ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมจัดเวทีสัมมนารับฟังความคิดเห็น การแปลงแผนพัฒนาภาคใต้สู่การปฏิบัติ กรณีโครงการสะพานเศรษฐกิจสตูล -สงขลา 25 สิงหาคม
นายสมยศ โต๊ะหลัง ผู้ประสานงานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน จ.สตูล กล่าวถึงความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใน จ.สตูล ซึ่งเครือข่ายประมงพื้นบ้านเป็นกลุ่มที่มีผลได้ผลเสียกับหลายๆ โครงการ โดยเฉพาะการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา
ทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.)ร่วมกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการศึกษาวิจัยการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปสู่การปฏิบัติ โดยการสร้างกระบวนการความร่วมมือของภาคีการพัฒนาในการดำเนินการตามแผนพัฒนาฯ โดยแผนพัฒนาภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของกรณีศึกษาด้านการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในระดับภูมิภาค ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
ผลจากการติดตามความคืบหน้าโครงการภายใต้แผนพัฒนาภาคใต้ที่ผ่านมติ ครม. เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาจังหวัดสตูล – สงขลา คณะผู้วิจัยพบว่า แผนพัฒนาภาคใต้ฉบับดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตของภูมิภาค ตลอดจนเห็นสมควรที่ภาคใต้ควรจะพัฒนาศักยภาพเพื่อที่จะรองรับทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมเหล็ก และมีการสนับสนุนการวางแผน ผลักดันอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐบาล
ทั้งได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากภาคเอกชน ที่นักลงทุนมีความสนใจในการลงทุนในกิจกรรมต่างที่เกี่ยวข้อง ทั้งการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ท่าเรือน้ำลึกสงขลา นิคมอุตสาหกรรม รวมถึงโรงกลั่นและการขนส่งปิโตรเคมี
ขณะนี้ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะผู้วิจัยเห็นว่า มีความจำเป็นที่ควรจะจัดเวทีเพื่อศึกษาข้อมูลแผนพัฒนาภาคใต้ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาจังหวัดสตูล – สงขลา ขึ้น เพื่อให้ภาคีการพัฒนาที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ ของโครงการ ตลอดจนรับทราบความคืบหน้าของโครงการที่จัดทำขึ้นในพื้นที่ 2 จังหวัด
ทั้งนี้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และแง่มุมทิศทางการพัฒนาในอนาคตของจังหวัดและภูมิภาค รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับจัดทำรายงานการศึกษาดังกล่าว เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนพัฒนาภาคใต้ เชื่อมโยงโครงการสะพานเศรษฐกิจสงขลา – สตูล ให้แก่คนใน จ.สตูลและสงขลา เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในจังหวัดสตูล-สงขลา และกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางและหลากหลาย
ในวันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม 2551 จะมีการเปิดเวทีสาธารณะศึกษาโครงการเส้นทางยุทธศาสตร์สงขลา-สตูล เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ณ ห้องประชุมชั้น 3 เทศบาลเมืองสตูล อ.เมืองสตูล เพื่อนำความคิดเห็นของกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวกับแผนพัฒนาภาคใต้และโครงการสะพานเศรษฐกิจไปจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐบาล ให้เกิดกลุ่มบุคคลที่สนใจติดตามตรวจสอบแผนพัฒนาภาคใต้และโครงการสะพาน เศรษฐกิจฯ โดยการศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูลจากทุกฝ่ายอย่างรอบด้าน
นายสมยศ กล่าวอีกว่า สถานการณ์ปัจจุบันข้อมูลของเส้นทางยุทธศาสตร์สงขลา – สตูล ยังไม่กระจายไปสู่กลุ่มชาวบ้านระดับล่างอย่างทั่วถึง ทั้งๆ ที่ชาวบ้านเหล่านี้คือผู้ที่จะได้รับผลหลายด้านจากโครงการต่างๆ เช่น ท่าเรือน้ำลึกปากบารา การเปิดเวทีสาธารณะ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายจึงถือเป็นสิ่งที่ดี ที่จะให้ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
“ความจริงแล้วเวทีลักษณะนี้เคยมีการจัดมาแล้วหลายครั้ง แต่ความรู้สึกของชาวบ้านจริงๆ กลับไม่มีใครรับรู้ ชาวบ้านกังวลมากว่าจะต้องย้ายที่อยู่อาศัยไปอยู่ที่อื่น และอาจต้องเปลี่ยนอาชีพจากชาวประมงไปทำงานในโรงงานที่พวกเขาไม่มีทักษะ และเป็นอาชีพไม่ยั่งยืน แต่ไม่มีใครสนใจเรื่องเหล่านี้ เพราะคนที่เป็นตัวแทนชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองท้องถิ่น ที่ยังคิดแต่เรื่องประโยชน์ส่วนตัว” นายสมยศ กล่าว
