นครศรีธรรมราช – “เทพไท” บอกรู้ทัน “สมัคร” แค่ลวงสังคมโยนผิดพันธมิตรฯ ขวางแก้ ม.63 รอนสิทธิชุมนุม แนะสังเกตทำเป็นขบวนการเป็นขั้นตอน แล้วให้สมุน-3 เกลอหัวกลม รับลูกขยายผล
วันนี้ (5 ส.ค.) ที่ จ.นครศรีธรรมราช นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องมาตรา 63 ในรัฐธรรมนูญที่เปิดประเด็นการแก้ไขโดย นายสมัคร สุนทรเวช ว่า เป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิด ว่า จะมีการแก้ไข มาตรานี้เป็นพื้นฐานของประเทศประชาธิปไตยทั่วโลก กับสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่นายกรัฐมนตรีหยิบเรื่องนี้มาพูด และปั้นเรื่องว่าเป็นความคิดพันธมิตรฯที่เกรงกลัวการแก้มาตรา 63 ทั้งที่เรื่องนี้ นายสมัคร คิดเอง พูดเอง แล้วโยนความผิดให้พันธมิตรฯ
สังเกตให้ดีจะมีขบวนการในรัฐบาลขานรับ และขยายผลไปอย่างต่อเนื่อง เหมือนกับเช่นหลายเรื่องที่เปิดแล้วให้สมุนลิ่วล้อขยายผล ทั้งเรื่อง ป.ป.ช. กกต.รวมไปถึงเรื่องมาตรา 63 ซึ่งชัดเจนว่าคิดกันมาก่อนแล้วอย่างเป็นระบบ หลังจาก นายสมัคร เปิดประเด็น รายการ 3 เกลอหัวกลมขานรับขยายผล และมีสมาชิกพลังประชาชนยื่นร่าง พ.ร.บ.ต่อสภาในวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา ย่อมมีการเตรียมการก่อนหน้านั้น แต่ไม่มีโอกาสนายกหาโอกาสจุดประกายไม่ได้ จึงใช้รายการส่วนตัวในวันอาทิตย์เปิดประเด็น
“เป็นพฤติกรรมอำพราง และบ่ายเบี่ยงจุดสนใจของประชาชน ให้เห็นว่า เป็นเรื่องกลุ่มที่มีความขัดแย้งในสังคมเรื่องของเป้าหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งพันธมิตรฯกลัวการแก้มาตรา 63 และพยายามเคลื่อนไหวให้เห็นว่าคัดค้านการแก้มาตรา 190, 237 และ 309 ความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาตรา 63 ไม่เคยมีใครหยิบมาเป็นประเด็น ทุกฝ่ายจุดยืนร่วมกันคือคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อพวกพ้อง เพื่อให้พรรคการเมืองพ้นผิด ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิด คือ การแก้ มาตรา 190, 237 และ 309 เป็นหลัก”
นายเทพไท กล่าวต่อว่า ถือเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของสังคม เปิดเกมรุกไปที่กลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อลวงให้สังคมเห็นว่าพันธมิตรฯ เคลื่อนไหวเพื่อตนเองและสิทธิเสรีภาพของตนเองในการคัดค้านให้รัฐบาลแก้มาตรา 63 แต่เมื่อดูเนื้อหาที่รัฐบาลจะแก้ที่นายกฯ กำกับให้โฆษกรัฐบาลอ่านวานนี้ เห็นได้ว่า ได้มีการเปลี่ยนคำพูดเปลี่ยนเนื้อหามาตรานี้ไว้ก่อนแล้ว ดูเหมือนว่าเป็นการภาคภูมิใจของนายกฯ ที่ได้นำร่างมาตรา 63 มาเปิดเผย
ทั้งนี้ เชื่อว่า ถ้านายกรัฐมนตรีหยิบเรื่องนี้มาแก้ไข ไม่เพียงแต่ได้รับการคัดค้านจากคนทั้งประเทศ แต่เชื่อว่าองค์กรสากลจะไม่ยอม เพราะเนื้อหานั้นเน้นไปถึงการขออนุญาตการพูดในข้อเท็จจริง การห้ามถ่ายทอดเผยแพร่ถือเป็นการขัดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรง การห้ามประชาชนพูดในข้อความเป็นเท็จ ไม่มีหลักที่จะพิสูจน์ได้ นอกจากศาล หรือจะเคลื่อนไหวโดยนำประเด็นไปให้ศาลพิจารณาก่อนจะเหมาะสมหรือไม่ ไม่สามารถเป็นจริงในทางปฏิบัติได้
