พัทลุง – วิสาหกิจชุมชนพัทลุงได้เฮ หลังสรรพากรชี้แจง กรณีให้มีการยกเว้นภาษีกับผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 1.2 ล้านบาท
นายประสงค์ พูนธเนศ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการจัดเก็บภาษี กรมสรรพากร เปิดเผยว่า จากพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2548 ทำให้วิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้จนถึงปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 50,000 แห่งทั่วประเทศ
โดยเกษตรอำเภอทั่วประเทศเป็นนายทะเบียน กรมสรรพากรในฐานะผู้จัดเก็บภาษีเงินได้ ได้มีมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน โดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่วิสาหกิจชุมชนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 ที่มีเงินได้ไม่เกิน 1 ล้าน 2 แสนบาทต่อปี
นางยุพา อินทราเวช ผู้อำนวยการส่วนกิจการและการประชุมคณะกรรมการ กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้วิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในระยะเริ่มต้น และครอบคลุมกิจการหลากหลายประเภท ทั้งการผลิตสินค้าและบริการ โดยการดำเนินกิจการเน้นความร่วมมือกัน เพื่อการพึ่งพาตนเองในระดับครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชนหรือเครือข่าย มิใช่มุ่งเน้นที่ผลกำไรจากการประกอบกิจการเพียงอย่างเดียว
การจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน จึงเป็นเพียงการรับรองการประกอบกิจการในลักษณะวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้มีสิทธิในการได้รับการสนับสนุนส่งเสริมตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีผลทำให้เกิดสถานะความเป็นนิติบุคคล แยกออกมาต่างหากเช่นเดียวกับสหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกร ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่จึงยังมีรายได้น้อย ส่วนวิสาหกิจชุมชนที่มีรายได้มากกว่า 1,200,000 บาท ก็ต้องจ่ายภาษีสรรพากรให้ถูกต้องต่อไป
นายประสงค์ พูนธเนศ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการจัดเก็บภาษี กรมสรรพากร เปิดเผยว่า จากพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2548 ทำให้วิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้จนถึงปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 50,000 แห่งทั่วประเทศ
โดยเกษตรอำเภอทั่วประเทศเป็นนายทะเบียน กรมสรรพากรในฐานะผู้จัดเก็บภาษีเงินได้ ได้มีมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน โดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่วิสาหกิจชุมชนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 ที่มีเงินได้ไม่เกิน 1 ล้าน 2 แสนบาทต่อปี
นางยุพา อินทราเวช ผู้อำนวยการส่วนกิจการและการประชุมคณะกรรมการ กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้วิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในระยะเริ่มต้น และครอบคลุมกิจการหลากหลายประเภท ทั้งการผลิตสินค้าและบริการ โดยการดำเนินกิจการเน้นความร่วมมือกัน เพื่อการพึ่งพาตนเองในระดับครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชนหรือเครือข่าย มิใช่มุ่งเน้นที่ผลกำไรจากการประกอบกิจการเพียงอย่างเดียว
การจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน จึงเป็นเพียงการรับรองการประกอบกิจการในลักษณะวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้มีสิทธิในการได้รับการสนับสนุนส่งเสริมตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีผลทำให้เกิดสถานะความเป็นนิติบุคคล แยกออกมาต่างหากเช่นเดียวกับสหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกร ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่จึงยังมีรายได้น้อย ส่วนวิสาหกิจชุมชนที่มีรายได้มากกว่า 1,200,000 บาท ก็ต้องจ่ายภาษีสรรพากรให้ถูกต้องต่อไป