ระนอง - การฝึกซ้อมอพยพคลื่นสึนามิที่จังหวัดระนอง สัญญาณเตือนภัยดังทั้ง 5 จุด แต่เสียงเบาและระยะเวลาการส่งเสียงสัญญาณสั้นเกินไป
วันนี้ (7 ก.ค.) จังหวัดระนอง ได้ฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิเต็มรูปแบบให้กับประชาชนในพื้นที่ที่มีการติดตั้งระบบเตือนภัยในพื้นที่อำเภอกะเปอร์ และอำเภอสุขสำราญ 5 จุด คือ บ้านทะเลนอก หมู่ที่ 1, บ้านทับเหนือ (หาดประพาส) หมู่ที่ 2, บ้านหาดทรายขาว หมู่ที่ 7 ต.กำพวน, บ้านแหลมนาว หมู่ที่ 6 ต.นาคา อ.สุขสำราญ และบ้านบางเบน ต.ม่วงกลวง อ.กะเปอร์ และอีก 1 จุดที่ยังไม่มีการติดตั้งหอเตือนภัย แต่ใช้การส่งสัญญาณแบบมือหมุนที่ โรงเรียนบ้านปากน้ำ หมู่ที่ 1 ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง
โดย นางกาญจนาภา กี่หมัน ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง นายเจษฎา วัฒนานุรักษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนองและหน่วยงานต่างๆ ไปร่วมสังเกตการณ์ ที่จุดหลักบ้านทับเหนือ หรือหาดประพาส อ.สุขสำราญ
ทันทีที่เสียงสัญญาณเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิจากหอเตือนภัยที่ส่งสัญญาณมาจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติดังขึ้น นักเรียน และประชาชนได้วิ่งอพยพขึ้นไปยังที่ปลอดภัยซึ่งเป็นอาคารของสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งทะเลอันดามัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตสองชั้นสูงจากพื้นประมาณ 10 เมตร ที่ออกแบบไว้สำหรับการอพยพหลบภัยสึนามิเป็นการเฉพาะ ใช้ระยะเวลาในการวิ่งประมาณ 7 นาที และภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกซ้อมได้มีการประชุมเพื่อประเมินผลในทันที
ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวว่า สัญญาณที่ส่งจากหอเตือนภัยเสียงเบาเกินไป และสัญญาณดังเป็นช่วงสั้นๆ ไม่เร้าใจ และการพูดเตือนถึง 5 ภาษากว่าจะครบก็ใช้เวลานาน และการส่งสัญญาณครั้งที่สองออกมาก็ทิ้งช่วงเวลานานห่างจากครั้งแรกเกินไป ประชาชนก็อพยพกันหมดแล้ว คิดว่าในช่วงที่รอสัญญาณครั้งที่สองควรจะมีการพูดเตือนประชาชนถึงวิธีการปฏิบัติตนเพื่อไม่ให้ตื่นตระหนก ตกใจ และหากเกิดเหตุการณ์สึนามิในช่วงกลางคืนเสียงที่ปล่อยออกมาประชาชนที่กำลังนอนหลับคงจะไม่ได้ยินอย่างแน่นอน คิดว่า น่าจะมีการปรับระดับเสียงให้ดังขึ้นเพื่อให้ได้ยินชัดเจน
นายเจษฎา วัฒนานุรักษ์ หน.สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง กล่าวว่า หอสัญญาณเตือนภัยของจังหวัดระนองดังพร้อมกัน ทั้ง 5 จุด คือที่บ้านหาดทรายขาว บ้านทะเลนอก บ้านทับเหนือ บ้านแหลมนาว อ.สุขสำราญ และ บ้านบางเบน อ.กะเปอร์ ไม่มีปัญหาในเรื่องของระบบการสื่อสารและการส่งสัญญาณ
แต่มีปัญหาในเรื่องของความดังของเสียงที่เบาเกินไป และระยะเวลาในการปล่อยสัญญาณเตือนสั้นเกินไป ซึ่งจะได้นำข้อบกพร่องไปสรุปรายงานแล้วเสนอให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติรับทราบเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
นายเจษฎา กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้อนุมัติให้ติดตั้งหอเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ เพิ่มเติมตามข้อเสนอของจังหวัดอีก 4 จุด คือ บ้านปากคลอง หมู่ที่ 1 ต.ปากน้ำ อ.เมือง ท่าเรือบ้านท่ากลาง หมู่ที่ 4 ต.กำพวน, บ้านบางมัน หมู่ที่ 1 ต.นาคา ,ท่าเรือบ้านบางกล้วยนอก หมู่ที่ 3 ต.นาคา อ.สุขสำราญ งบประมาณทั้งสิ้น 9,200,000 บาท สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยอื่น ๆ ที่เหลืออีกประมาณ 6 จุด ทางจังหวัดจะได้เสนอของบประมาณในการติดตั้งหอเตือนภัยต่อไป
