ประชาชนใน จ.นราธิวาส เข้าพบแพทย์ และหมอประจำอนามัย เพื่อตรวจร่างกายหาเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา เพราะเกรงจะได้รับเชื้อหลังจากถูกยุงกัด เนื่องจากโรคนี้กำลังแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในพื้นที่
นายแพทย์ศิริชัย ลีวรรณนภาใส สาธารณสุข จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า โรคชิคุนกุนยา เข้ามาแพร่ระบาดในพื้นที่เมื่อเดือนกันยายน โดยมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อ และพบผู้ป่วยครั้งแรกใน อ.ยี่งอ อ.แว้ง รวมทั้ง อ.เจาะไอร้อง มีผู้ป่วย 184 ราย จากนั้นได้แพร่ระบาดเพิ่มอีก 6 อำเภอ คือ อ.ระแงะ อ.รือเสาะ อ.บาเจาะ อ.สุไหงโก-ลก อ.สุคีริน และ อ.สุไหงปาดี รวมมีผู้ป่วย 204 ราย
ส่วนสาเหตุที่ประชาชนป่วยเป็นโรคนี้กันมากอาจเป็นเพราะ จ.นราธิวาส มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ที่มีการระบาดของโรคอย่างรุนแรง ดังนั้นอาจมีนักท่องเที่ยวที่ติดเชื้อ เดินทางเข้าประเทศและแพร่เชื้อสู่คนไทยผ่านทางยุงลาย
สาธารณสุขจังหวัดเร่งฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคให้อยู่ในวงจำกัด พร้อมเตือนให้ผู้ที่ถูกยุงกัดสังเกตอาการ หากมีไข้ขึ้นสูง ปวดตามข้อ และเกิดผื่นคันตามลำตัว ให้พบแพทย์ทันที
นายแพทย์ศิริชัย ลีวรรณนภาใส สาธารณสุข จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า โรคชิคุนกุนยา เข้ามาแพร่ระบาดในพื้นที่เมื่อเดือนกันยายน โดยมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อ และพบผู้ป่วยครั้งแรกใน อ.ยี่งอ อ.แว้ง รวมทั้ง อ.เจาะไอร้อง มีผู้ป่วย 184 ราย จากนั้นได้แพร่ระบาดเพิ่มอีก 6 อำเภอ คือ อ.ระแงะ อ.รือเสาะ อ.บาเจาะ อ.สุไหงโก-ลก อ.สุคีริน และ อ.สุไหงปาดี รวมมีผู้ป่วย 204 ราย
ส่วนสาเหตุที่ประชาชนป่วยเป็นโรคนี้กันมากอาจเป็นเพราะ จ.นราธิวาส มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ที่มีการระบาดของโรคอย่างรุนแรง ดังนั้นอาจมีนักท่องเที่ยวที่ติดเชื้อ เดินทางเข้าประเทศและแพร่เชื้อสู่คนไทยผ่านทางยุงลาย
สาธารณสุขจังหวัดเร่งฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคให้อยู่ในวงจำกัด พร้อมเตือนให้ผู้ที่ถูกยุงกัดสังเกตอาการ หากมีไข้ขึ้นสูง ปวดตามข้อ และเกิดผื่นคันตามลำตัว ให้พบแพทย์ทันที