xs
xsm
sm
md
lg

กฟภ.เสริมความรู้ จนท.ดูแลระบบผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - การไฟฟ้าส่วนภูภาคเสริมความรู้เจ้าหน้าที่ดูแล/บริหารจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เผยในภูเก็ตมีการติดตั้งแล้ว 351 ครัวเรือนแก้ปัญหาพาดสายไฟฟ้าไม่ถึง

วันนี้ (14ส.ค.) นายภานุมาศ ลิ้มสุวรรณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 (ภาคใต้) จ.นครศรีธรรมราช ในฐานะผู้ประสานงานโครงการเร่งรัดขยายบริการไฟฟ้าโดยระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังแสงอาทิตย์ กล่าวถึงะบริหารจัดการระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังแสงอาทิตย์ (Solar Home System) ภายหลังการประชุมให้ความรู้เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งทางท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 (ภาคใต้) จ.นครศรีธรรมราช ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.ภูเก็ต จัดขึ้น วันนี้ ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมีเจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน จ.ภูเก็ตเข้าร่วม จำนวน 10 แห่งว่า ตามที่รัฐบาบมีนโยบายให้ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้งานโดยทั่วกันนั้น กระทรวงมหาดไทย ได้รับมาดำเนินการ โดยมอบหมายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินโครงการฯ เพื่อติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังแสงอาทิตย์ให้กับครัวเรือนที่อยู่ห่างไกล ไม่สามารถขยายระบบการจ่ายไฟโดยการปักเสาพาดสายได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดเกี่ยวกับพื้นที่ เช่น ในเขตป่าสงวน เกาะแก่งต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเร่งรัดให้ประชาชนทุกครัวเรือนได้มีไฟฟ้าใช้งาน เนื่องจากรัฐบาลพิจารณาเห็นแล้วว่า ไฟฟ้า เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่มีส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น และยังช่วยให้ได้รับรู้ข่าวสารต่างๆ ทั้งจากโทรทัศน์ หรือวิทยุ โดยเมื่อติดตั้งแล้วเสร็จให้ส่งมอบระบบให้อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาล

จากที่ได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน มีการติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังแสงอาทิตย์ให้กับครัวเรือนที่อยู่ห่างไกลเสร็จแล้วจำนวน 203,000 ครัวเรือน ส่วนของจังหวัดภูเก็ตมีการติดตั้งแล้ว 351 ครัวเรือน ในพื้นที่รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 10 แห่ง

สิ่งสำคัญภายหลังการติดตั้งแล้วเสร็จ คือ การดูแลรักษาเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะผู้ดูแลทรัพย์สินให้เกิดความรู้ความชำนาญในการที่จะทำให้ระบบสามารถใช้งานได้อย่างยืนยาวตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
กำลังโหลดความคิดเห็น