วันนี้ (5 ส.ค.) ที่ จ.นครศรีธรรมราช นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องมาตรา 63 ในรัฐธรรมนูญที่เปิดประเด็นการแก้ไขโดย นายสมัคร สุนทรเวช ว่า เป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิด ว่า จะมีการแก้ไข มาตรานี้เป็นพื้นฐานของประเทศประชาธิปไตยทั่วโลก กับสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่นายกรัฐมนตรีหยิบเรื่องนี้มาพูด และปั้นเรื่องว่าเป็นความคิดพันธมิตรฯที่เกรงกลัวการแก้มาตรา 63 ทั้งที่เรื่องนี้ นายสมัคร คิดเอง พูดเอง แล้วโยนความผิดให้พันธมิตรฯ
สังเกตให้ดีจะมีขบวนการในรัฐบาลขานรับ และขยายผลไปอย่างต่อเนื่อง เหมือนกับเช่นหลายเรื่องที่เปิดแล้วให้สมุนลิ่วล้อขยายผล ทั้งเรื่อง ป.ป.ช. กกต.รวมไปถึงเรื่องมาตรา 63 ซึ่งชัดเจนว่าคิดกันมาก่อนแล้วอย่างเป็นระบบ หลังจาก นายสมัคร เปิดประเด็น รายการ 3 เกลอหัวกลมขานรับขยายผล และมีสมาชิกพลังประชาชนยื่นร่าง พ.ร.บ.ต่อสภาในวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา ย่อมมีการเตรียมการก่อนหน้านั้น แต่ไม่มีโอกาสนายกหาโอกาสจุดประกายไม่ได้ จึงใช้รายการส่วนตัวในวันอาทิตย์เปิดประเด็น
“เป็นพฤติกรรมอำพราง และบ่ายเบี่ยงจุดสนใจของประชาชน ให้เห็นว่า เป็นเรื่องกลุ่มที่มีความขัดแย้งในสังคมเรื่องของเป้าหมายที่แตกต่างกัน ซึ่งพันธมิตรฯกลัวการแก้มาตรา 63 และพยายามเคลื่อนไหวให้เห็นว่าคัดค้านการแก้มาตรา 190, 237 และ 309 ความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาตรา 63 ไม่เคยมีใครหยิบมาเป็นประเด็น ทุกฝ่ายจุดยืนร่วมกันคือคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อพวกพ้อง เพื่อให้พรรคการเมืองพ้นผิด ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิด คือ การแก้ มาตรา 190, 237 และ 309 เป็นหลัก”
นายเทพไท กล่าวต่อว่า ถือเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของสังคม เปิดเกมรุกไปที่กลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อลวงให้สังคมเห็นว่าพันธมิตรฯ เคลื่อนไหวเพื่อตนเองและสิทธิเสรีภาพของตนเองในการคัดค้านให้รัฐบาลแก้มาตรา 63 แต่เมื่อดูเนื้อหาที่รัฐบาลจะแก้ที่นายกฯ กำกับให้โฆษกรัฐบาลอ่านวานนี้ เห็นได้ว่า ได้มีการเปลี่ยนคำพูดเปลี่ยนเนื้อหามาตรานี้ไว้ก่อนแล้ว ดูเหมือนว่าเป็นการภาคภูมิใจของนายกฯ ที่ได้นำร่างมาตรา 63 มาเปิดเผย
ทั้งนี้ เชื่อว่า ถ้านายกรัฐมนตรีหยิบเรื่องนี้มาแก้ไข ไม่เพียงแต่ได้รับการคัดค้านจากคนทั้งประเทศ แต่เชื่อว่าองค์กรสากลจะไม่ยอม เพราะเนื้อหานั้นเน้นไปถึงการขออนุญาตการพูดในข้อเท็จจริง การห้ามถ่ายทอดเผยแพร่ถือเป็นการขัดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรง การห้ามประชาชนพูดในข้อความเป็นเท็จ ไม่มีหลักที่จะพิสูจน์ได้ นอกจากศาล หรือจะเคลื่อนไหวโดยนำประเด็นไปให้ศาลพิจารณาก่อนจะเหมาะสมหรือไม่ ไม่สามารถเป็นจริงในทางปฏิบัติได้