ศูนย์ข่าวภูเก็ต -ศูนย์อาสารณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ร่วมกับ องอาจวิศวกรรมจัดโครงการนวัตกรรมพลังงานทดแทน-ลดภาวะโลกร้อน รณรงค์ให้หน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า เผยกำหนดพื้นที่เป้าหมายทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ประเดิมที่ภูเก็ตก่อนมีศักยภาพสูงพลังงานลมเพียงพอในการผลิตกระแสไฟฟ้า
นายองอาจ โกยอนรรฆกุล ผู้จัดการโครงการนวัตกรรมพลังงานทดแทน-ลดภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ศูนย์อาสารณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ร่วมกับ องอาจวิศวกรรมจัดโครงการนวัตกรรมพลังงานทดแทน-ลดภาวะโลกร้อนขึ้น เพราะได้ตระหนักถึงการใช้พลังงานทดแทนตามแนวทางพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการลดภาวะโลกร้อนของกระทรวงพลังงาน
ทั้งนี้ เนื่องจากการวิจัยสำรวจพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีศักยภาพโดยรวมที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานลมธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถนำพลังงานลมธรรมชาติที่เป็นพลังงานสะอาดและไม่ต้องหา และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้กับบ้านอยู่อาศัย การเกษตร กสิกรรม การประมง และอุตสาหกรรมทั้งในครัวเรือนและอุตสาหกรรมขนาดย่อมจนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ด้วยการใช้กังหันลมความเร็วรอบต่ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในงานสาธารณะประโยชน์ เช่น ไฟฟ้าทางเดิน ไฟฟ้าถนน โคมไฟ สวนหย่อม สวนสุขภาพ และลานการแสดงอเนกประสงค์
ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แสดงจิตสำนึกที่ดีแก่นักท่องเที่ยวและเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัด รวมถึงเป็นกานแสดงวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหารกับการใช้นวัตรกรรมพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด (Green Energy) เป็นการปลูกฝังค่านิยมของการอนุรักษ์และการใช้พลังงานทดแทนแก่ชุมชนและประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ทางโครงการฯจึงได้ริ่เริ่มโครงการนวัตกรรมพลังงานทดแทน ตามโครงการเพื่อเฉลิมฉลอง ในวันที่ 5 ธันวาคม 2551
โครงการที่จะดำเนินการ ประกอบด้วย 1. โครงการ 5 วัด 5 กังหันลมผลิตไฟฟ้ากับการใช้พลังงานทดแทนเพื่อเป็นการส่งเสริมทางพุทธศาสนา โดยติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด 500 วัตต์ 2. โครงการ 5 โรงเรียน 5 กังหันผลิตไฟฟ้า เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานลม กับแนวทางตามนโยบายพัฒนาเยาวชนและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีแห่งอนาคต เพื่อการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ (1kw)
3. โครงการใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าอเนกประสงค์ขนาด 3 กิโลวัตต์ 4. โครงการใช้กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ 5.โครงการใช้กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าอเนกประสงค์ขนาด 10 กิโลวัตต์ และ 6. โครงการใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าอเนกประสงค์ขนาด 20 กิโลวัตต์
นายองอาจ กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวได้มีการประชาสัมพันธ์ไปทั่วทั้งประเทศ แต่มีพื้นที่เป้าหมายหลักอยู่ในในอันดามัน เพราะจากการสำรวจในพื้นที่อันดามันมีศักยภาพในการใช้พลังงานลมในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ
โดยเฉพาะที่จังหวัดภูเก็ตได้มีการสำรวจที่เขาขาด ต.วิชิต และเขานาคเกิด พบว่า มีพลังงานลมเพียงพอในการผลิตกระแสไฟฟ้าและลมเกิดขึ้นตลอด ไม่ต่ำกว่าวันละ 18 ชั่วโมง และสามารถติดตั้งกังหันที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 2-3 กิโลวัตต์ กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนได้หลานชนิด เช่น หากมีการติดตั้งกังหันลมขนาดผลิตไฟฟ้า 200 วัตต์ สามารถใช้กับหลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงานได้ 5 หลอด พัดลมตั้งโต๊ะ และตู้เย็นขนาด 5 คิวได้พร้อมกัน ซึ่งจะเป็นการช่วยกันประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี
นายองอาจ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ตนได้เข้ามาทำการประชาสัมพันธ์โครงการฯให้กับหน่วยงานราชการในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเกือบจะทุกอบต.แล้ว แต่ก็ยังได้รับการตอบรับเท่าที่ควรในเบื้องต้นทั้งนี้อาจจะยังขาดความเข้าใจในเรื่องของการใช้พลังงานลม ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองก็ยังไม่ได้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนินการในเรื่องนี้ด้วย คงจะต้องใช้เวลาในการประชาสัมพันธ์โครงการนี้สักระยะหนึ่งก่อน เมื่อหน่วยงานต่างๆ เข้าใจก็จะดำเนินการในเรื่องของการใช้พลังงานทดแทนอย่างแน่นอน
