ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ปศุสัตว์เตือนเกษตรกรภาคใต้ เตรียมสำรองหญ้าและอาหารเลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูฝน และฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด
สัตวแพทย์หญิง โศภิษฐ์ ธัญลักษณากุล ผู้อำนวยการสำนักงานสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 9 ซึ่งกำกับดูแลปศุสัตว์ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง คือ จังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง ตรัง ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส แจ้งเตือนเกษตรกรดูแลสัตว์เลี้ยงในช่วงหน้าฝน และกำชับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ เตรียมความพร้อมรับภัยธรรมชาติ ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด โดยพร้อมให้ความช่วยเหลือ แนะนำ และสนับสนุนเกษตรกร ในการดูแลสุขภาพสัตว์ และเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดสัตว์อย่างเข้มงวด
ทั้งนี้ ในช่วงต้นฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้ร่างกายของสัตว์อ่อนแอ เจ็บป่วยได้ง่าย และเกิดโรคระบาดได้ เช่น โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคปากและเท้าเปื่อย โรคคอบวม โรคอหิวาต์สุกร โรคอหิวาต์เป็ด-ไก่ และโรคกาฬโรคเป็ด
สัตวแพทย์หญิง โศภิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เกษตรกรควรสำรองหญ้าหรืออาหารสัตว์ให้เพียงพอ ทำพื้นคอกสัตว์ให้แห้งและสะอาด ฉีดวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้า โดยเฉพาะในโค-กระบือ เช่น โรคคอบวม โรคปากและเท้าเปื่อย และถ่ายพยาธิ เพื่อให้ร่างกายสัตว์มีภูมิคุ้มโรค
หากพบว่ามีสัตว์ป่วยต้องแยกสัตว์ออกจากฝูง กักไว้ในคอกที่มีหลังคาสำหรับกันแดดและฝน และให้ความอบอุ่น เช่น กกไฟ กันลม และให้ยารักษา หากเกษตรกรท่านใดมีข้อสงสัย หรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมในการดูแลสุขภาพสัตว์ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกแห่ง
สัตวแพทย์หญิง โศภิษฐ์ ธัญลักษณากุล ผู้อำนวยการสำนักงานสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 9 ซึ่งกำกับดูแลปศุสัตว์ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง คือ จังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง ตรัง ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส แจ้งเตือนเกษตรกรดูแลสัตว์เลี้ยงในช่วงหน้าฝน และกำชับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ เตรียมความพร้อมรับภัยธรรมชาติ ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด โดยพร้อมให้ความช่วยเหลือ แนะนำ และสนับสนุนเกษตรกร ในการดูแลสุขภาพสัตว์ และเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดสัตว์อย่างเข้มงวด
ทั้งนี้ ในช่วงต้นฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้ร่างกายของสัตว์อ่อนแอ เจ็บป่วยได้ง่าย และเกิดโรคระบาดได้ เช่น โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคปากและเท้าเปื่อย โรคคอบวม โรคอหิวาต์สุกร โรคอหิวาต์เป็ด-ไก่ และโรคกาฬโรคเป็ด
สัตวแพทย์หญิง โศภิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เกษตรกรควรสำรองหญ้าหรืออาหารสัตว์ให้เพียงพอ ทำพื้นคอกสัตว์ให้แห้งและสะอาด ฉีดวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้า โดยเฉพาะในโค-กระบือ เช่น โรคคอบวม โรคปากและเท้าเปื่อย และถ่ายพยาธิ เพื่อให้ร่างกายสัตว์มีภูมิคุ้มโรค
หากพบว่ามีสัตว์ป่วยต้องแยกสัตว์ออกจากฝูง กักไว้ในคอกที่มีหลังคาสำหรับกันแดดและฝน และให้ความอบอุ่น เช่น กกไฟ กันลม และให้ยารักษา หากเกษตรกรท่านใดมีข้อสงสัย หรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมในการดูแลสุขภาพสัตว์ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกแห่ง