ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – รพ.สงขลานครินทร์ เตือนโรคชิคุนกุนยา อาจระบาดต่อเนื่องมาถึงพื้นที่ใน จ.สงขลา ในช่วงฤดูฝน หลังจากพบการระบาดของโรคในพื้นที่ 2 จังหวัดทางภาคใต้ คือ นราธิวาส และ ปัตตานี ควรเตรียมหามาตรการรับมือก่อนเกิดระบาดครั้งใหญ่
วันนี้ (22 ต.ค.) ศ.นพ.ขจรศักด์ ศิลปะโภชากุล แพทย์โรคติดเชื้อ รพ.สงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา ในพื้นที่ 2 จังหวัดทางภาคใต้ คือ จ.นราธิวาสและ ปัตตานี การแพร่ระบาดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เป็นผลมาจากสถานการณ์ความไม่สงบ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการจัดการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรค ประกอบกับระยะนี้ได้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน ทำให้ปริมาณยุงลายมีมากขึ้นและมีแนวโน้มจะเกิดการระบาดต่อเนื่องมาถึงพื้นที่ใน จ.สงขลา ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
ทั้งนี้ วิธีการกำจัดยุงลายท่านสามารถทำได้ที่บ้านท่านเอง ซึ่งจะต้องสำรวจและดูแลไม่ให้มีน้ำขัง ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย และควบคุมยุงลายให้ได้ เช่น การปิดฝาภาชนะขังน้ำ คว่ำทำลายภาชนะขังน้ำที่ไม่ใช้งาน หมั่นขัดล้างเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะต่างๆ จัดสภาพบ้านให้เรียบร้อยไม่ให้มีกองวัสดุรกรุงรัง การเลี้ยงปลาหางนกยูง เป็นต้น ซึ่งสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้และเฝ้าระวังสังเกตอาการหากพบผู้ป่วยมีไข้สูง ร่วมกับอาการผื่นและมีอาการปวดข้อต่างๆ ซึ่งเป็นอาการเฉพาะของโรคนี้ โดยท่านสามารถมารับการตรวจรักษาได้ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้ทุกวัน
วันนี้ (22 ต.ค.) ศ.นพ.ขจรศักด์ ศิลปะโภชากุล แพทย์โรคติดเชื้อ รพ.สงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา ในพื้นที่ 2 จังหวัดทางภาคใต้ คือ จ.นราธิวาสและ ปัตตานี การแพร่ระบาดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เป็นผลมาจากสถานการณ์ความไม่สงบ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการจัดการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรค ประกอบกับระยะนี้ได้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน ทำให้ปริมาณยุงลายมีมากขึ้นและมีแนวโน้มจะเกิดการระบาดต่อเนื่องมาถึงพื้นที่ใน จ.สงขลา ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
ทั้งนี้ วิธีการกำจัดยุงลายท่านสามารถทำได้ที่บ้านท่านเอง ซึ่งจะต้องสำรวจและดูแลไม่ให้มีน้ำขัง ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย และควบคุมยุงลายให้ได้ เช่น การปิดฝาภาชนะขังน้ำ คว่ำทำลายภาชนะขังน้ำที่ไม่ใช้งาน หมั่นขัดล้างเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะต่างๆ จัดสภาพบ้านให้เรียบร้อยไม่ให้มีกองวัสดุรกรุงรัง การเลี้ยงปลาหางนกยูง เป็นต้น ซึ่งสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้และเฝ้าระวังสังเกตอาการหากพบผู้ป่วยมีไข้สูง ร่วมกับอาการผื่นและมีอาการปวดข้อต่างๆ ซึ่งเป็นอาการเฉพาะของโรคนี้ โดยท่านสามารถมารับการตรวจรักษาได้ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้ทุกวัน