กระบี่ -โรคเอดส์จังหวัดกระบี่ยังโคม่า มีแนวโน้มขยายตัวสู่กลุ่มแม่บ้าน พบมากกลุ่มคนทำงาน อายุ 25-29 ปี
นายชัยเลิศ ภิญโญรัตนโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จากที่นายแพทย์ณรงค์ ฉายากุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำเขตตรวจราชการที่ 15 และ 17 ได้เดินทางมาประชุมการบูรณาการงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ของจังหวัดกระบี่ ร่วมกับหน่วยงานภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ โดยจะต้องดำเนินการแก้ไข เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
ในที่ประชุมรายงานว่า ปัจจุบันโรคเอดส์ไม่ได้พบเฉพาะผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงเท่านั้น แต่ได้มีแพร่กระจายเข้าสู่ครอบครัวสู่กลุ่มแม่บ้าน หญิงวัยเจริญพันธุ์ รวมทั้งเด็กทารกอย่างครบวงจร โรคเอดส์ไม่ได้เป็นเฉพาะปัญหาสาธารณสุขเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบถึงสังคมและเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม อัตราความชุกของการติดเชื้อเอดส์ของจังหวัดกระบี่ กลุ่มหญิงบริการอาชีพพิเศษตั้งแต่ พ.ศ.2533 ถึง พ.ศ.2538 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สูงสุดใน พ.ศ.2538 เท่ากับร้อยละ 20.65
หลังจากนั้นความชุกเริ่มมีแนวโน้มลดลงในปี 2550 อัตราความชุกร้อยละ 7.3 จากการสอบถามหญิงบริการที่ติดเชื้อเอดส์ ส่วนใหญ่จะเป็นหญิงบริการที่มาทำงานใหม่ในจังหวัดกระบี่ แต่เก่ามาจากจังหวัดอื่น อัตราการใช้ถุงยางอนามัยร้อยละ 98 ส่วนกลุ่มหญิงบริการอาชีพพิเศษแฝง อัตราความชุกตั้งแต่ปี 2533 ถึงปัจจุบันไม่คงที่ มีอัตราความชุกร้อยละ 4.6 และมีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยร้อยละ 96
ในส่วนของกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ อัตราการติดเชื้อมีแนวโน้มสูงคงที่จากปี 2549 ร้อยละ 1.9 ในปี 2550 ร้อยละ 1.8 ซึ่งมีอัตราสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงฯ กำหนดไว้ คือไม่เกินร้อยละ 0.95 และนับตั้งแต่มีรายงานผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการและผู้ป่วยรายแรกในปี 2533 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2551 ของจังหวัดกระบี่ มีผู้ป่วยเอดส์จำนวน 1,612 ราย เสียชีวิตแล้ว จำนวน 292 ราย ปัจจัยเสี่ยงที่พบมากที่สุด คือ ทางเพศสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 61.6
รองลงมา คือ ยาเสพติด ชนิดฉีดเข้าเส้น คิดเป็นร้อยละ 16.7 และจากแม่ผู้ติดเชื้อเอดส์ คิดเป็นร้อยละ 4.4 โดยพบมากในกลุ่มทำงานอายุ 25-29 ปี ร้อยละ 25.36 รองลงมากลุ่มอายุ 30-34 ปี ร้อยละ 22.92 ส่วนกลุ่มอายุ 0-4 ปี พบร้อยละ 3.82 อาชีพที่พบมากที่สุด คือ อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 44.8 แม่บ้าน ร้อยละ 4.5 และเด็กต่ำกว่าวัยเรียนคิดเป็นร้อยละ 4.22
นายชัยเลิศ ภิญโญรัตนโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จากที่นายแพทย์ณรงค์ ฉายากุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำเขตตรวจราชการที่ 15 และ 17 ได้เดินทางมาประชุมการบูรณาการงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ของจังหวัดกระบี่ ร่วมกับหน่วยงานภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ โดยจะต้องดำเนินการแก้ไข เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
ในที่ประชุมรายงานว่า ปัจจุบันโรคเอดส์ไม่ได้พบเฉพาะผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงเท่านั้น แต่ได้มีแพร่กระจายเข้าสู่ครอบครัวสู่กลุ่มแม่บ้าน หญิงวัยเจริญพันธุ์ รวมทั้งเด็กทารกอย่างครบวงจร โรคเอดส์ไม่ได้เป็นเฉพาะปัญหาสาธารณสุขเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบถึงสังคมและเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม อัตราความชุกของการติดเชื้อเอดส์ของจังหวัดกระบี่ กลุ่มหญิงบริการอาชีพพิเศษตั้งแต่ พ.ศ.2533 ถึง พ.ศ.2538 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สูงสุดใน พ.ศ.2538 เท่ากับร้อยละ 20.65
หลังจากนั้นความชุกเริ่มมีแนวโน้มลดลงในปี 2550 อัตราความชุกร้อยละ 7.3 จากการสอบถามหญิงบริการที่ติดเชื้อเอดส์ ส่วนใหญ่จะเป็นหญิงบริการที่มาทำงานใหม่ในจังหวัดกระบี่ แต่เก่ามาจากจังหวัดอื่น อัตราการใช้ถุงยางอนามัยร้อยละ 98 ส่วนกลุ่มหญิงบริการอาชีพพิเศษแฝง อัตราความชุกตั้งแต่ปี 2533 ถึงปัจจุบันไม่คงที่ มีอัตราความชุกร้อยละ 4.6 และมีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยร้อยละ 96
ในส่วนของกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ อัตราการติดเชื้อมีแนวโน้มสูงคงที่จากปี 2549 ร้อยละ 1.9 ในปี 2550 ร้อยละ 1.8 ซึ่งมีอัตราสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงฯ กำหนดไว้ คือไม่เกินร้อยละ 0.95 และนับตั้งแต่มีรายงานผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการและผู้ป่วยรายแรกในปี 2533 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2551 ของจังหวัดกระบี่ มีผู้ป่วยเอดส์จำนวน 1,612 ราย เสียชีวิตแล้ว จำนวน 292 ราย ปัจจัยเสี่ยงที่พบมากที่สุด คือ ทางเพศสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 61.6
รองลงมา คือ ยาเสพติด ชนิดฉีดเข้าเส้น คิดเป็นร้อยละ 16.7 และจากแม่ผู้ติดเชื้อเอดส์ คิดเป็นร้อยละ 4.4 โดยพบมากในกลุ่มทำงานอายุ 25-29 ปี ร้อยละ 25.36 รองลงมากลุ่มอายุ 30-34 ปี ร้อยละ 22.92 ส่วนกลุ่มอายุ 0-4 ปี พบร้อยละ 3.82 อาชีพที่พบมากที่สุด คือ อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 44.8 แม่บ้าน ร้อยละ 4.5 และเด็กต่ำกว่าวัยเรียนคิดเป็นร้อยละ 4.22