นครศรีธรรมราช – รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชี้ รัฐเมินผลวิจัย ฟังแค่ความคิดคนเดียว วอนจัดสรรงบประมาณต่อยอดสร้างนวัตกรรมพัฒนาประเทศ
ที่ จ.นครศรีธรรมราช วันนี้ (6 มี.ค.) รศ.ดร.ศรปราชญ์ ธไนศวรรยางกูร รองอธิการบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงทิศทางการศึกษาวิจัยของประเทศไทย ว่า เวลาพูดถึงผลการวิจัยที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์มี 2 เรื่อง คือ 1.เรื่องที่เกี่ยวข้องกับระดับนโยบายในการตัดสินใจ ว่า ข้อมูลการวิจัยได้ถูกนำไปประกอบการตัดสินใจอย่างแท้จริงหรือเปล่า ถ้าถูกนำไปใช้จริง ก็จะสะท้อนให้เห็นว่างานวิจัยนั้นมีคุณค่า และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
ส่วนที่ 2 งานวิจัยที่เกิดขึ้นจากการที่นักวิจัย ได้ดำเนินการวิจัยจากความต้องการ และความจำเป็นของสังคม ก็ต้องยอมรับว่า นักวิจัยที่มีอยู่ในปัจจุบันเอง พยายามที่จะตอบโจทก์ของสังแต่ว่าบางเรื่องมันต้องเป็นการวิจัยระยะยาว เพราะฉะนั้นผลอาจจะไม่เห็นชัดเจนในการนำมาใช้ประโยชน์
ประการสำคัญที่มักจะพูดจากัน คือ รัฐบาลมีการลงทุนด้านการวิจัยอยู่ในเกณฑ์น้อยมาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เพราะว่าต่างประเทศจะใช้งบประมาณสัดส่วนที่สูง เพื่อไปทุ่มทุนในการสร้างนวัตกรรม และเอานวัตกรรม หรือองค์ความรู้นั้นมาสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
รัฐบาลเองถึงแม้ว่าจะมีการจัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่ก็ถูกนำไปใช้จ่ายในหลายๆ เรื่อง ซึ่งก็ถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยกับการวิจัยโดยแท้จริง และคาดหวังว่า ถ้ารัฐบาลพยายามผลักดันเรื่องการสนับสนุนด้านการวิจัยโดยใช้งบประมาณภาครัฐมากขึ้น ก็จะสามารถสร้างผลงานการวิจัยที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมได้มากยิ่งขึ้น และก็กระตุ้นให้นักวิจัยนำเสนอผลงาน ที่สามารถตอบสนองนโยบายเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างแท้จริง เมื่อฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ไม่ใช่อาศัยความรู้สึกหรือบุคคลบางคนเท่านั้น
รศ.ดร.ศรปราชญ์ ธไนศวรรยางกูร กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากนั้น ยังมองเห็นว่า ที่ผ่านมา การลงทุนของภาคเอกชนมีมากขึ้นทุกปี และก็เศรษฐกิจของเอกชนเป็นเรื่องที่ขับเคลื่อนประเทศเป็นจำนวนมากทั่งภาคผลิตอุตสาหกรรมและภาคบริการ แต่การลงทุนทางด้านการวิจัยภาคเอกชนยังมีอย่างจำกัดเฉพาะบางบริษัทบางกลุ่มภาคเอกชน ที่คิดว่าจำเป็นต้องการข้อมูลแต่ข้อมูลสนับสนุนไม่เพียงพอก็ได้มีการลงทุนเอง
ดังนั้น จึงอยากจะเชิญชวน หรือกระตุ้นให้นักวิจัยภาคเอกชน หรือตัวกลุ่มองค์กรภาคเอกชน ได้มีส่วนสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ ด้านวัตกรรมในประเทศไทยให้มากขึ้น เพราะฉะนั้นการลงทุนด้านการวิจัยภาคเอกชนคาดหวังว่าอยากให้มีมากขึ้น เพื่อจะได้มาเป็นพลังเสริมในการทำงานวิจัยให้กับประเทศ และก็เอาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์โดยแท้จริง ไม่ใช่เพียงแต่ว่าทำเสร็จออกมาแล้วเป็นชิ้นงาน หรือจะนำไปแค่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของนักวิชาการจะต้องเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
