นครศรีธรรมราช - ข้าราชการสาธารณสุขเมืองคอน เตรียมร้องผู้ว่าราชการจังหวัด และปลัดกระทรวงสาธารณสุข สอบเงินโบนัส กางบัญชีแฉพบผู้บริหารรับอื้อเฉียดแสน แต่ข้าราชการปลายแถวรับแค่เศษเงิน
วันนี้ (2 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องการจัดสรรเงินรางวัลจูงใจ ตามคำรับรองปฏิบัติราชการประจำปี 2550 ในส่วนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ว่า มีการแบ่งสันปันส่วนไม่เป็นไปตามความเป็นธรรม โดยพบว่ามีผู้บริหารของสำนักงานสาธารณสุขหลายราย ได้เงินซ้ำซ้อนจากตัวชี้วัดรายละนับหลายหมื่นบาท อย่างน่ากังขา
ในเรื่องนี้ข้าราชการรายหนึ่งสังกัดกระทรวงสาธารณสุขนครศรีธรรมราช ได้นำเอกสารหลักฐานเข้าเปิดเผยกับผู้สื่อข่าว ว่า จากกรณีเงินดังกล่าวนั้นได้สร้างความเจ็บปวดให้ข้าราชการที่ทำงานอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับเงินโบนัสหรือรับน้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรือบางรายไม่ได้รับเลย ซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนี้
หลักฐานที่สำคัญ คือ หนังสือบันทึกข้อความ จากกลุ่มพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่งถึง สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ นศ.0027.002/พิเศษ ลงวันที่ 20 มิ.ย.51 เรื่อง การจัดสรรเงินรางวัลจูงใจ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี 2550
มีสาระสำคัญ คือ ได้มีการจัดสรรเงินจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามมติ คือ ในส่วนที่ 1 คือร้อยละ 40 ของยอดเงินทั้งหมดที่จังหวัดได้รับ หน่วยงาน สสจ.ได้รับ 6,715,532.67 บาท จัดสรรให้กับข้าราชการและลูกจ้างเฉลี่ยเท่ากันหมด คือ 1,576.40 บาท จากข้าราชการและลูกจ้างทั้งหมดรวม 4,260 คน
ต่อมาในส่วนที่ 2 ร้อยละ 60 เป็นรางวัลสะท้อนความโดดเด่นของหน่วยงานและบุคคล โดยแบ่งออกเป็น 2.1 สสจ.ได้รับผิดชอบ 7 ตัวชี้วัดย่อย 2 ตัวชี้วัดใหญ่ ได้รับเงิน 516,883.91 บาท และต่อมาหน่วยงานได้ทำคำรับรอง 11 ตัวชี้วัด ได้จัดสรรเงิน 156,372 บาท และในส่วนที่ 3 เงินรางวัลที่เจ้าภาพหลักจัดสรรให้เจ้าภาพร่วม
หนังสือดังกล่าวนั้นได้ส่งให้พิจารณาในประเด็นที่สำคัญ คือ โอนเงินให้ข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขนครศรีธรรมราชทุกคนรวม คนละ 1,576.40 บาท โอนเงินให้ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช 2,230,606 บาท และโอนเงินในส่วนที่ 3 ตามบัญชีรายชื่อที่แนบมากับหนังสือฉบับนี้ ลงนามโดย นางอัจฉรา รังสฤษติกุล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6 ทำหน้าที่ในตำแหน่ง หน.กลุ่มงานยุทธศาสตร์สาธารณสุข
อย่างไรก็ตาม ข้าราชการคนเดิม กล่าวต่อว่า สิ่งที่น่ากังขาต่อวงเงินที่ข้าราชการระดับสูงบางคนได้รับนั้นแทบจะไม่น่าเชื่อเมื่อปรากฏว่า มีบัญชีแสดงยอดเงินที่ได้รับ คือ นางอัจฉรา รังสฤษติกุล ผู้ที่ลงนามในหนังสือดังกล่าวเกือบทุกยอดบัญชีตัวชี้ ได้เงินถึง 24,253.04 บาท และยังมี นางวีณา ธิติประเสริฐ จนท.วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 รักษาราชการแทน สสจ.นครศรีธรรมราช ซึ่งลงนามแนบท้ายบัญชี ได้รับเงินเกือบทุกยอดบัญชีตัวชี้วัด รวมเป็นเงิน 74,908.02 บาท ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีเงินโบนัสสูงสุด และเป็นที่น่าสังเกตว่า ในบัญชีนั้นไม่ปรากฏชื่อของ นพ.นพพร ชื่นกลิ่น นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้รับเงินโบนัสตามเกณฑ์ตัวชี้วัดเลย
ข้าราชการคนเดิมกล่าวอีกว่า ในเรื่องนี้จะนำหลักฐานยื่นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรวจสอบ รวมทั้งปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ตรวจสอบกระบวนการในเรื่องนี้ด้วย เนื่องจากการจัดทำบัญชี อาจจะเกิดความไม่ปกติบางอย่าง ทำให้ข้าราชการที่เหลือจำนวนมากอยู่ในสภาพที่อึดอัดใจเป็นอย่างยิ่ง และไม่สามารถทักท้วงสิ่งใดๆ ได้
