ศูนย์ข่าวภูเก็ต -จังหวัดภูเก็ตจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการสิ่งแวดล้อม หนุงงบประมาณ 2 ด้าน จัดการน้ำเสีย-ขยะมูลฝอย
นายองอาจ ชนะชาญมงคล ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต กล่าวในการประชุม ชี้แจงการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2553 ที่ห้องประชุมโรงเตาเผาขยะภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมี นายวรพจน์ รัฐสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมว่า
การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด เป็นโครงการที่พิจารณาให้การสนับสนุนงบประมาณ 2 ด้าน คือ 1.ด้านการจัดการน้ำเสียชุมชน โดยต้องเป็นโครงการปรับปรุง/ฟื้นฟู ภายใต้แผนฟื้นฟูปรับปรุงระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรี โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ การขยายโครงข่ายท่อรวบรวมน้ำเสียและการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียส่วนขยาย กับการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสีย ก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียชุมชนใหม่
ในการพิจารณานั้นจะให้ความสำคัญกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พื้นที่เป้าหมาย ตามนโยบายพื้นที่เป้าหมายการจัดการน้ำเสียชุมชนปี 2552-2559 ของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เป็นลำดับแรก รวมทั้งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีการบำบัดอย่างง่ายเน้นหลักการธรรมชาติ มีการเดินระบบและบำรุงรักษาระบบที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่ำ
ด้านที่ 2 ด้านการจัดการขยะมูลฝอย โดยต้องเป็นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบ การก่อสร้างใหม่ การก่อสร้างสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย และการจัดซื้อครุภัณฑ์เก็บรวบรวม/ครุภัณฑ์ในระบบ ทั้งนี้จะให้ความสำคัญกับการจัดการกลุ่มพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับการจัดตั้งศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวม เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม ตามนโยบาย คพ.โดยยึดหลักการจัดการขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน และการออกแบบระบบฯอยู่บนพื้นฐานข้อมูลปฐมภูมิที่สำรวจได้จริงในพื้นที่ อปท.ที่ทำข้อตกลงเพื่อดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยแล้ว อย่างน้อย 10 ปี และมีการกำหนดอัตราค่าบริการในการจัดการขยะมูลฝอยที่ชัดเจน
ทั้งนี้ นายวรพจน์ กล่าวสรุปว่า เนื่องจากในปีงบประมาณ 2551 มีหลายโครงการที่ได้รับการอนุมัติแต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ดังนั้น สามารถที่จะนำมาบรรจุในแผนดังกล่าวได้ หรืออาจจะเสนอโครงการใหม่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด รวมไปถึงโครงการที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากภาคเอกชน แต่ก็ต้องมีการบรรจุไว้ในแผนจังหวัดด้วย ทั้งนี้ให้ดำเนินการจัดส่งมาภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2551 เพื่อส่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาและลงมาตรวจสอบความพร้อมในพื้นที่ก่อนส่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้ความเห็นชอบอีกครั้ง
นายองอาจ ชนะชาญมงคล ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต กล่าวในการประชุม ชี้แจงการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2553 ที่ห้องประชุมโรงเตาเผาขยะภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมี นายวรพจน์ รัฐสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมว่า
การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด เป็นโครงการที่พิจารณาให้การสนับสนุนงบประมาณ 2 ด้าน คือ 1.ด้านการจัดการน้ำเสียชุมชน โดยต้องเป็นโครงการปรับปรุง/ฟื้นฟู ภายใต้แผนฟื้นฟูปรับปรุงระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรี โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ การขยายโครงข่ายท่อรวบรวมน้ำเสียและการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียส่วนขยาย กับการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสีย ก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียชุมชนใหม่
ในการพิจารณานั้นจะให้ความสำคัญกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พื้นที่เป้าหมาย ตามนโยบายพื้นที่เป้าหมายการจัดการน้ำเสียชุมชนปี 2552-2559 ของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เป็นลำดับแรก รวมทั้งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีการบำบัดอย่างง่ายเน้นหลักการธรรมชาติ มีการเดินระบบและบำรุงรักษาระบบที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่ำ
ด้านที่ 2 ด้านการจัดการขยะมูลฝอย โดยต้องเป็นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบ การก่อสร้างใหม่ การก่อสร้างสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย และการจัดซื้อครุภัณฑ์เก็บรวบรวม/ครุภัณฑ์ในระบบ ทั้งนี้จะให้ความสำคัญกับการจัดการกลุ่มพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับการจัดตั้งศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวม เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม ตามนโยบาย คพ.โดยยึดหลักการจัดการขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน และการออกแบบระบบฯอยู่บนพื้นฐานข้อมูลปฐมภูมิที่สำรวจได้จริงในพื้นที่ อปท.ที่ทำข้อตกลงเพื่อดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยแล้ว อย่างน้อย 10 ปี และมีการกำหนดอัตราค่าบริการในการจัดการขยะมูลฝอยที่ชัดเจน
ทั้งนี้ นายวรพจน์ กล่าวสรุปว่า เนื่องจากในปีงบประมาณ 2551 มีหลายโครงการที่ได้รับการอนุมัติแต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ดังนั้น สามารถที่จะนำมาบรรจุในแผนดังกล่าวได้ หรืออาจจะเสนอโครงการใหม่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด รวมไปถึงโครงการที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากภาคเอกชน แต่ก็ต้องมีการบรรจุไว้ในแผนจังหวัดด้วย ทั้งนี้ให้ดำเนินการจัดส่งมาภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2551 เพื่อส่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาและลงมาตรวจสอบความพร้อมในพื้นที่ก่อนส่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้ความเห็นชอบอีกครั้ง