ระนอง - จังหวัดระนองนำผู้ทรงคุณวุฒิจากจุฬาราชมนตรี ทำความเข้าใจกับชาวไทยมุสลิมเกี่ยวกับปัญหาปัญหาชายแดนใต้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามไปสู่พื้นที่อื่น
วันนี้ (7 มี.ค.) ที่ อ.กะเปอร์ จ.ระนอง ศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้านในพระบรมราชานุเคราะห์ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 และโรงงานยาสูบกระทรวงการคลัง ร่วมจัดโครงการเสริมสร้างหลักการทางศาสนาที่ถูกต้องให้กับชาวไทยมุสลิมที่มัสยิดนุรุสเอี๊ยะซาน ม.4 บ.อ่าวเคย ต.ม่วงกลวง 120 คน และที่มัสยิดบ้านบางหิน ต.กะเปอร์ อีก 100 คน โดยมี ผศ.ดร.นิรันทร์ พันทรกิจ อดีต ผอ.สำนักจุฬาราชมนตรี แลผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักจุฬาราชมนตรี พร้อมด้วยนายอาลี เสือสมิง ครูใหญ่ โรงเรียนสอนศาสนจาก กทม.และวิทยากรหลักสูตรของ ศอ.บต.เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับหลักศาสนาที่ถูกต้อง และแนวทางการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้
ผศ.ดร.นิรันทร์ กล่าวว่า ปัญหาไฟใต้สิ่งที่เราต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้มี 2 ข้อใหญ่ ที่ภาครัฐจะต้องทำความเข้าใจและแก้ปัญหาให้ถูก ไม่ใช่ใช้แต่เรื่องกำลังเพียงอย่างเดียว คือ
1.เรื่องความไม่เข้าใจของคนในพื้นที่ หรือเรียกว่า โรคความคลั่งไคล้มลายู ความไม่เข้าใจในเรื่องศาสนา และ เรื่องประวัติศาสตร์ที่มีการอ้างอิงอย่างบิดเบือน ทั้ง 3 ข้อผู้ก่อการเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้หลงผิดเกิดความฮึกเหิมในการทำงานก่อเหตุร้ายรายวัน
2.ความไม่เท่าเทียมหรือของแสลง คือ เรื่องความยุติธรรมที่ผู้ก่อการใช้เป็นเหตุผลอ้างว่าไม่ได้รับความยุติธรรมจากการปฏิบัติงานจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ด้านการพัฒนา ที่กลุ่มผู้ก่อการนำมาเป็นข้อแม้ว่าพื้นที่ชายแดนใต้ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับพื้นที่อื่น เช่น เรื่องระบบสาธารณูปโภค การสาธารณสุข และประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมจริงๆ กับการทำงานร่วมกับคนจากภาครัฐ ซึ่งปัญหาทุกข้อที่กล่าวมานี้ตนได้เสนอให้ภาครัฐ ได้นำไปแก้ไข
เนื่องจากที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐไม่เข้าถึงปัญหาเหล่านี้แต่เป็นการต่างหน่วยต่างทำ ไม่มีการปรึกษากัน แม้แต่พี่น้องที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้ ก็ควรรับทราบปัญหาข้อเท็จจริงเหล่านี้ เพราะรับฟังจากข่าวสารจากทางสื่อเพียงอย่างเดียวไม่พอ เมื่อฟังจนเข้าใจแล้วควรนำไปสอนลูกหลานในชุมชนด้วย
นายกะเส็ม อินตัน โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดนุรุสเอี๊ยะซาน กล่าวว่า จะได้นำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปทำความเข้าใจกับคนที่ไม่ได้มารับฟัง และจะนำเรื่องดังกล่าวไปสอนและทำความเข้าใจกับเด็กๆ ที่มาเรียนศาสนาที่มัสยิดได้เข้าใจ นอกจากนั้นจะให้คนในชุมชนได้นำเรื่องดังกล่าวไปสอนกับบุตรหลานที่ไปเรียนหนังสืออยู่ที่ชายแดนใต้ได้เข้าใจ เพื่อไม่ให้หลงผิดไปกับคำชวนจากกลุ่มผู้ก่อการความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ด้วย
