ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ศาลแรงงานภาค 8 ชี้กรณีน้ำมันปรับตัวสูง-เศรษฐกิจตกต่ำไม่ส่งผลกระทบการเลิกจ้างแรงงานในจังหวัดภูเก็ต แต่ต้องติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดหากธุรกิจ-สถานประกอบการขาดสภาพคล่องเชื่อมีปัญหาแน่นอน
นายเฉลิมพงศ์ ขันตี อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 8 กล่าวถึงผลกระทบต่อการจ้างแรงงานในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นว่า โดยภาพรวมแล้วคิดว่าจากผลกระทบดังกล่าว จะทำให้ภาวะการเติบโตด้านเศรษฐกิจทั่วทุกภูมิภาคเกิดภาวะชะงัก แล้วก็จะมีผลกระทบต่อเนื่องมาถึงสภาวะการเลิกจ้างแรงงานในท้ายที่สุด ถ้าหากว่าผู้ประกอบการไม่สามารถที่จะดำรงสภาวะกิจการของตนเอง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ในในส่วนของจังหวัดภูเก็ตเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ก็ยังถือว่า สภาวะถดถอยหรือชะงักงันทางเศรษฐกิจยังไม่ปรากฏให้เห็นเด่นชัดนัก และยังไม่มีการเลิกจ้างแรงงานเหมือนกับจังหวัดอื่นๆ ที่เริ่มมีการเลิกจ้างแรงงานเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของจังหวัดภูเก็ตก็จะต้องมีการเฝ้าระวัง เพราะถ้าหากว่ากิจการหรือธุรกิจไม่สามารถดำรงสภาพคล่องได้ ก็จะเกิดปัญหาเหมือนกับภูมิภาคอื่นๆ
“จังหวัดในภาค 8 สำหรับจังหวัดภูเก็ต ยังถือว่าดีที่สุด สภาวะการเลิกจ้างน้อยที่สุด ขณะที่จังหวัดอื่นๆ เริ่มมีสัญญาณให้เห็น ว่าสภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักหรือว่าถดถอยมีผลต่อการเลิกจ้างและจะมีปัญหาแรงงานเรื่องการว่างงานแล้วก็จะกระทบไปถึงหน่วยงานอื่นๆ เมื่อมีภาวะการว่างงาน ลูกจ้างผู้ที่มีสิทธิตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ก็จะไปใช้สิทธิเรียกร้องทางประกันสังคม”
คำแนะนำสำหรับผู้ที่ถูกเลิกจ้าง ทั้งนายจ้าง และลูกจ้างจะต้องทำความเข้าใจ ว่าสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะงักงัน หรือถดถอย เพราะสาเหตุมาจากวิกฤตพลังงาน อาหาร มันเป็นไปทั่วภูมิภาคของโลก ไม่ได้เป็นเฉพาะประเทศไทยของเรา เพราะฉะนั้นการที่จะประคับประคองสถานะของทั้งสองฝ่ายของนายจ้าง หรือลูกจ้าง ก็สมควรที่จะได้มีการทำความเข้าใจซึ่งกันและกันแล้วก็โอนอ่อนผ่อนตามกันบ้าง เท่าที่ว่าเราพอจะประคับประคองให้กิจการอยู่รอด เพราะว่าถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดึงดันแต่จะเอาประโยชน์ตัว ไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง หรือลูกจ้าง ก็จะทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถที่จะดำรงสถานะที่เป็นอยู่เดิมได้ มันก็จะเกิดการปิดกิจการ และถูกเลิกจ้างในที่สุด
ส่วนการฟ้องร้องระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง กรณีนายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง ก็มีในเรื่องนายจ้างเอาเปรียบถึงไม่มีภาวะเศรษฐกิจคดีก็มีอยู่เรื่อยเพราะว่าบางครั้งนายจ้างจ้างลูกจ้างโดยไม่ปฏิบัติตาม กฎหมายแรงงาน บางทีก็จ้างในอัตราค่าจ้างที่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนด คดีประเภทนี้ก็มาสู่ศาลอยู่เรื่อยๆ
