ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้ว่าฯแจงภูเก็ตภูเขาเสี่ยงถล่ม เหตุเป็นดินร่วนปนทราย ชี้ที่ผ่านมามีการสำรวจพื้นที่เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงมาตรการดูแลพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มหลังจากเกิดเหตุดินถล่ม ทับคนงานชาวพม่าเสียชีวิตจำนวน 3 คน ในพื้นที่ป่าตองวานนี้ (15 ก.ค.) ว่า สำหรับการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรวม ทั้งหน่วยส่วนกลางบางหน่วยอย่างทรัพยากรธรณี กรมพัฒนาที่ดินเคยมีการสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มไว้แล้ว และจะมีการประกาศเตือนทุกครั้งในกรณีที่มีฝนตกหนัก
ในส่วนของผู้ประกอบการที่เข้าไปทำการก่อสร้าง ไม่ค่อยให้ความสำคัญ และคนซื้อที่ดินอยากที่จะมีที่อยู่อาศัยบนที่สูงทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าไปตรวจสอบเรื่องของการก่อสร้างอาคารบนที่สูง ที่ลาดเชิงเขาให้มากขึ้น ว่ามีการดำเนินการถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่
นายนิรันดร์ ยังได้กล่าวต่อไปถึงการก่อสร้าง ว่า ขณะนี้มีกฎข้อบังคับห้ามไม่ให้มีการก่อสร้างบนที่สูงเกิน 80 เมตร แต่ก็ยังมีคนพยามที่จะวิ่งเต้นให้มีการแก้ไข และขยายการก่อสร้างขึ้นไปเป็นสูงไม่เกิน 120 เมตร ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่เห็นด้วย เนื่องจากดินในภูเก็ตเองก็ล่อแหลมที่จะถล่มลงมาเนื่องจากเป็นดินปนทราย
ส่วนเรื่องของการก่อสร้างบนที่สูง แล้วมีปัญหาเรื่องของดินถล่มก็จะต้องไปดูว่ามีการขออนุญาตหรือไม่ รวมทั้งสร้างในที่สูงเกินกว่าที่กำหนดหรือไม่ ถ้าสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็เป็นความผิดของผู้ประกอบการหรือเจ้าของบริษัท แต่ถ้าทำถูกต้อง ความสูงไม่เกินที่กำหนด ความลาดชันไม่เกิน ทำ EIA ถูกต้องหมดแล้วก็ต้องไปดูว่า เป็นความผิดของวิศวกรหรือว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ ขวางทางน้ำหนรือไม่ ก็ต้องดูเป็นจุดๆ ไป
นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงมาตรการดูแลพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มหลังจากเกิดเหตุดินถล่ม ทับคนงานชาวพม่าเสียชีวิตจำนวน 3 คน ในพื้นที่ป่าตองวานนี้ (15 ก.ค.) ว่า สำหรับการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรวม ทั้งหน่วยส่วนกลางบางหน่วยอย่างทรัพยากรธรณี กรมพัฒนาที่ดินเคยมีการสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มไว้แล้ว และจะมีการประกาศเตือนทุกครั้งในกรณีที่มีฝนตกหนัก
ในส่วนของผู้ประกอบการที่เข้าไปทำการก่อสร้าง ไม่ค่อยให้ความสำคัญ และคนซื้อที่ดินอยากที่จะมีที่อยู่อาศัยบนที่สูงทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าไปตรวจสอบเรื่องของการก่อสร้างอาคารบนที่สูง ที่ลาดเชิงเขาให้มากขึ้น ว่ามีการดำเนินการถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่
นายนิรันดร์ ยังได้กล่าวต่อไปถึงการก่อสร้าง ว่า ขณะนี้มีกฎข้อบังคับห้ามไม่ให้มีการก่อสร้างบนที่สูงเกิน 80 เมตร แต่ก็ยังมีคนพยามที่จะวิ่งเต้นให้มีการแก้ไข และขยายการก่อสร้างขึ้นไปเป็นสูงไม่เกิน 120 เมตร ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่เห็นด้วย เนื่องจากดินในภูเก็ตเองก็ล่อแหลมที่จะถล่มลงมาเนื่องจากเป็นดินปนทราย
ส่วนเรื่องของการก่อสร้างบนที่สูง แล้วมีปัญหาเรื่องของดินถล่มก็จะต้องไปดูว่ามีการขออนุญาตหรือไม่ รวมทั้งสร้างในที่สูงเกินกว่าที่กำหนดหรือไม่ ถ้าสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็เป็นความผิดของผู้ประกอบการหรือเจ้าของบริษัท แต่ถ้าทำถูกต้อง ความสูงไม่เกินที่กำหนด ความลาดชันไม่เกิน ทำ EIA ถูกต้องหมดแล้วก็ต้องไปดูว่า เป็นความผิดของวิศวกรหรือว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ ขวางทางน้ำหนรือไม่ ก็ต้องดูเป็นจุดๆ ไป