ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเผย เดือนมกราคม 2551 อนุมัติโครงการลงทุนภาคใต้รวม 7 โครงการ เม็ดเงินลงทุนรวม 1,875.30 ล้านบาท โดย 4 โครงการตั้งอยู่ในใต้ตอนล่างรวม 1,5613 ล้านบาท เผย จ.สงขลาช้ำใจเสียโอกาสเป็นแชมป์ลงทุนแม้ศักยภาพดี แต่ติดปัญหาความไม่สงบ แนะรัฐบาลใช้โอกาสแสดงความจริงใจช่วยแก้วิกฤตไฟใต้ซื้อใจคนใต้
นายจำรัส ศรีประสม ผู้อำนวยการ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 ภาคใต้มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนแล้วรวม 7 โครงการ ได้แก่ จ.ตรัง 1 โครงการ, สงขลา 3 โครงการ และสุราษฎร์ธานีอีก 3 โครงการ เงินลงทุนรวม 1,875.30 ล้านบาท จ้างแรงงานคนไทย 2,737 คน และจ้างงานแรงงานต่างชาติ 1 คน
ทั้งนี้ โครงการลงทุนได้กระจุกตั้งอยู่ในใต้ตอนล่างรวม 4 โครงการ โดยที่ จ.ตรัง บริษัทแปลน ครีเอชั่นส์ จำกัด ลงทุนเพิ่มอีก 311.50 ล้านบาท ผลิตของเล่นที่ทำจากไม้ประมาณ 3,000,000 ชุด/ปี จ้างแรงงานคนไทย 1,752 คน
ส่วนอีก 3 โครงการที่ จ.สงขลา ได้แก่ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้และชิ้นส่วนโดยเป็นของชาวมาเลเซีย ลงทุน 87.80 ล้านบาท กำลังการผลิตประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี จ้างแรงงานคนไทย 240 คน บริษัท เซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด ลงทุน 312.00 ล้านบาท ผลิตยางแผ่นรมควันประมาณ 48,000 ตัน/ปี จ้างงานแรงงานคนไทย 397 คน บริษัท เซาท์แลนด์ รีซอร์ช จำกัด ลงทุน 850.00 ล้านบาท ผลิตยางแท่งประมาณ 120,000 ตัน/ปี จ้างงานคนไทย 266 คน
นายจำรัส กล่าวว่า ขณะนี้เพิ่งผ่านพ้นจากการเลือกตั้งและมีรัฐบาลที่เพิ่งเริ่มทำงาน ทำให้ภาพการลงทุนยังไม่ค่อยชัดเจน แต่เชื่อว่ารัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตยจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน โดยเฉพาะมุมมองจากต่างประเทศ และหากรัฐบาลพัฒนาด้านเศรษฐกิจผ่านโครงการต่างๆ ให้เดินหน้าอย่างชัดเจน ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาภาคใต้ก็จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนในภาคใต้ได้
รวมถึงการเข้ามาแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอใน จ.สงขลา ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของการลงทุน เพื่อสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ และเป็นที่ยอมรับของคนปักษ์ใต้ก็ส่งผลดีต่อฐานเสียงในระยะยาว แม้ว่ารัฐมนตรีที่เข้ามาจะไม่ได้เป็นตัวแทนจากภาคใต้เลยก็ตาม
“ตอนนี้ จ.สงขลา เสียโอกาสทางการลงทุนมาก เพราะความไม่มั่นใจความปลอดภัย ทั้งที่มีความพร้อมมากที่สุดในภาคใต้ และ 40% ของการลงทุนเคยอยู่ที่นี่มาก่อน ขณะนี้มีเพียงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เพื่อใช้วัตถุดิบยางพาราเพียงไม่กี่รายเท่านั้น ส่วนมาตรการส่งเสริมการลงทุนะเป็นกรณีพิเศษใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากนักลงทุนนอกพื้นที่ไม่มั่นใจความปลอดภัยเลย มีเพียงนักลงทุนในพื้นที่ที่ จ.ยะลา รายเดียวเท่านั้นที่ได้รับการอนุมัติ 1 โครงการ” นายจำรัสกล่าว
นายจำรัส ศรีประสม ผู้อำนวยการ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 ภาคใต้มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนแล้วรวม 7 โครงการ ได้แก่ จ.ตรัง 1 โครงการ, สงขลา 3 โครงการ และสุราษฎร์ธานีอีก 3 โครงการ เงินลงทุนรวม 1,875.30 ล้านบาท จ้างแรงงานคนไทย 2,737 คน และจ้างงานแรงงานต่างชาติ 1 คน
ทั้งนี้ โครงการลงทุนได้กระจุกตั้งอยู่ในใต้ตอนล่างรวม 4 โครงการ โดยที่ จ.ตรัง บริษัทแปลน ครีเอชั่นส์ จำกัด ลงทุนเพิ่มอีก 311.50 ล้านบาท ผลิตของเล่นที่ทำจากไม้ประมาณ 3,000,000 ชุด/ปี จ้างแรงงานคนไทย 1,752 คน
ส่วนอีก 3 โครงการที่ จ.สงขลา ได้แก่ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้และชิ้นส่วนโดยเป็นของชาวมาเลเซีย ลงทุน 87.80 ล้านบาท กำลังการผลิตประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี จ้างแรงงานคนไทย 240 คน บริษัท เซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด ลงทุน 312.00 ล้านบาท ผลิตยางแผ่นรมควันประมาณ 48,000 ตัน/ปี จ้างงานแรงงานคนไทย 397 คน บริษัท เซาท์แลนด์ รีซอร์ช จำกัด ลงทุน 850.00 ล้านบาท ผลิตยางแท่งประมาณ 120,000 ตัน/ปี จ้างงานคนไทย 266 คน
นายจำรัส กล่าวว่า ขณะนี้เพิ่งผ่านพ้นจากการเลือกตั้งและมีรัฐบาลที่เพิ่งเริ่มทำงาน ทำให้ภาพการลงทุนยังไม่ค่อยชัดเจน แต่เชื่อว่ารัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตยจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน โดยเฉพาะมุมมองจากต่างประเทศ และหากรัฐบาลพัฒนาด้านเศรษฐกิจผ่านโครงการต่างๆ ให้เดินหน้าอย่างชัดเจน ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาภาคใต้ก็จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนในภาคใต้ได้
รวมถึงการเข้ามาแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอใน จ.สงขลา ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของการลงทุน เพื่อสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ และเป็นที่ยอมรับของคนปักษ์ใต้ก็ส่งผลดีต่อฐานเสียงในระยะยาว แม้ว่ารัฐมนตรีที่เข้ามาจะไม่ได้เป็นตัวแทนจากภาคใต้เลยก็ตาม
“ตอนนี้ จ.สงขลา เสียโอกาสทางการลงทุนมาก เพราะความไม่มั่นใจความปลอดภัย ทั้งที่มีความพร้อมมากที่สุดในภาคใต้ และ 40% ของการลงทุนเคยอยู่ที่นี่มาก่อน ขณะนี้มีเพียงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เพื่อใช้วัตถุดิบยางพาราเพียงไม่กี่รายเท่านั้น ส่วนมาตรการส่งเสริมการลงทุนะเป็นกรณีพิเศษใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากนักลงทุนนอกพื้นที่ไม่มั่นใจความปลอดภัยเลย มีเพียงนักลงทุนในพื้นที่ที่ จ.ยะลา รายเดียวเท่านั้นที่ได้รับการอนุมัติ 1 โครงการ” นายจำรัสกล่าว