กระบี่ - กฟผ.มอบหนังสือเพื่อร่วมอนุรักษ์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลสำคัญอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้จังหวัด
วันนี้ (4 ก.ค.) ที่ห้องประชุมปกาสัย หอวัฒนธรรมศาลากลางจังหวัดกระบี่ นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มอบหนังสือ ภูมิศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม จังหวัดกระบี่ ให้กับจังหวัดกระบี่ โดยมี นายธันวาคม เขมะศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ และผู้แทนสถานศึกษาในจังหวัดกระบี่ เป็นผู้รับมอบ เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลสำคัญอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของจังหวัดกระบี่ ที่หาดูได้ยาก
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการ กฟผ.กล่าวถึงการจัดทำหนังสือ ภูมิศาสตร์สังคม วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ ว่า เมื่อปี 2545 กฟผ.ได้เข้ามาดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่แห่งใหม่ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอในระหว่างการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าก็ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับจังหวัดกระบี่ ผู้นำชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิของจังหวัดกระบี่ ในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน การดูแลด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
โดยพิจารณาเห็นว่าเรื่องราวที่เกี่ยวจ้องกับวิถีชีวิต ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของจังหวัดกระบี่ ยังไม่ได้เก็บรวบรวมไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ กฟผ.จึงได้ดำเนินการจัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้น โดยรวบรวมภาพถ่ายทั้งในอดีตและปัจจุบันของจังหวัดกระบี่ และเรื่องราวที่เกี่ยวกับมรกดอันล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาไทย รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการไฟฟ้าไทย การขุดค้นพบซากฟอสซิลโบราณจากเหมืองถ่านหินลิกไนต์กระบี่ ซึ่ง กฟผ.ได้เก็บรักษาไว้ที่ห้องจัดแสดงซากฟอสซิล ของโรงงานไฟฟ้ากระบี่
ความสำเร็จของการจัดทำหนังสือฉบับนี้ได้ร่วมมือในการเรียบเรียงเนื้อหาและภาพประกอบจากผู้ทรงคุณวุฒิของจังหวัดกระบี่ อาทิ อ.กลิ่น คงเหมือนเพชร อ.ดวล ดำดี อ.อาภรณ์ อุกฤษณ์ อ.นิวัฒน์ วัฒนยมนาพร อ.สุเทพ จันทระ โดยเฉพาะในหนังสือส่วนใหญ่เป็นภาพในอดีตที่ลูกหลานชาวกระบี่ยังไม่เคยพบเห็น จากที่ไหนมาก่อน
สำหรับเนื้อหาของ หนังสือภูมิศาสตร์ สังคม วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ แบ่งออกเป็น 12 ส่วน คือสภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดกระบี่ เอกลักษณ์ท้องถิ่น พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นกระบี่ กระบี่สมัยประวัติศาสตร์ เมืองกระบี่ยุคหลังสงคราม ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวิถีชีวิตพื้นบ้าน บันทึกพิเศษ บุคคลสำคัญและศิลปินพื้นบ้าน การท่องเที่ยว กระบี่ยังปริศนา บทส่งท้าย และบรรณานุกรม ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน และประชาชนทั่วไปที่น่าสนใจ ที่สำคัญคือ เป็นแหล่งข้อมูลและแหล่งอ้างอิงในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดกระบี่ต่อไป
วันนี้ (4 ก.ค.) ที่ห้องประชุมปกาสัย หอวัฒนธรรมศาลากลางจังหวัดกระบี่ นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มอบหนังสือ ภูมิศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม จังหวัดกระบี่ ให้กับจังหวัดกระบี่ โดยมี นายธันวาคม เขมะศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ และผู้แทนสถานศึกษาในจังหวัดกระบี่ เป็นผู้รับมอบ เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลสำคัญอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของจังหวัดกระบี่ ที่หาดูได้ยาก
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการ กฟผ.กล่าวถึงการจัดทำหนังสือ ภูมิศาสตร์สังคม วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ ว่า เมื่อปี 2545 กฟผ.ได้เข้ามาดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่แห่งใหม่ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอในระหว่างการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าก็ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับจังหวัดกระบี่ ผู้นำชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิของจังหวัดกระบี่ ในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน การดูแลด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
โดยพิจารณาเห็นว่าเรื่องราวที่เกี่ยวจ้องกับวิถีชีวิต ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของจังหวัดกระบี่ ยังไม่ได้เก็บรวบรวมไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ กฟผ.จึงได้ดำเนินการจัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้น โดยรวบรวมภาพถ่ายทั้งในอดีตและปัจจุบันของจังหวัดกระบี่ และเรื่องราวที่เกี่ยวกับมรกดอันล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาไทย รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการไฟฟ้าไทย การขุดค้นพบซากฟอสซิลโบราณจากเหมืองถ่านหินลิกไนต์กระบี่ ซึ่ง กฟผ.ได้เก็บรักษาไว้ที่ห้องจัดแสดงซากฟอสซิล ของโรงงานไฟฟ้ากระบี่
ความสำเร็จของการจัดทำหนังสือฉบับนี้ได้ร่วมมือในการเรียบเรียงเนื้อหาและภาพประกอบจากผู้ทรงคุณวุฒิของจังหวัดกระบี่ อาทิ อ.กลิ่น คงเหมือนเพชร อ.ดวล ดำดี อ.อาภรณ์ อุกฤษณ์ อ.นิวัฒน์ วัฒนยมนาพร อ.สุเทพ จันทระ โดยเฉพาะในหนังสือส่วนใหญ่เป็นภาพในอดีตที่ลูกหลานชาวกระบี่ยังไม่เคยพบเห็น จากที่ไหนมาก่อน
สำหรับเนื้อหาของ หนังสือภูมิศาสตร์ สังคม วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ แบ่งออกเป็น 12 ส่วน คือสภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดกระบี่ เอกลักษณ์ท้องถิ่น พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นกระบี่ กระบี่สมัยประวัติศาสตร์ เมืองกระบี่ยุคหลังสงคราม ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวิถีชีวิตพื้นบ้าน บันทึกพิเศษ บุคคลสำคัญและศิลปินพื้นบ้าน การท่องเที่ยว กระบี่ยังปริศนา บทส่งท้าย และบรรณานุกรม ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน และประชาชนทั่วไปที่น่าสนใจ ที่สำคัญคือ เป็นแหล่งข้อมูลและแหล่งอ้างอิงในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดกระบี่ต่อไป