xs
xsm
sm
md
lg

เฮือกสุดท้าย! กฎยูเนสโก ข้อ 45 อาจทำเอกสาร “เหล่” โมฆะ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พอมีความหวัง นักวิชาการ เผย ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร อาจเป็นหมัน เนื่องจากติดกฎข้อบังคับยูเนสโกข้อ 45 ชี้ เอกสารคำลงนามของ “นพดล” มีอายุไม่ถึง 6 สัปดาห์ ระบุ ไทยเอากฎข้อนี้ทักท้วงได้


วันนี้ (3 ก.ค.) ที่ สถาบันไทยคดีศึกษา มีการประชุมร่วมกันของนักวิชาการประเด็นการขึ้นทะเบียนเปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลกจะนำเข้าพิจารณาในวันที่ 5-7 ก.ค.นี้ ที่ประเทศแคนาดา โดย นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ รพ.จุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารของกัมพูชา อาจขัดกฎข้อบังคับการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกข้อที่ 45 ที่ระบุว่า การแจกจ่ายเอกสารเพื่อให้คณะกรรมการในประเทศภาคีพิจารณานั้น จะต้องส่งให้ถึงมือก่อนการประชุมอย่างน้อย 6 สัปดาห์ ซึ่งจะอยู่ระหว่างวันที่ 20 พ.ค.2551 แต่หากยึดการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมระหว่าง นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ของไทย และกัมพูชา เมื่อวันที่ 18 ก.ค.2551 นั้น ถือว่าขัดต่อกฎข้อบังคับข้อที่ 45 อย่างเห็นได้ชัด ฉะนั้น ไทยจะมีช่องทางในการยื่นทักท้วงได้

“ตอนนี้เรามองอยู่สองประเด็น ก็คือ การที่กัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และที่ไทยเป็นห่วงอยู่ขณะนี้ ก็คือ การที่เราจะเสียดินแดนให้กัมพูชา แต่สองเรื่องนี้ดูจะเป็นเรื่องคาบเกี่ยวกันอยู่ เนื่องจากในคำแถลงการณ์ร่วมข้อ 3 ว่าด้วยเรื่องการขีดเส้นเขตแดนซึ่งกินพื้นที่ของไทยไปด้วย นั่นเป็นสิ่งที่เรายอมไม่ได้ และดูจะมีความหวังว่าสามารถทักท้วงได้โดยใช้กฎข้อบังคับของยูเนสโกเอง”

นพ.ตุลย์ กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินการต่อไปของนักวิชาการที่ร่วมคัดค้านต้องใช้หลักฐานที่มีอยู่ยื่นทักท้วงกับคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งหากยื่นในช่วงนี้ที่มีการประชุมพิจารณาอยู่คาดว่า จะไม่ทัน อย่างไรก็ตาม หากมีการผลักดันให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้ ไทยก็มีข้อทักท้วงได้ในเรื่องข้อกำหนดเวลาดังกล่าว แต่หากผลการพิจารณาออกมาว่ายังไม่เห็นชอบให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ก็จะเป็นโอกาสของคนไทยที่จะทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทั้งประเด็นการแบ่งเขตแดน คำพิพากษาของศาลโลกในปี พ.ศ.2505 และข้อมูลทางวิชาการที่ประชาชนควรรับทราบ

“มีคนบอกว่า ผ่านมานานแล้วไทยไม่ทำอะไร เราก็ถือโอกาสนี้รื้อกรณีปราสาทพระวิหารมาศึกษาและให้ความรู้ประชาชน แต่ทั้งนี้ ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ” นพ.ตุลย์ กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น