สตูล - จังหวัดสตูลพบนักเรียนหลุดระบบการศึกษา เพราะวิฤตเศรษฐกิจสูงกว่า 400 คน ขณะที่ผู้นำศาสนาให้ทุกคนยึดหลักคำสอนเลิกใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย
วันนี้ (10 มิ.ย.) นางหมิหน๊ะ หมานราโต๊ะ อายุ 49 ปี แม่ค้าผักสด บ้านเลขที่ 105 หมู่ 5 ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล ยอมรับว่าในสภาวะยุคข้ายากหมากแพง ส่งผลกระทบต่อครอบครัวของเขามาก เนื่องจากภายในครอบครัวมีกันมาถึง 6 ชีวิตที่ต้องดูแลและเลี้ยงปากท้อง ในขณะที่รายได้เข้าครอบครัวมีเพียงทางเดียวจากตนเองที่ต้องออกไปขายผักตามตลาดนัด และยังมีบุตรที่อยู่ในวัยกำลังเรียนอีก 4 ชีวิต ซึ่งนับเป็นภาระที่หนักหน่วงมาก เพราะผักที่ขายก็ไม่ดีเหมือนแต่ก่อนเพราะลูกค้าหลายคนก็ซื้อเท่าที่จำเป็น ทำให้รายได้วันหนึ่งไม่ถึง 500 บาทในขณะนี้เงินเก็บออมในครอบครัวก็ไม่มีแล้ว
ในเรื่องการศึกษาของบุตรทั้ง 4 คนก็จะพยายามส่งเสียบุตรให้เรียนจบสูงที่สุดตามกำลังที่จะทำได้ หากเขารักดีก็จะสนับสนุน แต่ให้หาปัจจัยเงินทุนการศึกษาเรียนเอาเอง เพราะครอบครัวคงจะไม่มีความสามารถในการส่งเสียให้เรียนได้ เพราะต้องรับภาระหลายอย่าง
ในขณะที่นางสาวฮาบีบ๊ะ อาดำ อายุ 15 ปี บุตรสาวซึ่งยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปี 4 โรงเรียนสตูลวิทยา บอกว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ที่แม่หากแม่ไม่มีรายได้ ก็คงไม่ได้เรียน แต่สำหรับยุคนี้ก็ยังมองเห็นว่าการศึกษายังเป็นสิ่งจำเป็น แต่แม่จะให้เรียนถึงไหนนั้นก็แล้วแต่แม่ แต่ที่จะทำเพื่อครอบครัว คือจะช่วยประหยัดเท่าที่จำเป็นเพราะครอบครัวอยู่กันหลายคน
นายอดินันท์ ปากบารา ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสตูล กล่าวว่า สภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำสาเหตุมาจากน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้การประกอบอาชีพยากลำบาก ในขณะเดียวกันจังหวัดสตูลยังประสบปัญหาในช่วงมรสุม ปัญหาสภาพอากาศยังส่งผลให้รายได้ของผู้ปกครองทางชายทะเล รายได้น้อยลง หรือบางวันไม่มีรายได้เลย ยังส่งผลต่อการเรียนของลูกหลาน
ในเรื่องนี้หากยังมีระยะของวิกฤตที่ยาวนาน จะส่งผลให้เด็กออกจากระบบการศึกษา จากการสำรวจย้อนหลัง 3 และ 5 ปีในอำเภออื่นๆ โดยเฉพาะอำเภอท่าแพ ซึ่งเป็นโครงการทดลองการศึกษาทางเลือก พบว่ามีเด็กที่หลุดจากการศึกษาโดยไม่จบการศึกษาชั้น ม.3 ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับสำรวจทั้งจังหวัด 7 อำเภอ พบว่าไม่น้อยกว่า 400 คน และมีแนวโน้มในสภาวะกิจเศรษฐกิจแบบนี้จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเรื่องการศึกษา เงินทุน เสื้อผ้า เล็กน้อยไม่ต้องมากแต่ต้องกระจายไปในพื้นที่มาช่วยเหลือ นี่คือความยากลำบากของผู้ปกครอง เราเองก็ยากให้ส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่มาดูแลให้มากขึ้น
ด้าน นายอิบรอเหม อาดำ ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดสตูล เล็งเห็นถึงสถานการณ์ภาวะวิกฤตน้ำมันแพงในขณะนี้ขอให้ทุกคน ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดต่อหลังศาสนาอยู่แล้วที่จัดว่าคนที่ใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยจะเปรียบเสมือนคนนั้นเป็นเพื่อนกับมารร้ายที่มีอยู่ในหลักศาสนาอิสลาม จึงขอให้หันมาเป็นคนที่มัธยัสถ์ อดออม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยเหลือเราได้ในสภาพที่วิกฤตให้กลับมาโดยไม่ฟุ่มเฟือย จะให้ช่วยสังคมที่ย่ำแย่ในขณะนี้ได้ยกระดับขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง
