กระบี่ -ผู้เลี้ยงกุ้งกระบี่ หนุนรัฐรับจำนำกุ้งและหาเงินทุนดอกเบี้ยต่ำช่วยเกษตรกร แก้ปัญหาราคาตกต่ำ
นายปกครอง เกิดสุข ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จังหวัดกระบี่กำลังประสบภาวะขาดทุนอย่างหนัก เนื่องจากภาวะราคาน้ำมัน วัตถุดิบ และต้นทุนการผลิตพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ราคากุ้งกลับตกต่ำลง ส่งผลทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งต้องแบกรับภาระอย่างหนัก อันเนื่องมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่าง ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ เหลืออยู่เพียง 250 รายเท่านั้น จากเดิมมีจำนวน 500 ราย เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นได้จึงต้องเลิกกิจการ ที่ผ่านมาการส่งออกกุ้งในจังหวัดกระบี่ อยู่อันดับต้นๆ ของประเทศ โดยในปี2550 จังหวัดกระบี่สามารถส่งออกกุ้งได้จำนวน 25,000 ตัน แต่ในปีนี้ คาดว่าสามารถส่งกออกได้ ประมาณ 20,000 ตัน รายได้ของเกษตรกรก็ลดน้อยลงจนแทบจะไม่มีกำไรเลย ทั้งนี้รายได้จากปีที่ผ่านมา ประมาณ 4 พันล้านบาท แต่ปีนี้มีรายได้ลดลงมาเหลือ 2 พันล้านบาท
สำหรับราคากุ้งที่จำหน่ายอยู่ในขณะนี้ ขนาด 60 ตัว ราคากิโลกรัมละ 90 บาท จากเดิมอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 120 บาท ส่งผลทำให้เกษตรกรที่ต้นทุนต่ำไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ โดยเฉพาะค่าอาหาร และค่าน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น จนแบกรับไม่ไหว จึงเรียกร้องให้รัฐบาลหาเงินทุนที่มีดอกเบี้ยต่ำ มาสนับสนุนเกษตรกร และให้มีการรับจำนำกุ้งเหมือนปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้
นายปกครอง เกิดสุข ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จังหวัดกระบี่กำลังประสบภาวะขาดทุนอย่างหนัก เนื่องจากภาวะราคาน้ำมัน วัตถุดิบ และต้นทุนการผลิตพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ราคากุ้งกลับตกต่ำลง ส่งผลทำให้ผู้เลี้ยงกุ้งต้องแบกรับภาระอย่างหนัก อันเนื่องมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่าง ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ เหลืออยู่เพียง 250 รายเท่านั้น จากเดิมมีจำนวน 500 ราย เนื่องจากไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นได้จึงต้องเลิกกิจการ ที่ผ่านมาการส่งออกกุ้งในจังหวัดกระบี่ อยู่อันดับต้นๆ ของประเทศ โดยในปี2550 จังหวัดกระบี่สามารถส่งออกกุ้งได้จำนวน 25,000 ตัน แต่ในปีนี้ คาดว่าสามารถส่งกออกได้ ประมาณ 20,000 ตัน รายได้ของเกษตรกรก็ลดน้อยลงจนแทบจะไม่มีกำไรเลย ทั้งนี้รายได้จากปีที่ผ่านมา ประมาณ 4 พันล้านบาท แต่ปีนี้มีรายได้ลดลงมาเหลือ 2 พันล้านบาท
สำหรับราคากุ้งที่จำหน่ายอยู่ในขณะนี้ ขนาด 60 ตัว ราคากิโลกรัมละ 90 บาท จากเดิมอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 120 บาท ส่งผลทำให้เกษตรกรที่ต้นทุนต่ำไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ โดยเฉพาะค่าอาหาร และค่าน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น จนแบกรับไม่ไหว จึงเรียกร้องให้รัฐบาลหาเงินทุนที่มีดอกเบี้ยต่ำ มาสนับสนุนเกษตรกร และให้มีการรับจำนำกุ้งเหมือนปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้