นายเฉลิมพงศ์ ขันตี อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 8 กล่าวถึงผลกระทบต่อการจ้างแรงงานในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นว่า โดยภาพรวมแล้วคิดว่าจากผลกระทบดังกล่าว จะทำให้ภาวะการเติบโตด้านเศรษฐกิจทั่วทุกภูมิภาคเกิดภาวะชะงัก แล้วก็จะมีผลกระทบต่อเนื่องมาถึงสภาวะการเลิกจ้างแรงงานในท้ายที่สุด ถ้าหากว่าผู้ประกอบการไม่สามารถที่จะดำรงสภาวะกิจการของตนเอง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ในในส่วนของจังหวัดภูเก็ตเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ก็ยังถือว่า สภาวะถดถอยหรือชะงักงันทางเศรษฐกิจยังไม่ปรากฏให้เห็นเด่นชัดนัก และยังไม่มีการเลิกจ้างแรงงานเหมือนกับจังหวัดอื่นๆ ที่เริ่มมีการเลิกจ้างแรงงานเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของจังหวัดภูเก็ตก็จะต้องมีการเฝ้าระวัง เพราะถ้าหากว่ากิจการหรือธุรกิจไม่สามารถดำรงสภาพคล่องได้ ก็จะเกิดปัญหาเหมือนกับภูมิภาคอื่นๆ
“จังหวัดในภาค 8 สำหรับจังหวัดภูเก็ต ยังถือว่าดีที่สุด สภาวะการเลิกจ้างน้อยที่สุด ขณะที่จังหวัดอื่นๆ เริ่มมีสัญญาณให้เห็น ว่าสภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักหรือว่าถดถอยมีผลต่อการเลิกจ้างและจะมีปัญหาแรงงานเรื่องการว่างงานแล้วก็จะกระทบไปถึงหน่วยงานอื่นๆ เมื่อมีภาวะการว่างงาน ลูกจ้างผู้ที่มีสิทธิตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ก็จะไปใช้สิทธิเรียกร้องทางประกันสังคม”
คำแนะนำสำหรับผู้ที่ถูกเลิกจ้าง ทั้งนายจ้าง และลูกจ้างจะต้องทำความเข้าใจ ว่าสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะงักงัน หรือถดถอย เพราะสาเหตุมาจากวิกฤตพลังงาน อาหาร มันเป็นไปทั่วภูมิภาคของโลก ไม่ได้เป็นเฉพาะประเทศไทยของเรา เพราะฉะนั้นการที่จะประคับประคองสถานะของทั้งสองฝ่ายของนายจ้าง หรือลูกจ้าง ก็สมควรที่จะได้มีการทำความเข้าใจซึ่งกันและกันแล้วก็โอนอ่อนผ่อนตามกันบ้าง เท่าที่ว่าเราพอจะประคับประคองให้กิจการอยู่รอด เพราะว่าถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดึงดันแต่จะเอาประโยชน์ตัว ไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง หรือลูกจ้าง ก็จะทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถที่จะดำรงสถานะที่เป็นอยู่เดิมได้ มันก็จะเกิดการปิดกิจการ และถูกเลิกจ้างในที่สุด
ส่วนการฟ้องร้องระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง กรณีนายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง ก็มีในเรื่องนายจ้างเอาเปรียบถึงไม่มีภาวะเศรษฐกิจคดีก็มีอยู่เรื่อยเพราะว่าบางครั้งนายจ้างจ้างลูกจ้างโดยไม่ปฏิบัติตาม กฎหมายแรงงาน บางทีก็จ้างในอัตราค่าจ้างที่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนด คดีประเภทนี้ก็มาสู่ศาลอยู่เรื่อยๆ