาง จะทำให้มีวันหยุดกรีดยาง เพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 1-2 วัน ใน จ.พัทลุง มีพื้นที่ปลูกยางกรีดได้แล้วประมาณ 4.7 แสนไร่ และสถิติผลผลิตยางของ จ.พัทลุง 292 กก. /ไร่ / ปี ดังนั้น ถ้าหยุดกรีด 1 วัน ยางจะหายไป 375.99 ตัน
เจ้าของสวนยางน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรับใช้กับวิถีชีวิตของตนเองและครอบครัว และให้สหกรณ์กองทุนสวนยางเปลี่ยนวิธีการรวบรวมน้ำยางจากแบบ ซื้อขาดมาใช้แบบกงสี คือจ่ายค่าน้ำยางให้สมาชิกจากราคาขายยางแผ่นรมควัน หักด้วยต้นทุนการผลิต
นายประวิทย์ เรืองประดับ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า มั่นใจว่าตั้งแต่มกราคม 2552 ราคาจะดีดตัวสูงขึ้น แม้จะไม่สูงเหมือนแต่ก่อน แต่ชาวสวนยางอยู่ได้ เนื่องจากในระยะเดือนสองเดือนนี้ คงกรีดยางได้ไม่เต็มที่ เพราะเข้าสู่ช่วงหน้าฝน เมื่อกรีดยางไม่ได้เท่าที่ควร ราคาก็จะขยับสูงขึ้น เพราะตลาดมีความต้องการ
จากความเคลื่อนไหวราคายางพาราตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2551 ราคายางในตลาดตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ยางแผ่นดิบราคาวันที่ 23 กันยายน 2551 กิโลกรัมละ 91.09 บาท และขณะนี้กิโลกรัมละ 40 กว่าบาท
วันนี้( 3 พ.ย.)สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพัทลุง (สกย.) ที่มีนายประวิทย์ เรืองประดับ ผู้อำนวยการสำนักงาน จึงได้เปิดเวทีระดมสมองบรรดาผู้นำเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดพัทลุง ประมาณ 120 คน เพื่อประชุมหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ราคายางตกต่ำ และสรุปแนวทางที่จะช่วยกันฟื้นราคายางให้ดีดกลับไปอยู่ที่สูงกว่านี้ เพราะเกิดผลกระทบต่อเจ้าของสวนยางขนาดเล็ก แรงงานรับจ้างกรีดยาง เจ้าของสวนขนาดใหญ่และสหกรณ์กองทุนสวนยาง
จากการประชุมเสวนา สรุปได้ว่า ราคายางที่ตกลงเพราะมีการเก็งกำไรจากการซื้อ ขายยาง ในตลาดล่วงหน้า ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ และจากปัจจัยปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา นักลงทุนในตลาดวิเคราะห์ว่า ปริมาณการใช้ยางของโลกจะลดลงในอนาคต แต่การผลิตยางเท่าเดิมหรืออาจเพิ่มขึ้น เมื่ออุปสงค์น้อยกว่าอุปทาน ราคายางควรจะลดลง จึงกระหน่ำขายยางออกมาเพื่อหวังทำกำไรจากส่วนต่างของราคา เมื่อซื้อยางมาปิดสัญญา แต่ผู้ซื้อยังชะลอการซื้อเพราะกลัวขาดทุนจะเข้าซื้อเมื่อเห็นราคาต่ำลง จนกระทั่งคิดว่าตนเองสามารถทำกำไรจากการซื้อได้ ราคายางจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุที่ทำให้ราคาต่ำลงอีกประการหนึ่ง คือ ขณะที่ราคายางในตลาดล่วงหน้าต่ำลงรายวัน การตกลงซื้อขายยางกันโดยตรงระหว่างผู้ส่งออกยางกับผู้ใช้ยางในต่างประเทศ ชะลอตัวออกไป เพราะต่างฝ่ายต่างรอดูราคายางให้มีเสถียรภาพก่อน จึงทำการตกลงซื้อขายกัน เมื่อมีการชะลอการซื้อ แต่เจ้าของสวนยางกรีดยางออกมาขายทุกวัน เพราะต้องการใช้เงินรายวันราคายางที่แท้จริง จึงต่ำลง
ผู้ประกอบการโรงรม โรงงานทำยางแท่ง โรงงานทำน้ำยางข้นไม่กล้าซื้อยางในราคาสูงเก็บไว้ เพราะกลัวขาดทุน หรือมองอีกมุมหนึ่งในแง่ลบคือ กรณีผู้ประกอบการส่งออกที่ได้ตกลงขายยางไว้ก่อนแล้ว และนัดส่งมอบในเดือนตุลาคม 2551 ไม่ยอมไล่ราคาซื้อยาง เพราะเห็นว่าเป็นตลาดขาลง จึงเก็บซื้อยางราคาถูกไปเรื่อยๆ จนครบจำนวนตามต้องการจึงหยุดซื้อ ทำให้ราคายางไม่ดีดกลับสูงขึ้น
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ คือ เจ้าของสวนยางมีปัญหาเรื่องหมุนเงินไม่ทัน มีเงินไม่พอใช้ตามภาระที่ก่อไว้ เช่น ค่าใช้จ่ายที่จะส่งให้ลูกในวันเปิดเทอม ในต้นเดือนพฤศจิกายน 2551 เงินค่างวดผ่อนชำระหนี้ธนาคาร หรือเจ้าหนี้นอกระบบ เงินค่างวดซื้อสินค้าเงินผ่อน เงินค่างวดส่งค่าประกัน ฯลฯ ปัจจัยการผลิต ไม่ว่าปุ๋ย ยาปราบวัชพืช ฯลฯ ราคาที่แพง ทำให้ขาดทุน ส่วนการผลิตที่ยังอยู่ได้ เพราะใช้แรงานในครอบครัว รายได้หดหายไปทันที ถึงครึ่งหนึ่งที่เคยได้ สหกรณ์กองทุนสวนยาง ก็ขาดทุนจากการซื้อน้ำยางราคาสูง เมื่อนำไปขายเป็นยางแผ่นรมควันได้ราคาต่ำกว่าราคาน้ำยาง