นายสมยศ โต๊ะหลัง ผู้ประสานงานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน จ.สตูล กล่าวถึงความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใน จ.สตูล ซึ่งเครือข่ายประมงพื้นบ้านเป็นกลุ่มที่มีผลได้ผลเสียกับหลายๆ โครงการ โดยเฉพาะการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา
ทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.)ร่วมกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการศึกษาวิจัยการแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปสู่การปฏิบัติ โดยการสร้างกระบวนการความร่วมมือของภาคีการพัฒนาในการดำเนินการตามแผนพัฒนาฯ โดยแผนพัฒนาภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของกรณีศึกษาด้านการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในระดับภูมิภาค ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
ผลจากการติดตามความคืบหน้าโครงการภายใต้แผนพัฒนาภาคใต้ที่ผ่านมติ ครม. เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาจังหวัดสตูล – สงขลา คณะผู้วิจัยพบว่า แผนพัฒนาภาคใต้ฉบับดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตของภูมิภาค ตลอดจนเห็นสมควรที่ภาคใต้ควรจะพัฒนาศักยภาพเพื่อที่จะรองรับทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมเหล็ก และมีการสนับสนุนการวางแผน ผลักดันอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐบาล
ทั้งได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากภาคเอกชน ที่นักลงทุนมีความสนใจในการลงทุนในกิจกรรมต่างที่เกี่ยวข้อง ทั้งการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ท่าเรือน้ำลึกสงขลา นิคมอุตสาหกรรม รวมถึงโรงกลั่นและการขนส่งปิโตรเคมี
ขณะนี้ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะผู้วิจัยเห็นว่า มีความจำเป็นที่ควรจะจัดเวทีเพื่อศึกษาข้อมูลแผนพัฒนาภาคใต้ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาจังหวัดสตูล – สงขลา ขึ้น เพื่อให้ภาคีการพัฒนาที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ ของโครงการ ตลอดจนรับทราบความคืบหน้าของโครงการที่จัดทำขึ้นในพื้นที่ 2 จังหวัด
ทั้งนี้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และแง่มุมทิศทางการพัฒนาในอนาคตของจังหวัดและภูมิภาค รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับจัดทำรายงานการศึกษาดังกล่าว เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนพัฒนาภาคใต้ เชื่อมโยงโครงการสะพานเศรษฐกิจสงขลา – สตูล ให้แก่คนใน จ.สตูลและสงขลา เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในจังหวัดสตูล-สงขลา และกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางและหลากหลาย
ในวันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม 2551 จะมีการเปิดเวทีสาธารณะศึกษาโครงการเส้นทางยุทธศาสตร์สงขลา-สตูล เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ณ ห้องประชุมชั้น 3 เทศบาลเมืองสตูล อ.เมืองสตูล เพื่อนำความคิดเห็นของกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวกับแผนพัฒนาภาคใต้และโครงการสะพานเศรษฐกิจไปจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐบาล ให้เกิดกลุ่มบุคคลที่สนใจติดตามตรวจสอบแผนพัฒนาภาคใต้และโครงการสะพาน เศรษฐกิจฯ โดยการศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูลจากทุกฝ่ายอย่างรอบด้าน
นายสมยศ กล่าวอีกว่า สถานการณ์ปัจจุบันข้อมูลของเส้นทางยุทธศาสตร์สงขลา – สตูล ยังไม่กระจายไปสู่กลุ่มชาวบ้านระดับล่างอย่างทั่วถึง ทั้งๆ ที่ชาวบ้านเหล่านี้คือผู้ที่จะได้รับผลหลายด้านจากโครงการต่างๆ เช่น ท่าเรือน้ำลึกปากบารา การเปิดเวทีสาธารณะ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายจึงถือเป็นสิ่งที่ดี ที่จะให้ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
“ความจริงแล้วเวทีลักษณะนี้เคยมีการจัดมาแล้วหลายครั้ง แต่ความรู้สึกของชาวบ้านจริงๆ กลับไม่มีใครรับรู้ ชาวบ้านกังวลมากว่าจะต้องย้ายที่อยู่อาศัยไปอยู่ที่อื่น และอาจต้องเปลี่ยนอาชีพจากชาวประมงไปทำงานในโรงงานที่พวกเขาไม่มีทักษะ และเป็นอาชีพไม่ยั่งยืน แต่ไม่มีใครสนใจเรื่องเหล่านี้ เพราะคนที่เป็นตัวแทนชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองท้องถิ่น ที่ยังคิดแต่เรื่องประโยชน์ส่วนตัว” นายสมยศ กล่าว