วันนี้ (10 มิ.ย.) นางหมิหน๊ะ หมานราโต๊ะ อายุ 49 ปี แม่ค้าผักสด บ้านเลขที่ 105 หมู่ 5 ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล ยอมรับว่าในสภาวะยุคข้ายากหมากแพง ส่งผลกระทบต่อครอบครัวของเขามาก เนื่องจากภายในครอบครัวมีกันมาถึง 6 ชีวิตที่ต้องดูแลและเลี้ยงปากท้อง ในขณะที่รายได้เข้าครอบครัวมีเพียงทางเดียวจากตนเองที่ต้องออกไปขายผักตามตลาดนัด และยังมีบุตรที่อยู่ในวัยกำลังเรียนอีก 4 ชีวิต ซึ่งนับเป็นภาระที่หนักหน่วงมาก เพราะผักที่ขายก็ไม่ดีเหมือนแต่ก่อนเพราะลูกค้าหลายคนก็ซื้อเท่าที่จำเป็น ทำให้รายได้วันหนึ่งไม่ถึง 500 บาทในขณะนี้เงินเก็บออมในครอบครัวก็ไม่มีแล้ว
ในเรื่องการศึกษาของบุตรทั้ง 4 คนก็จะพยายามส่งเสียบุตรให้เรียนจบสูงที่สุดตามกำลังที่จะทำได้ หากเขารักดีก็จะสนับสนุน แต่ให้หาปัจจัยเงินทุนการศึกษาเรียนเอาเอง เพราะครอบครัวคงจะไม่มีความสามารถในการส่งเสียให้เรียนได้ เพราะต้องรับภาระหลายอย่าง
ในขณะที่นางสาวฮาบีบ๊ะ อาดำ อายุ 15 ปี บุตรสาวซึ่งยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปี 4 โรงเรียนสตูลวิทยา บอกว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ที่แม่หากแม่ไม่มีรายได้ ก็คงไม่ได้เรียน แต่สำหรับยุคนี้ก็ยังมองเห็นว่าการศึกษายังเป็นสิ่งจำเป็น แต่แม่จะให้เรียนถึงไหนนั้นก็แล้วแต่แม่ แต่ที่จะทำเพื่อครอบครัว คือจะช่วยประหยัดเท่าที่จำเป็นเพราะครอบครัวอยู่กันหลายคน
นายอดินันท์ ปากบารา ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสตูล กล่าวว่า สภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำสาเหตุมาจากน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้การประกอบอาชีพยากลำบาก ในขณะเดียวกันจังหวัดสตูลยังประสบปัญหาในช่วงมรสุม ปัญหาสภาพอากาศยังส่งผลให้รายได้ของผู้ปกครองทางชายทะเล รายได้น้อยลง หรือบางวันไม่มีรายได้เลย ยังส่งผลต่อการเรียนของลูกหลาน
ในเรื่องนี้หากยังมีระยะของวิกฤตที่ยาวนาน จะส่งผลให้เด็กออกจากระบบการศึกษา จากการสำรวจย้อนหลัง 3 และ 5 ปีในอำเภออื่นๆ โดยเฉพาะอำเภอท่าแพ ซึ่งเป็นโครงการทดลองการศึกษาทางเลือก พบว่ามีเด็กที่หลุดจากการศึกษาโดยไม่จบการศึกษาชั้น ม.3 ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับสำรวจทั้งจังหวัด 7 อำเภอ พบว่าไม่น้อยกว่า 400 คน และมีแนวโน้มในสภาวะกิจเศรษฐกิจแบบนี้จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเรื่องการศึกษา เงินทุน เสื้อผ้า เล็กน้อยไม่ต้องมากแต่ต้องกระจายไปในพื้นที่มาช่วยเหลือ นี่คือความยากลำบากของผู้ปกครอง เราเองก็ยากให้ส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่มาดูแลให้มากขึ้น
ด้าน นายอิบรอเหม อาดำ ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดสตูล เล็งเห็นถึงสถานการณ์ภาวะวิกฤตน้ำมันแพงในขณะนี้ขอให้ทุกคน ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดต่อหลังศาสนาอยู่แล้วที่จัดว่าคนที่ใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยจะเปรียบเสมือนคนนั้นเป็นเพื่อนกับมารร้ายที่มีอยู่ในหลักศาสนาอิสลาม จึงขอให้หันมาเป็นคนที่มัธยัสถ์ อดออม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยเหลือเราได้ในสภาพที่วิกฤตให้กลับมาโดยไม่ฟุ่มเฟือย จะให้ช่วยสังคมที่ย่ำแย่ในขณะนี้ได้ยกระดับขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง