ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - หาดใหญ่โพล เผย ชาวใต้เชื่อ พปช.แก้รัฐธรรมนูญเพื่อหนีความผิด ระบุรัฐบาลจะพังเพราะปากนายกฯ แนะควรเร่งแก้ปัญหาปากท้องประชาชนและปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับวิกฤตการเมืองกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,100 ตัวอย่าง ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม 2551
โดยผลการสำรวจในประเด็นการยุบพรรคการเมือง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.7 เห็นด้วยกับมติของที่ปรึกษา กกต.เกี่ยวกับการยุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และร้อยละ 43.3 ไม่เห็นด้วยกับมติของที่ปรึกษา กกต.เกี่ยวกับการยุบพรรค 2 พรรคดังกล่าว มีเพียงร้อยละ 1.0 ไม่แสดงความคิดเห็น
ส่วนความคิดเห็นคดีของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช เกี่ยวกับการยุบพรรคพลังประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.3 เห็นว่า คดีไม่สามารถนำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชนได้ ร้อยละ 34.8 เห็นว่า คดีสามารถนำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชนได้ มีเพียงร้อยละ 1.8 ไม่แสดงความคิดเห็น
จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า ประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 52.3 เห็นว่าเป็นการแก้ไขเพื่อให้พ้นความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ที่กำลังอยู่ในการพิจารณาของ กกต.และศาล และร้อยละ 44.2 เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยวกับความผิดที่เกิดจากการเลือกตั้ง มีเพียงร้อยละ 3.5 ไม่แสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้ ในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ประชาชนร้อยละ 56.9 เห็นว่า รัฐบาลยังไม่เหมาะสมที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 38.4 เห็นว่ามีความเหมาะสมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีเพียงร้อยละ 4.7 ไม่แสดงความคิดเห็น ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ประชาชนร้อยละ 49.8 เห็นด้วยกับการลงประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่าไม่เห็นด้วย (ร้อยละ 47.2) มีเพียงร้อยละ 3.1 ไม่แสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้ ยังพบว่า ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ควรแก้ไขมาตราต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ 50 ในทุกมาตรา และเรียงตามลำดับที่ไม่ควรแก้ไขมากที่สุด ได้แก่ มาตรา 237 (ร้อยละ 63.7) มาตรา 309 (ร้อยละ 57.8) มาตรา 265 (ร้อยละ 56.4) มาตรา 266 (ร้อยละ 51.6) มาตรา 261 (ร้อยละ 49.0) และมาตรา 190 (ร้อยละ 45.3)
ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความวุ่นวายของคน ในสังคมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ประชาชนร้อยละ 39.7 เห็นว่า จะมีความวุ่นวายในระดับปานกลาง ร้อยละ 36.7 เห็นว่าวุ่นวายในระดับมากถึงมากที่สุด และ ร้อยละ 23.6 เห็นว่า วุ่นวายน้อยถึงน้อยที่สุด
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารประเทศของรัฐบาลสมัคร ที่นำไปสู่ความวุ่นวายภายในประเทศ พบว่า การบริหารด้วยการที่คณะรัฐมนตรีบางคนและนายกรัฐมนตรีตอบโต้ข่าวผ่านสื่อมวลชนรายวัน เป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความวุ่นวายภายในประเทศ มากที่สุด (ร้อยละ 54.1) รองลงมา คือเหตุการณ์การแทรกแซงและตัดตอนกระบวนการยุติธรรม การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน และการยกเลิกผลสอบคดีทุจริต พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร คิดเป็นร้อยละ 48.0 47.1 41.8 34.7 ตามลำดับ
ส่วนนโยบายที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลช่วยประชาชนในการแก้ปัญหาต่างๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 81.5 ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน มากที่สุด รองลงมา คือ ปัญหาการป้องกันและปราบปรามยาเสพย์ติด ความสมานฉันท์ของคนในสังคม และปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 65.2 58.5 และ 37.0 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ประชาชนในภาคใต้ยังมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่น ต้องการให้รัฐบาลรักษากระบวนการยุติธรรมในคดีต่างๆ ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหากับประชาชนก่อน เช่น ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้รัฐบาลควรทำงานโดยไม่หวังผลประโยชน์ส่วนตัว และผลประโยชน์ทางการเมือง
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับวิกฤตการเมืองกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,100 ตัวอย่าง ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม 2551
โดยผลการสำรวจในประเด็นการยุบพรรคการเมือง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.7 เห็นด้วยกับมติของที่ปรึกษา กกต.เกี่ยวกับการยุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และร้อยละ 43.3 ไม่เห็นด้วยกับมติของที่ปรึกษา กกต.เกี่ยวกับการยุบพรรค 2 พรรคดังกล่าว มีเพียงร้อยละ 1.0 ไม่แสดงความคิดเห็น
ส่วนความคิดเห็นคดีของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช เกี่ยวกับการยุบพรรคพลังประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.3 เห็นว่า คดีไม่สามารถนำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชนได้ ร้อยละ 34.8 เห็นว่า คดีสามารถนำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชนได้ มีเพียงร้อยละ 1.8 ไม่แสดงความคิดเห็น
จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า ประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 52.3 เห็นว่าเป็นการแก้ไขเพื่อให้พ้นความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ที่กำลังอยู่ในการพิจารณาของ กกต.และศาล และร้อยละ 44.2 เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยวกับความผิดที่เกิดจากการเลือกตั้ง มีเพียงร้อยละ 3.5 ไม่แสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้ ในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ประชาชนร้อยละ 56.9 เห็นว่า รัฐบาลยังไม่เหมาะสมที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 38.4 เห็นว่ามีความเหมาะสมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีเพียงร้อยละ 4.7 ไม่แสดงความคิดเห็น ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ประชาชนร้อยละ 49.8 เห็นด้วยกับการลงประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่าไม่เห็นด้วย (ร้อยละ 47.2) มีเพียงร้อยละ 3.1 ไม่แสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้ ยังพบว่า ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ควรแก้ไขมาตราต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ 50 ในทุกมาตรา และเรียงตามลำดับที่ไม่ควรแก้ไขมากที่สุด ได้แก่ มาตรา 237 (ร้อยละ 63.7) มาตรา 309 (ร้อยละ 57.8) มาตรา 265 (ร้อยละ 56.4) มาตรา 266 (ร้อยละ 51.6) มาตรา 261 (ร้อยละ 49.0) และมาตรา 190 (ร้อยละ 45.3)
ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความวุ่นวายของคน ในสังคมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ประชาชนร้อยละ 39.7 เห็นว่า จะมีความวุ่นวายในระดับปานกลาง ร้อยละ 36.7 เห็นว่าวุ่นวายในระดับมากถึงมากที่สุด และ ร้อยละ 23.6 เห็นว่า วุ่นวายน้อยถึงน้อยที่สุด
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารประเทศของรัฐบาลสมัคร ที่นำไปสู่ความวุ่นวายภายในประเทศ พบว่า การบริหารด้วยการที่คณะรัฐมนตรีบางคนและนายกรัฐมนตรีตอบโต้ข่าวผ่านสื่อมวลชนรายวัน เป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความวุ่นวายภายในประเทศ มากที่สุด (ร้อยละ 54.1) รองลงมา คือเหตุการณ์การแทรกแซงและตัดตอนกระบวนการยุติธรรม การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน และการยกเลิกผลสอบคดีทุจริต พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร คิดเป็นร้อยละ 48.0 47.1 41.8 34.7 ตามลำดับ
ส่วนนโยบายที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลช่วยประชาชนในการแก้ปัญหาต่างๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 81.5 ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน มากที่สุด รองลงมา คือ ปัญหาการป้องกันและปราบปรามยาเสพย์ติด ความสมานฉันท์ของคนในสังคม และปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 65.2 58.5 และ 37.0 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ประชาชนในภาคใต้ยังมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่น ต้องการให้รัฐบาลรักษากระบวนการยุติธรรมในคดีต่างๆ ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหากับประชาชนก่อน เช่น ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้รัฐบาลควรทำงานโดยไม่หวังผลประโยชน์ส่วนตัว และผลประโยชน์ทางการเมือง