ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จังหวัดภูเก็ตไข้เลือดออกยอดพุ่ง 3 เดือนป่วย 139 คนเสียชีวิตแล้ว 1 ราย ยอดคนป่วยสูงกว่าช่วงเดียวกันกับปี 2550 สธ.ภูเก็ตหวั่นยุงดื้อยาเก็บตัวอย่างวิจัย
นายแพทย์วิวัฒน์ ศีตมโนชย์ ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดภูเก็ตว่า ปีสถิติการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในภูเก็ตพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราป่วยอยู่ที่อันดับ 7 ของประเทศ มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551มีรายงานผู้ป่วยในระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 1 เมษายน 2551 จำนวน 139 รายและมีผู้เสียชีวิตจำนวน 1 ราย
สำหรับพื้นที่ที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ พื้นที่อำเภอถลาง รองลงมา อำเภอเมือง และอำเภอกะทู้ ทั้งนี้ในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
จากแนวโน้มการแพร่ระบาดที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อให้ตระหนักและช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายก่อนเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงการระบาดของโรค รวมทั้งการรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นต้นเหตุทุกสัปดาห์
เช่น ภาชนะเก็บน้ำในห้องน้ำ ห้องส้วม โอ่งน้ำ อ่างบัว จานรองกระถางต้นไม้ เป็นต้น การจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น เศษวัสดุ ขยะ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่า เป็นต้น โดยการลด เผา ฝังและดัดแปลง ภาชนะขังน้ำที่ไม่สามารถขัดล้าง เปลี่ยนถ่ายน้ำได้ทุก 7 วัน และปิดฝาภาชนะไม่ได้สามารถใช้ทรายที่มีฟอส(อะเบท) ใส่ป้องกันลูกน้ำยุงลาย ส่วนภาชนะเลี้ยงพืชน้ำ เช่น อ่างบัวให้ปล่อยปลากินลูกน้ำ เป็นต้น
นายแพทย์วิวัฒน์ กล่าวต่อว่า การพ่นสารเคมีกำจัดยุงเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ให้ผลระยะสั้น มีราคาแพง และสารเคมีอาจเป็นพิษต่อคน และสัตว์เลี้ยง รวมทั้งเกิดการดื้อยาซึ่งขณะนี้มีความเป็นห่วงเรื่องของยุงตัวแม่ดื้อยา ซึ่งขณะนี้ได้ส่งทีมเก็บตัวอย่างยุงตัวแม่มาทำการวิจัยแต่อย่างไรก็ตามยังไม่ได้ผลออกมาคิดว่าเร็วๆ นี้น่าจะทราบ
นายแพทย์วิวัฒน์ ศีตมโนชย์ ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดภูเก็ตว่า ปีสถิติการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกในภูเก็ตพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราป่วยอยู่ที่อันดับ 7 ของประเทศ มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551มีรายงานผู้ป่วยในระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 1 เมษายน 2551 จำนวน 139 รายและมีผู้เสียชีวิตจำนวน 1 ราย
สำหรับพื้นที่ที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ พื้นที่อำเภอถลาง รองลงมา อำเภอเมือง และอำเภอกะทู้ ทั้งนี้ในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
จากแนวโน้มการแพร่ระบาดที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนเพื่อให้ตระหนักและช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายก่อนเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงการระบาดของโรค รวมทั้งการรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นต้นเหตุทุกสัปดาห์
เช่น ภาชนะเก็บน้ำในห้องน้ำ ห้องส้วม โอ่งน้ำ อ่างบัว จานรองกระถางต้นไม้ เป็นต้น การจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น เศษวัสดุ ขยะ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่า เป็นต้น โดยการลด เผา ฝังและดัดแปลง ภาชนะขังน้ำที่ไม่สามารถขัดล้าง เปลี่ยนถ่ายน้ำได้ทุก 7 วัน และปิดฝาภาชนะไม่ได้สามารถใช้ทรายที่มีฟอส(อะเบท) ใส่ป้องกันลูกน้ำยุงลาย ส่วนภาชนะเลี้ยงพืชน้ำ เช่น อ่างบัวให้ปล่อยปลากินลูกน้ำ เป็นต้น
นายแพทย์วิวัฒน์ กล่าวต่อว่า การพ่นสารเคมีกำจัดยุงเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ให้ผลระยะสั้น มีราคาแพง และสารเคมีอาจเป็นพิษต่อคน และสัตว์เลี้ยง รวมทั้งเกิดการดื้อยาซึ่งขณะนี้มีความเป็นห่วงเรื่องของยุงตัวแม่ดื้อยา ซึ่งขณะนี้ได้ส่งทีมเก็บตัวอย่างยุงตัวแม่มาทำการวิจัยแต่อย่างไรก็ตามยังไม่ได้ผลออกมาคิดว่าเร็วๆ นี้น่าจะทราบ