รศ.ดร.ศรปราชญ์ ธไนศวรรยางกูร กล่าวอีกว่า ประการหนึ่ง ต้องย้ำว่า ในขณะนี้สิ่งที่มองเห็นก็คือว่างานวิจัยมักจะเกิดขึ้นจากส่วนกลางเป็นหลัก แต่ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฉบับปัจจุบัน พ.ศ.2551-2553 เกิดขึ้นจากการที่ท้องถิ่นได้มีส่วนร่วม ในการหยิบยกโจทก์วิจัยถือว่าเป็นครั้งแรกของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ที่ได้ผลักดันเรื่องนี้ขึ้นมาใช้เวลาในการดำเนินการมากว่า 3 ปีตามภูมิภาคต่างๆ ที่ให้มีการประมวลว่า การคิดโจทก์หรือประเด็นที่ต้องการข้อมูลด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาท้องถิ่นละก็นำขึ้นมาสู่กระบวนการหล่อหลอมรวมเป็นภาพรวมของประเทศและนำไปใช้ในปัจจุบัน
รองอธิการบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังแสดงความเห็นต่อนโยบายประชานิยม ว่า คำว่าประชานิยมมีความเข้าใจตรงกันแค่ไหน สิ่งที่เรียกว่าประชานิยมโดยตีความทั่วไป แปลว่า เป็นสิ่งที่เป็นความต้องการมีความจำเป็น ที่ประชาชนต้องการ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็มองได้ 2 ลักษณะ
ลักษณะ 1 คือ ความต้องการระยะสั้น หมายถึงว่า ขณะที่ขับเคลื่อนไปอาจจะต้องการความรู้ระยะสั้น เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะเรื่องหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะกิจหรือเฉพาะหน้าบางอย่างถ้าเป็นลักษณะอย่างนั้น ก็ต้องนำองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จากสิ่งที่เป็นผลงานวิจัยเดิมก็ดีแม้แต่วิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาเอามาสังเคราะห์ และหยิบยกกลั่นกรองเรื่องนี้นำมาเสนอและนำไปใช้ประโยชน์โดยเร่งด่วนก็ได้ เพราะว่าไม่ได้เริ่มจากศูนย์ทั้งสิ้น
ขณะเดียวกัน สิ่งที่มีความจำเป็นระยะยาว ก็อาจจะเป็นความต้องการของประชาชนที่เรียกว่าประชานิยมได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นต้องมองวิเคราะห์ว่า เป็นเรื่องอะไรและมีข้อมูลหรือยังและข้อมูลที่มีอยู่ถูกนำไปใช้จริงหรือเปล่า และใครเป็นหน่วยงานที่จะต้องสังเคราะห์เรื่องเหล่านั้น เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจและผู้บริหารระดับสูงเองให้ความสำคัญหรือไม่กับการที่จะได้ข้อมูลนี้มา
นอกจากนี้ คิดว่า ระดับนโยบายที่ผ่านมาโดยตลอดก็รับฟังเพียงแต่ว่าเมื่อหลายเรื่องรับฟังแล้วได้นำไปปฏิบัติหรือเปล่า หรือเอาไปสู่กระบวนการว่าเป็นปัจจุบันหรือไม่ กับการใช้ในการประกอบการตัดสินใจ ณ สถานการณ์ขณะนั้นและปัจจัยแวดล้อมขณะนั้น เพราะว่าบางผลงานวิจัยอาจจะไม่ได้รับการปรับให้ต่อเนื่องมาโดยตลอด อาจจะมาจากข้อจำกัดในการวิจัยงบประมาณหรือบุคลากรด้านการวิจัยก็แล้ว แต่นั้นหมายถึงว่าก็ต้องวางกลไกให้ชัดเจนว่า ถ้าผลงานวิจัยถูกนำไปใช้โดยแท้จริงเป็นรูปธรรม นั่นก็สามารถสะท้อนให้เห็นว่าสังคมได้อะไรจากการวิจัย