ในที่เสวนามีข้อเสนอเพื่อให้องค์กรอื่นช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และช่วยแก้ไขปัญหาราคายาง เช่น ให้สถาบันการเงินที่เป็นของรัฐบาล เช่น ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน พักหนี้ และลดอัตราดอกเบี้ย นอกจากนั้น ให้หาสถาบันทางการเงิน ปล่อยกู้ให้แก่เจ้าของสวนยาง และแรงงานกรีดยาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น
ส่วนการแก้ปัญหาระยะสั้น ให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์ เร่งรัดให้ผู้ที่ได้รับการสงเคราะห์ในรุ่นปี 52 ซึ่งจะเริ่มอนุมัติตั้งแต่เดือน ตุลาคม 51 รีบโค่นต้นยาง และประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของสวนยางที่กรีดยางเสียหายและได้ผลน้อยยื่นขอรับการสงเคราะห์ และโค่นต้นยางทันที่ที่ได้รับอนุมัติ เพื่อนำเงินจากการขายไม้ยางมาใช้จ่ายแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
อย่างไรก็ตาม บริษัท ร่วมทุน ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ควรออกมาดำเนินการให้ราคายางมีเสถียรภาพ ไม่ผันผวนจนเกินไป และเมื่อราคายางต่ำลงเพราะกลไกตลาดการแก้ไขปัญหา รัฐบาลควรจะแทรกแซงตลาดด้วยการรับจำนำยางเพื่อให้เจ้าของสวนยางชะลอการขายยางได้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนให้สหกรณ์กองทุนสวนยาง ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางแห่งประเทศไทย ใช้โรงอัดก้อนยางที่ได้สร้างไว้ เพื่อให้สถาบันเกษตรกรสามารถผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนลูกขุนได้ ซึ่งทำให้เก็บยางแผ่นรมควันไว้ได้นาน ดำเนินการให้ราคาปุ๋ยลดลงหรือให้ สกย.ดำเนินการจัดหาปุ๋ยมาจ่ายให้เจ้าของสวนยางที่ยื่นขอรับการสงเคราะห์ ดังเช่นที่เคยทำมาก่อน เพราะจะช่วยถ่วงราคาปุ๋ยในตลาดไม่ให้พุ่งสูงขึ้นเหมือนที่ผ่านมา
แนวทางแก้ไขปัญหาราคายางตกของเจ้าของสวนยางจังหวัดพัทลุง ในที่ประชุมหารือได้สรุปแนวทางแก้ปัญหา คือให้เครือข่ายผู้นำเจ้าของสวนยาง จ.พัทลุง และสกย.พัทลุง รณรงค์ให้เจ้าของสวนยางเปลี่ยนจากขายน้ำยางสดมาขายยางในรูปยางแผ่นดิบ เพื่อที่จะขายยางได้ราคาสูงขึ้น เช่น หากวันนี้ราคาน้ำยาง กก.ละ 43.00 บาท ราคายางแผ่นดิบ กก.ละ 58.53 บาท
ยืดเวลาการเก็บยางให้นานขึ้น และให้นำออกมาขายเมื่อราคายางสูงขึ้นเปลี่ยนจากการกรีดยาง จากระบบกรีด 2-3 วันเว้น 1 วัน มากรีดระบบวันเว้นวัน ตามคำแนะนำทางวิชาการ เพื่อเป็นการฟักฟื้นต้นยาง จะทำให้มีวันหยุดกรีดยาง เพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 1-2 วัน ใน จ.พัทลุง มีพื้นที่ปลูกยางกรีดได้แล้วประมาณ 4.7 แสนไร่ และสถิติผลผลิตยางของ จ.พัทลุง 292 กก. /ไร่ / ปี ดังนั้น ถ้าหยุดกรีด 1 วัน ยางจะหายไป 375.99 ตัน
เจ้าของสวนยางน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรับใช้กับวิถีชีวิตของตนเองและครอบครัว และให้สหกรณ์กองทุนสวนยางเปลี่ยนวิธีการรวบรวมน้ำยางจากแบบ ซื้อขาดมาใช้แบบกงสี คือจ่ายค่าน้ำยางให้สมาชิกจากราคาขายยางแผ่นรมควัน หักด้วยต้นทุนการผลิต
นายประวิทย์ เรืองประดับ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า มั่นใจว่าตั้งแต่มกราคม 2552 ราคาจะดีดตัวสูงขึ้น แม้จะไม่สูงเหมือนแต่ก่อน แต่ชาวสวนยางอยู่ได้ เนื่องจากในระยะเดือนสองเดือนนี้ คงกรีดยางได้ไม่เต็มที่ เพราะเข้าสู่ช่วงหน้าฝน เมื่อกรีดยางไม่ได้เท่าที่ควร ราคาก็จะขยับสูงขึ้น เพราะตลาดมีความต้องการ