วันนี้ (2 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องการจัดสรรเงินรางวัลจูงใจ ตามคำรับรองปฏิบัติราชการประจำปี 2550 ในส่วนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ว่า มีการแบ่งสันปันส่วนไม่เป็นไปตามความเป็นธรรม โดยพบว่ามีผู้บริหารของสำนักงานสาธารณสุขหลายราย ได้เงินซ้ำซ้อนจากตัวชี้วัดรายละนับหลายหมื่นบาท อย่างน่ากังขา
ในเรื่องนี้ข้าราชการรายหนึ่งสังกัดกระทรวงสาธารณสุขนครศรีธรรมราช ได้นำเอกสารหลักฐานเข้าเปิดเผยกับผู้สื่อข่าว ว่า จากกรณีเงินดังกล่าวนั้นได้สร้างความเจ็บปวดให้ข้าราชการที่ทำงานอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับเงินโบนัสหรือรับน้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรือบางรายไม่ได้รับเลย ซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนี้
หลักฐานที่สำคัญ คือ หนังสือบันทึกข้อความ จากกลุ่มพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่งถึง สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ นศ.0027.002/พิเศษ ลงวันที่ 20 มิ.ย.51 เรื่อง การจัดสรรเงินรางวัลจูงใจ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี 2550
มีสาระสำคัญ คือ ได้มีการจัดสรรเงินจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามมติ คือ ในส่วนที่ 1 คือร้อยละ 40 ของยอดเงินทั้งหมดที่จังหวัดได้รับ หน่วยงาน สสจ.ได้รับ 6,715,532.67 บาท จัดสรรให้กับข้าราชการและลูกจ้างเฉลี่ยเท่ากันหมด คือ 1,576.40 บาท จากข้าราชการและลูกจ้างทั้งหมดรวม 4,260 คน
ต่อมาในส่วนที่ 2 ร้อยละ 60 เป็นรางวัลสะท้อนความโดดเด่นของหน่วยงานและบุคคล โดยแบ่งออกเป็น 2.1 สสจ.ได้รับผิดชอบ 7 ตัวชี้วัดย่อย 2 ตัวชี้วัดใหญ่ ได้รับเงิน 516,883.91 บาท และต่อมาหน่วยงานได้ทำคำรับรอง 11 ตัวชี้วัด ได้จัดสรรเงิน 156,372 บาท และในส่วนที่ 3 เงินรางวัลที่เจ้าภาพหลักจัดสรรให้เจ้าภาพร่วม
หนังสือดังกล่าวนั้นได้ส่งให้พิจารณาในประเด็นที่สำคัญ คือ โอนเงินให้ข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขนครศรีธรรมราชทุกคนรวม คนละ 1,576.40 บาท โอนเงินให้ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช 2,230,606 บาท และโอนเงินในส่วนที่ 3 ตามบัญชีรายชื่อที่แนบมากับหนังสือฉบับนี้ ลงนามโดย นางอัจฉรา รังสฤษติกุล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6 ทำหน้าที่ในตำแหน่ง หน.กลุ่มงานยุทธศาสตร์สาธารณสุข
อย่างไรก็ตาม ข้าราชการคนเดิม กล่าวต่อว่า สิ่งที่น่ากังขาต่อวงเงินที่ข้าราชการระดับสูงบางคนได้รับนั้นแทบจะไม่น่าเชื่อเมื่อปรากฏว่า มีบัญชีแสดงยอดเงินที่ได้รับ คือ นางอัจฉรา รังสฤษติกุล ผู้ที่ลงนามในหนังสือดังกล่าวเกือบทุกยอดบัญชีตัวชี้ ได้เงินถึง 24,253.04 บาท และยังมี นางวีณา ธิติประเสริฐ จนท.วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 รักษาราชการแทน สสจ.นครศรีธรรมราช ซึ่งลงนามแนบท้ายบัญชี ได้รับเงินเกือบทุกยอดบัญชีตัวชี้วัด รวมเป็นเงิน 74,908.02 บาท ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีเงินโบนัสสูงสุด และเป็นที่น่าสังเกตว่า ในบัญชีนั้นไม่ปรากฏชื่อของ นพ.นพพร ชื่นกลิ่น นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้รับเงินโบนัสตามเกณฑ์ตัวชี้วัดเลย
ข้าราชการคนเดิมกล่าวอีกว่า ในเรื่องนี้จะนำหลักฐานยื่นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรวจสอบ รวมทั้งปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ตรวจสอบกระบวนการในเรื่องนี้ด้วย เนื่องจากการจัดทำบัญชี อาจจะเกิดความไม่ปกติบางอย่าง ทำให้ข้าราชการที่เหลือจำนวนมากอยู่ในสภาพที่อึดอัดใจเป็นอย่างยิ่ง และไม่สามารถทักท้วงสิ่งใดๆ ได้