ที่ จ.นครศรีธรรมราช วันนี้ (6 มี.ค.) รศ.ดร.ศรปราชญ์ ธไนศวรรยางกูร รองอธิการบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงทิศทางการศึกษาวิจัยของประเทศไทย ว่า เวลาพูดถึงผลการวิจัยที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์มี 2 เรื่อง คือ 1.เรื่องที่เกี่ยวข้องกับระดับนโยบายในการตัดสินใจ ว่า ข้อมูลการวิจัยได้ถูกนำไปประกอบการตัดสินใจอย่างแท้จริงหรือเปล่า ถ้าถูกนำไปใช้จริง ก็จะสะท้อนให้เห็นว่างานวิจัยนั้นมีคุณค่า และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
ส่วนที่ 2 งานวิจัยที่เกิดขึ้นจากการที่นักวิจัย ได้ดำเนินการวิจัยจากความต้องการ และความจำเป็นของสังคม ก็ต้องยอมรับว่า นักวิจัยที่มีอยู่ในปัจจุบันเอง พยายามที่จะตอบโจทก์ของสังแต่ว่าบางเรื่องมันต้องเป็นการวิจัยระยะยาว เพราะฉะนั้นผลอาจจะไม่เห็นชัดเจนในการนำมาใช้ประโยชน์
ประการสำคัญที่มักจะพูดจากัน คือ รัฐบาลมีการลงทุนด้านการวิจัยอยู่ในเกณฑ์น้อยมาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เพราะว่าต่างประเทศจะใช้งบประมาณสัดส่วนที่สูง เพื่อไปทุ่มทุนในการสร้างนวัตกรรม และเอานวัตกรรม หรือองค์ความรู้นั้นมาสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
รัฐบาลเองถึงแม้ว่าจะมีการจัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่ก็ถูกนำไปใช้จ่ายในหลายๆ เรื่อง ซึ่งก็ถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยกับการวิจัยโดยแท้จริง และคาดหวังว่า ถ้ารัฐบาลพยายามผลักดันเรื่องการสนับสนุนด้านการวิจัยโดยใช้งบประมาณภาครัฐมากขึ้น ก็จะสามารถสร้างผลงานการวิจัยที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมได้มากยิ่งขึ้น และก็กระตุ้นให้นักวิจัยนำเสนอผลงาน ที่สามารถตอบสนองนโยบายเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างแท้จริง เมื่อฐานข้อมูลเชิงวิเคราะห์ไม่ใช่อาศัยความรู้สึกหรือบุคคลบางคนเท่านั้น
รศ.ดร.ศรปราชญ์ ธไนศวรรยางกูร กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากนั้น ยังมองเห็นว่า ที่ผ่านมา การลงทุนของภาคเอกชนมีมากขึ้นทุกปี และก็เศรษฐกิจของเอกชนเป็นเรื่องที่ขับเคลื่อนประเทศเป็นจำนวนมากทั่งภาคผลิตอุตสาหกรรมและภาคบริการ แต่การลงทุนทางด้านการวิจัยภาคเอกชนยังมีอย่างจำกัดเฉพาะบางบริษัทบางกลุ่มภาคเอกชน ที่คิดว่าจำเป็นต้องการข้อมูลแต่ข้อมูลสนับสนุนไม่เพียงพอก็ได้มีการลงทุนเอง
ดังนั้น จึงอยากจะเชิญชวน หรือกระตุ้นให้นักวิจัยภาคเอกชน หรือตัวกลุ่มองค์กรภาคเอกชน ได้มีส่วนสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ ด้านวัตกรรมในประเทศไทยให้มากขึ้น เพราะฉะนั้นการลงทุนด้านการวิจัยภาคเอกชนคาดหวังว่าอยากให้มีมากขึ้น เพื่อจะได้มาเป็นพลังเสริมในการทำงานวิจัยให้กับประเทศ และก็เอาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์โดยแท้จริง ไม่ใช่เพียงแต่ว่าทำเสร็จออกมาแล้วเป็นชิ้นงาน หรือจะนำไปแค่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของนักวิชาการจะต้องเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์