วันนี้ (7 มี.ค.) ที่ อ.กะเปอร์ จ.ระนอง ศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้านในพระบรมราชานุเคราะห์ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 และโรงงานยาสูบกระทรวงการคลัง ร่วมจัดโครงการเสริมสร้างหลักการทางศาสนาที่ถูกต้องให้กับชาวไทยมุสลิมที่มัสยิดนุรุสเอี๊ยะซาน ม.4 บ.อ่าวเคย ต.ม่วงกลวง 120 คน และที่มัสยิดบ้านบางหิน ต.กะเปอร์ อีก 100 คน โดยมี ผศ.ดร.นิรันทร์ พันทรกิจ อดีต ผอ.สำนักจุฬาราชมนตรี แลผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักจุฬาราชมนตรี พร้อมด้วยนายอาลี เสือสมิง ครูใหญ่ โรงเรียนสอนศาสนจาก กทม.และวิทยากรหลักสูตรของ ศอ.บต.เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับหลักศาสนาที่ถูกต้อง และแนวทางการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้
ผศ.ดร.นิรันทร์ กล่าวว่า ปัญหาไฟใต้สิ่งที่เราต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้มี 2 ข้อใหญ่ ที่ภาครัฐจะต้องทำความเข้าใจและแก้ปัญหาให้ถูก ไม่ใช่ใช้แต่เรื่องกำลังเพียงอย่างเดียว คือ
1.เรื่องความไม่เข้าใจของคนในพื้นที่ หรือเรียกว่า โรคความคลั่งไคล้มลายู ความไม่เข้าใจในเรื่องศาสนา และ เรื่องประวัติศาสตร์ที่มีการอ้างอิงอย่างบิดเบือน ทั้ง 3 ข้อผู้ก่อการเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้หลงผิดเกิดความฮึกเหิมในการทำงานก่อเหตุร้ายรายวัน
2.ความไม่เท่าเทียมหรือของแสลง คือ เรื่องความยุติธรรมที่ผู้ก่อการใช้เป็นเหตุผลอ้างว่าไม่ได้รับความยุติธรรมจากการปฏิบัติงานจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ด้านการพัฒนา ที่กลุ่มผู้ก่อการนำมาเป็นข้อแม้ว่าพื้นที่ชายแดนใต้ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับพื้นที่อื่น เช่น เรื่องระบบสาธารณูปโภค การสาธารณสุข และประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมจริงๆ กับการทำงานร่วมกับคนจากภาครัฐ ซึ่งปัญหาทุกข้อที่กล่าวมานี้ตนได้เสนอให้ภาครัฐ ได้นำไปแก้ไข
เนื่องจากที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐไม่เข้าถึงปัญหาเหล่านี้แต่เป็นการต่างหน่วยต่างทำ ไม่มีการปรึกษากัน แม้แต่พี่น้องที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้ ก็ควรรับทราบปัญหาข้อเท็จจริงเหล่านี้ เพราะรับฟังจากข่าวสารจากทางสื่อเพียงอย่างเดียวไม่พอ เมื่อฟังจนเข้าใจแล้วควรนำไปสอนลูกหลานในชุมชนด้วย
นายกะเส็ม อินตัน โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดนุรุสเอี๊ยะซาน กล่าวว่า จะได้นำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปทำความเข้าใจกับคนที่ไม่ได้มารับฟัง และจะนำเรื่องดังกล่าวไปสอนและทำความเข้าใจกับเด็กๆ ที่มาเรียนศาสนาที่มัสยิดได้เข้าใจ นอกจากนั้นจะให้คนในชุมชนได้นำเรื่องดังกล่าวไปสอนกับบุตรหลานที่ไปเรียนหนังสืออยู่ที่ชายแดนใต้ได้เข้าใจ เพื่อไม่ให้หลงผิดไปกับคำชวนจากกลุ่มผู้ก่อการความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ด้วย