ศูนย์ข่าวภูเก็ต- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้ความรู้ผู้ประกอบการในภูเก็ตป้องกันโรคลีเจียนแนร์ สร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยว
วันนี้ (15 ก.พ.) ที่ห้องประชุมโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรม โครงการรับรองความปลอดภัยจากเชื้อลีจิโอเนลลา ในสถานประกอบการจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจัดโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภูเก็ต โดยมีตัวแทนจากสถานประกอบการในจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมจำนวน 50 แห่ง และนักวิชาการ รวมจำนวน 100 คน ว่า
การจัดสัมมนาครั้งนี้เพื่อเป็นการเฝ้าระวังควบคุม และป้องกันสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการให้ปลอดภัยจากเชื้อลีจิโอเนลลา และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการได้เห็นความสำคัญ และมีความตระหนัก ในการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีโรคลีเจียนแนร์ในนักท่องเที่ยว หลังจากกลับจากการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และสนับสนุนการท่องเที่ยว รวมทั้งนักท่องเที่ยวมีความมั่นใจ ในความปลอดภัยจากโรคลีเจียนแนร์เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมานั้นมีนักท่องเที่ยวที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวหลังจากเข้าพักที่โรงแรมในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมาแล้ว
นายแพทย์มานิต กล่าวว่า โรคลีเจียนเนลโลลิส เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลา นิวโมฟิวลา เรียกว่าโรคลีเจียนแนร์ พบได้ในแหล่งน้ำทั่วไป แต่เพิ่มจำนวนและเจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำนิ่งที่มีอุณหภูมิ 20-50 องศาเซลเซียส เชื้อสามารถแพร่กระจายเป็นละอองน้ำฝอยโดยลม ผู้ป่วยจึงได้รับเชื้อจากการสูดหายใจเอาละอองน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป
ละอองน้ำเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากหอผึ่งเย็น ระบบระบายน้ำ ระบบระบายน้ำความร้อนแบบแอร์รวม เครื่องทำน้ำร้อน ถังเก็บน้ำร้อน ระบบน้ำร้อน ถังเก็บน้ำ ระบบการกระจายน้ำ เช่น น้ำพุ น้ำพุประดับ ฝักบัวอาบน้ำ ปริงเกอร์ เป็นต้น
เชื้อดังกล่าวพบได้ในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ แต่ส่วนใหญ่พบในวัยกลางคน ตลอดจนผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มสุรา ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคไตวาย เบาหวาน เอดส์ รวมถึงผู้ที่ต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน จัดเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ โดยใช้มาตรการบำรุงรักษาความสะอาดของแหล่งที่น่าจะเป็นรังโรค รวมทั้งการทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ รักษาอุณหภูมิของน้ำ การใส่สารชีวฆาต เพื่อยังยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้รักษาความสะอาดระบบน้ำร้อน น้ำเย็นและรักษาระดับอุณหภูมิน้ำร้อนที่ 60 องศาเซลเซียส และน้ำเย็นต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส
นายแพทย์มานิต กล่าวว่า จึงอยากให้ผู้ประกอบการโรงแรม โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า และหน่วยงานที่มีอาคารสูงขนาดใหญ่ ตระหนักถึงการเฝ้าระวังเชื้อลีจิเนลลา โดยการบำรุงรักษา และทำความสะอาดแหล่งที่มีโอกาสพบเชื้อในอาคารตามระยะที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ และเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
“สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการและผ่านการประเมินตามข้อกำหนดจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองความปลอดภัยจากเชื้อลีจิโอเนลลา พร้อมเครื่องหมายรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว พร้อมทั้งเป็นการยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และความน่าเชื่อถือของประเทศ” นายแพทย์มานิต กล่าว
วันนี้ (15 ก.พ.) ที่ห้องประชุมโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรม โครงการรับรองความปลอดภัยจากเชื้อลีจิโอเนลลา ในสถานประกอบการจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจัดโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภูเก็ต โดยมีตัวแทนจากสถานประกอบการในจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมจำนวน 50 แห่ง และนักวิชาการ รวมจำนวน 100 คน ว่า
การจัดสัมมนาครั้งนี้เพื่อเป็นการเฝ้าระวังควบคุม และป้องกันสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการให้ปลอดภัยจากเชื้อลีจิโอเนลลา และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการได้เห็นความสำคัญ และมีความตระหนัก ในการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีโรคลีเจียนแนร์ในนักท่องเที่ยว หลังจากกลับจากการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และสนับสนุนการท่องเที่ยว รวมทั้งนักท่องเที่ยวมีความมั่นใจ ในความปลอดภัยจากโรคลีเจียนแนร์เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมานั้นมีนักท่องเที่ยวที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวหลังจากเข้าพักที่โรงแรมในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมาแล้ว
นายแพทย์มานิต กล่าวว่า โรคลีเจียนเนลโลลิส เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลา นิวโมฟิวลา เรียกว่าโรคลีเจียนแนร์ พบได้ในแหล่งน้ำทั่วไป แต่เพิ่มจำนวนและเจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำนิ่งที่มีอุณหภูมิ 20-50 องศาเซลเซียส เชื้อสามารถแพร่กระจายเป็นละอองน้ำฝอยโดยลม ผู้ป่วยจึงได้รับเชื้อจากการสูดหายใจเอาละอองน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป
ละอองน้ำเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากหอผึ่งเย็น ระบบระบายน้ำ ระบบระบายน้ำความร้อนแบบแอร์รวม เครื่องทำน้ำร้อน ถังเก็บน้ำร้อน ระบบน้ำร้อน ถังเก็บน้ำ ระบบการกระจายน้ำ เช่น น้ำพุ น้ำพุประดับ ฝักบัวอาบน้ำ ปริงเกอร์ เป็นต้น
เชื้อดังกล่าวพบได้ในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ แต่ส่วนใหญ่พบในวัยกลางคน ตลอดจนผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มสุรา ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคไตวาย เบาหวาน เอดส์ รวมถึงผู้ที่ต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน จัดเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ โดยใช้มาตรการบำรุงรักษาความสะอาดของแหล่งที่น่าจะเป็นรังโรค รวมทั้งการทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ รักษาอุณหภูมิของน้ำ การใส่สารชีวฆาต เพื่อยังยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้รักษาความสะอาดระบบน้ำร้อน น้ำเย็นและรักษาระดับอุณหภูมิน้ำร้อนที่ 60 องศาเซลเซียส และน้ำเย็นต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส
นายแพทย์มานิต กล่าวว่า จึงอยากให้ผู้ประกอบการโรงแรม โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า และหน่วยงานที่มีอาคารสูงขนาดใหญ่ ตระหนักถึงการเฝ้าระวังเชื้อลีจิเนลลา โดยการบำรุงรักษา และทำความสะอาดแหล่งที่มีโอกาสพบเชื้อในอาคารตามระยะที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ และเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
“สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการและผ่านการประเมินตามข้อกำหนดจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองความปลอดภัยจากเชื้อลีจิโอเนลลา พร้อมเครื่องหมายรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว พร้อมทั้งเป็นการยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และความน่าเชื่อถือของประเทศ” นายแพทย์มานิต กล่าว