รศ.ดร.ศรปราชญ์ ธไนศวรรยางกูร กล่าวอีกว่า ประการหนึ่ง ต้องย้ำว่า ในขณะนี้สิ่งที่มองเห็นก็คือว่างานวิจัยมักจะเกิดขึ้นจากส่วนกลางเป็นหลัก แต่ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติฉบับปัจจุบัน พ.ศ.2551-2553 เกิดขึ้นจากการที่ท้องถิ่นได้มีส่วนร่วม ในการหยิบยกโจทก์วิจัยถือว่าเป็นครั้งแรกของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ที่ได้ผลักดันเรื่องนี้ขึ้นมาใช้เวลาในการดำเนินการมากว่า 3 ปีตามภูมิภาคต่างๆ ที่ให้มีการประมวลว่า การคิดโจทก์หรือประเด็นที่ต้องการข้อมูลด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาท้องถิ่นละก็นำขึ้นมาสู่กระบวนการหล่อหลอมรวมเป็นภาพรวมของประเทศและนำไปใช้ในปัจจุบัน
รองอธิการบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังแสดงความเห็นต่อนโยบายประชานิยม ว่า คำว่าประชานิยมมีความเข้าใจตรงกันแค่ไหน สิ่งที่เรียกว่าประชานิยมโดยตีความทั่วไป แปลว่า เป็นสิ่งที่เป็นความต้องการมีความจำเป็น ที่ประชาชนต้องการ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็มองได้ 2 ลักษณะ
ลักษณะ 1 คือ ความต้องการระยะสั้น หมายถึงว่า ขณะที่ขับเคลื่อนไปอาจจะต้องการความรู้ระยะสั้น เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะเรื่องหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะกิจหรือเฉพาะหน้าบางอย่างถ้าเป็นลักษณะอย่างนั้น ก็ต้องนำองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จากสิ่งที่เป็นผลงานวิจัยเดิมก็ดีแม้แต่วิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาเอามาสังเคราะห์ และหยิบยกกลั่นกรองเรื่องนี้นำมาเสนอและนำไปใช้ประโยชน์โดยเร่งด่วนก็ได้ เพราะว่าไม่ได้เริ่มจากศูนย์ทั้งสิ้น
ขณะเดียวกัน สิ่งที่มีความจำเป็นระยะยาว ก็อาจจะเป็นความต้องการของประชาชนที่เรียกว่าประชานิยมได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นต้องมองวิเคราะห์ว่า เป็นเรื่องอะไรและมีข้อมูลหรือยังและข้อมูลที่มีอยู่ถูกนำไปใช้จริงหรือเปล่า และใครเป็นหน่วยงานที่จะต้องสังเคราะห์เรื่องเหล่านั้น เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจและผู้บริหารระดับสูงเองให้ความสำคัญหรือไม่กับการที่จะได้ข้อมูลนี้มา
นอกจากนี้ คิดว่า ระดับนโยบายที่ผ่านมาโดยตลอดก็รับฟังเพียงแต่ว่าเมื่อหลายเรื่องรับฟังแล้วได้นำไปปฏิบัติหรือเปล่า หรือเอาไปสู่กระบวนการว่าเป็นปัจจุบันหรือไม่ กับการใช้ในการประกอบการตัดสินใจ ณ สถานการณ์ขณะนั้นและปัจจัยแวดล้อมขณะนั้น เพราะว่าบางผลงานวิจัยอาจจะไม่ได้รับการปรับให้ต่อเนื่องมาโดยตลอด อาจจะมาจากข้อจำกัดในการวิจัยงบประมาณหรือบุคลากรด้านการวิจัยก็แล้ว แต่นั้นหมายถึงว่าก็ต้องวางกลไกให้ชัดเจนว่า ถ้าผลงานวิจัยถูกนำไปใช้โดยแท้จริงเป็นรูปธรรม นั่นก็สามารถสะท้อนให้เห็นว่าสังคมได้อะไรจากการวิจัย