วันนี้ (7 ก.ค.) จังหวัดระนอง ได้ฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิเต็มรูปแบบให้กับประชาชนในพื้นที่ที่มีการติดตั้งระบบเตือนภัยในพื้นที่อำเภอกะเปอร์ และอำเภอสุขสำราญ 5 จุด คือ บ้านทะเลนอก หมู่ที่ 1, บ้านทับเหนือ (หาดประพาส) หมู่ที่ 2, บ้านหาดทรายขาว หมู่ที่ 7 ต.กำพวน, บ้านแหลมนาว หมู่ที่ 6 ต.นาคา อ.สุขสำราญ และบ้านบางเบน ต.ม่วงกลวง อ.กะเปอร์ และอีก 1 จุดที่ยังไม่มีการติดตั้งหอเตือนภัย แต่ใช้การส่งสัญญาณแบบมือหมุนที่ โรงเรียนบ้านปากน้ำ หมู่ที่ 1 ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง
โดย นางกาญจนาภา กี่หมัน ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง นายเจษฎา วัฒนานุรักษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนองและหน่วยงานต่างๆ ไปร่วมสังเกตการณ์ ที่จุดหลักบ้านทับเหนือ หรือหาดประพาส อ.สุขสำราญ
ทันทีที่เสียงสัญญาณเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิจากหอเตือนภัยที่ส่งสัญญาณมาจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติดังขึ้น นักเรียน และประชาชนได้วิ่งอพยพขึ้นไปยังที่ปลอดภัยซึ่งเป็นอาคารของสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งทะเลอันดามัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตสองชั้นสูงจากพื้นประมาณ 10 เมตร ที่ออกแบบไว้สำหรับการอพยพหลบภัยสึนามิเป็นการเฉพาะ ใช้ระยะเวลาในการวิ่งประมาณ 7 นาที และภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกซ้อมได้มีการประชุมเพื่อประเมินผลในทันที
ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวว่า สัญญาณที่ส่งจากหอเตือนภัยเสียงเบาเกินไป และสัญญาณดังเป็นช่วงสั้นๆ ไม่เร้าใจ และการพูดเตือนถึง 5 ภาษากว่าจะครบก็ใช้เวลานาน และการส่งสัญญาณครั้งที่สองออกมาก็ทิ้งช่วงเวลานานห่างจากครั้งแรกเกินไป ประชาชนก็อพยพกันหมดแล้ว คิดว่าในช่วงที่รอสัญญาณครั้งที่สองควรจะมีการพูดเตือนประชาชนถึงวิธีการปฏิบัติตนเพื่อไม่ให้ตื่นตระหนก ตกใจ และหากเกิดเหตุการณ์สึนามิในช่วงกลางคืนเสียงที่ปล่อยออกมาประชาชนที่กำลังนอนหลับคงจะไม่ได้ยินอย่างแน่นอน คิดว่า น่าจะมีการปรับระดับเสียงให้ดังขึ้นเพื่อให้ได้ยินชัดเจน
นายเจษฎา วัฒนานุรักษ์ หน.สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง กล่าวว่า หอสัญญาณเตือนภัยของจังหวัดระนองดังพร้อมกัน ทั้ง 5 จุด คือที่บ้านหาดทรายขาว บ้านทะเลนอก บ้านทับเหนือ บ้านแหลมนาว อ.สุขสำราญ และ บ้านบางเบน อ.กะเปอร์ ไม่มีปัญหาในเรื่องของระบบการสื่อสารและการส่งสัญญาณ
แต่มีปัญหาในเรื่องของความดังของเสียงที่เบาเกินไป และระยะเวลาในการปล่อยสัญญาณเตือนสั้นเกินไป ซึ่งจะได้นำข้อบกพร่องไปสรุปรายงานแล้วเสนอให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติรับทราบเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
นายเจษฎา กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้อนุมัติให้ติดตั้งหอเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ เพิ่มเติมตามข้อเสนอของจังหวัดอีก 4 จุด คือ บ้านปากคลอง หมู่ที่ 1 ต.ปากน้ำ อ.เมือง ท่าเรือบ้านท่ากลาง หมู่ที่ 4 ต.กำพวน, บ้านบางมัน หมู่ที่ 1 ต.นาคา ,ท่าเรือบ้านบางกล้วยนอก หมู่ที่ 3 ต.นาคา อ.สุขสำราญ งบประมาณทั้งสิ้น 9,200,000 บาท สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยอื่น ๆ ที่เหลืออีกประมาณ 6 จุด ทางจังหวัดจะได้เสนอของบประมาณในการติดตั้งหอเตือนภัยต่อไป