นายองอาจ โกยอนรรฆกุล ผู้จัดการโครงการนวัตกรรมพลังงานทดแทน-ลดภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ศูนย์อาสารณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ร่วมกับ องอาจวิศวกรรมจัดโครงการนวัตกรรมพลังงานทดแทน-ลดภาวะโลกร้อนขึ้น เพราะได้ตระหนักถึงการใช้พลังงานทดแทนตามแนวทางพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการลดภาวะโลกร้อนของกระทรวงพลังงาน
ทั้งนี้ เนื่องจากการวิจัยสำรวจพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีศักยภาพโดยรวมที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานลมธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถนำพลังงานลมธรรมชาติที่เป็นพลังงานสะอาดและไม่ต้องหา และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้กับบ้านอยู่อาศัย การเกษตร กสิกรรม การประมง และอุตสาหกรรมทั้งในครัวเรือนและอุตสาหกรรมขนาดย่อมจนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ด้วยการใช้กังหันลมความเร็วรอบต่ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในงานสาธารณะประโยชน์ เช่น ไฟฟ้าทางเดิน ไฟฟ้าถนน โคมไฟ สวนหย่อม สวนสุขภาพ และลานการแสดงอเนกประสงค์
ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แสดงจิตสำนึกที่ดีแก่นักท่องเที่ยวและเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัด รวมถึงเป็นกานแสดงวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหารกับการใช้นวัตรกรรมพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด (Green Energy) เป็นการปลูกฝังค่านิยมของการอนุรักษ์และการใช้พลังงานทดแทนแก่ชุมชนและประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ทางโครงการฯจึงได้ริ่เริ่มโครงการนวัตกรรมพลังงานทดแทน ตามโครงการเพื่อเฉลิมฉลอง ในวันที่ 5 ธันวาคม 2551
โครงการที่จะดำเนินการ ประกอบด้วย 1. โครงการ 5 วัด 5 กังหันลมผลิตไฟฟ้ากับการใช้พลังงานทดแทนเพื่อเป็นการส่งเสริมทางพุทธศาสนา โดยติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด 500 วัตต์ 2. โครงการ 5 โรงเรียน 5 กังหันผลิตไฟฟ้า เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานลม กับแนวทางตามนโยบายพัฒนาเยาวชนและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวทันกับเทคโนโลยีแห่งอนาคต เพื่อการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ (1kw)
3. โครงการใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าอเนกประสงค์ขนาด 3 กิโลวัตต์ 4. โครงการใช้กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ 5.โครงการใช้กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าอเนกประสงค์ขนาด 10 กิโลวัตต์ และ 6. โครงการใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าอเนกประสงค์ขนาด 20 กิโลวัตต์
นายองอาจ กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวได้มีการประชาสัมพันธ์ไปทั่วทั้งประเทศ แต่มีพื้นที่เป้าหมายหลักอยู่ในในอันดามัน เพราะจากการสำรวจในพื้นที่อันดามันมีศักยภาพในการใช้พลังงานลมในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ
โดยเฉพาะที่จังหวัดภูเก็ตได้มีการสำรวจที่เขาขาด ต.วิชิต และเขานาคเกิด พบว่า มีพลังงานลมเพียงพอในการผลิตกระแสไฟฟ้าและลมเกิดขึ้นตลอด ไม่ต่ำกว่าวันละ 18 ชั่วโมง และสามารถติดตั้งกังหันที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 2-3 กิโลวัตต์ กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนได้หลานชนิด เช่น หากมีการติดตั้งกังหันลมขนาดผลิตไฟฟ้า 200 วัตต์ สามารถใช้กับหลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงานได้ 5 หลอด พัดลมตั้งโต๊ะ และตู้เย็นขนาด 5 คิวได้พร้อมกัน ซึ่งจะเป็นการช่วยกันประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี
นายองอาจ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ตนได้เข้ามาทำการประชาสัมพันธ์โครงการฯให้กับหน่วยงานราชการในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเกือบจะทุกอบต.แล้ว แต่ก็ยังได้รับการตอบรับเท่าที่ควรในเบื้องต้นทั้งนี้อาจจะยังขาดความเข้าใจในเรื่องของการใช้พลังงานลม ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองก็ยังไม่ได้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนินการในเรื่องนี้ด้วย คงจะต้องใช้เวลาในการประชาสัมพันธ์โครงการนี้สักระยะหนึ่งก่อน เมื่อหน่วยงานต่างๆ เข้าใจก็จะดำเนินการในเรื่องของการใช้พลังงานทดแทนอย่างแน่นอน