ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ประธานกลุ่มเรือประมงอวนลากเล็ก ระบุเรือประมงขนาดเล็กหยุดทำการประมงไปแล้วกว่า 50% และยอมจมเรือนำเครื่องยนต์ถอดขายเป็นเศษเหล็ก หลังประสบปัญหาขาดทุนจากราคาน้ำมันแพง วอนรัฐช่วยเจรจาโรงงานผลิตอาหารสัตว์ปรับราคาปลาเป็ดขึ้นจากเดิม กก.3.40 บาท เป็น 4-5 บาท
นายไสว เจยาคม ประธานกลุ่มเรือประมงอวนลากเล็กสะพานไม้ ท่าเทียบเรือประมงสงขลา กล่าวว่า ขณะนี้เรือประมงขนาดเล็กในจังหวัดสงขลากว่า 50% จอดไปแล้ว เนื่องจากสู้ราคาน้ำมันแพงไม่ไหว บางส่วนยอมเลิกอาชีพและจมเรือทิ้งโดยถอดเครื่องยนต์ขายเป็นเศษเหล็ก เจ้าของเรือประมงที่ยังสู้ต่อต้องจำใจออกไปทำการประมง เนื่องจากหยุดไม่ได้ เพราะเรือลำหนึ่งมีหลายชีวิตหลายครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ โดยเฉพาะลูกเรือที่ต้องหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานแทนคนไทย จะต้องเลี้ยงพวกเขา ไม่ให้อดตาย
จึงขอวอนรัฐบาลหากจะช่วยให้เรือประมงขนาดเล็กอยู่รอด ขอให้ช่วยเจรจากับทางบริษัทในเครือซีพีอาหารสัตว์ที่รับซื้อปลาเป็ดไปผลิตปลาป่นจากชาวประมงให้ปรับราคาจากเดิมกก.ละ 3 บาท 40 สตางค์ ตั้งแต่ราคาน้ำมันลิตรละ 14 บาท จนปัจจุบันนี้น้ำมันลิตรละ 30 กว่าบาท ราคาปลาเป็ดก็ยังคงราคา กก.ละ 3 บาท 40 สตางค์ เท่าเดิม โดยขอให้ปรับขึ้นเป็น กก.ละ 4-5 บาท จะช่วยเหลือชาวประมงขนาดเล็กได้
ทั้งนี้ เนื่องจากชาวประมงขนาดเล็กไม่สามารถออกไปเติมน้ำมันเขียวแท๊งเกอร์กลางทะเลได้ ต้องเติมน้ำมันบนฝั่งลิตรละกว่า 30 บาท หากจับปลาเข้ามาขายเป็นปลาเป็ด กก.ละ 3 บาท 40 สตางค์ ก็อยู่ไม่ได้ ยอมรับว่า ราคาน้ำมันเป็นกลไกของตลาดโลก รัฐบาลเองก็ต้องทำให้ราคาเป็นไปตามราคาน้ำมันที่เขากำหนดมา เนื่องจากไม่ได้ผลิตเอง แต่ที่รัฐบาลจะทำได้ก็คือช่วยในเรื่องการเจรจากับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ที่มีการผูกขาดเพียงบริษัทเดียวคือในเครือซีพี เนื่องจากมีความสนิทสนมกับทางรัฐบาลด้วย
นายไสว เจยาคม ประธานกลุ่มเรือประมงอวนลากเล็กสะพานไม้ ท่าเทียบเรือประมงสงขลา กล่าวว่า ขณะนี้เรือประมงขนาดเล็กในจังหวัดสงขลากว่า 50% จอดไปแล้ว เนื่องจากสู้ราคาน้ำมันแพงไม่ไหว บางส่วนยอมเลิกอาชีพและจมเรือทิ้งโดยถอดเครื่องยนต์ขายเป็นเศษเหล็ก เจ้าของเรือประมงที่ยังสู้ต่อต้องจำใจออกไปทำการประมง เนื่องจากหยุดไม่ได้ เพราะเรือลำหนึ่งมีหลายชีวิตหลายครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ โดยเฉพาะลูกเรือที่ต้องหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานแทนคนไทย จะต้องเลี้ยงพวกเขา ไม่ให้อดตาย
จึงขอวอนรัฐบาลหากจะช่วยให้เรือประมงขนาดเล็กอยู่รอด ขอให้ช่วยเจรจากับทางบริษัทในเครือซีพีอาหารสัตว์ที่รับซื้อปลาเป็ดไปผลิตปลาป่นจากชาวประมงให้ปรับราคาจากเดิมกก.ละ 3 บาท 40 สตางค์ ตั้งแต่ราคาน้ำมันลิตรละ 14 บาท จนปัจจุบันนี้น้ำมันลิตรละ 30 กว่าบาท ราคาปลาเป็ดก็ยังคงราคา กก.ละ 3 บาท 40 สตางค์ เท่าเดิม โดยขอให้ปรับขึ้นเป็น กก.ละ 4-5 บาท จะช่วยเหลือชาวประมงขนาดเล็กได้
ทั้งนี้ เนื่องจากชาวประมงขนาดเล็กไม่สามารถออกไปเติมน้ำมันเขียวแท๊งเกอร์กลางทะเลได้ ต้องเติมน้ำมันบนฝั่งลิตรละกว่า 30 บาท หากจับปลาเข้ามาขายเป็นปลาเป็ด กก.ละ 3 บาท 40 สตางค์ ก็อยู่ไม่ได้ ยอมรับว่า ราคาน้ำมันเป็นกลไกของตลาดโลก รัฐบาลเองก็ต้องทำให้ราคาเป็นไปตามราคาน้ำมันที่เขากำหนดมา เนื่องจากไม่ได้ผลิตเอง แต่ที่รัฐบาลจะทำได้ก็คือช่วยในเรื่องการเจรจากับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ที่มีการผูกขาดเพียงบริษัทเดียวคือในเครือซีพี เนื่องจากมีความสนิทสนมกับทางรัฐบาลด้วย