ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สมาพันธ์วิชาชีพครูฯ 5 จังหวัดใต้ เผยครูใต้ไม่เชื่อน้ำยารัฐมนตรีว่าการศึกษามือใหม่แก้ปัญหาครูไม่ให้ตกเป็นเหยื่อโจรใต้ได้ ระบุแนวทางคงไม่แตกต่างกับรัฐบาล ทรท.เพราะเป็นนอมินี่ชัดเจน “อังคณา” จี้รัฐบาลใหม่ยุติละเมิดสิทธิมนุษยชนในชายแดนใต้ เชื่อยุค ”สมัคร” ไม่แตกต่างจาก “ทักษิณ” พร้อมเผยกรรมาธิการวิสามัญศึกษาสอบสวนปัญหาความไม่สงบใต้ เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับประชาชนต่อรัฐบาลในการดับไฟใต้ ขู่ล่าชื่อเสนอกฎหมายเองหากรัฐบาลเมิน
นายไพรัช วิหะกะรัตน์ ประธานสมาพันธ์วิชาชีพครู 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงการเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีว่า ในที่ประชุมของสมาพันธ์ฯ ได้มีการพิจารณาบุคคลที่เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้วพบว่า ครูในสมาพันธ์ฯไม่คาดหวังว่ารัฐมนตรีคนใหม่จะสามารถแก้ปัญหาที่หมักหมมมาเป็นเวลานานได้ เนื่องจากผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ไม่ได้มีประสบการณ์ตรงในเรื่องนี้ ทั้งตัวรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วย ที่ถือว่ายังเป็นมือใหม่
“ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหนึ่งมาจากการปรับโครงสร้างราชการของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ซึ่งก็คือรัฐบาลปัจจุบัน เพียงแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ สมาพันธ์ฯครู มองว่าวิธีคิดในการแก้ปัญหาจะยังคงเป็นรูปแบบเดิมเหมือนที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยเคยทำ ความจริงครูอยากได้บุคคลที่มีประสบการณ์เป็นนักคิด นักการศึกษา และนักปฏิบัติเข้ามาทำหน้าที่เมื่อออกมาเป็นแบบนี้ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร แต่เราไม่คาดหวัง” นายไพรัช กล่าว
นายไพรัช กล่าวว่า เรื่องเร่งด่วนที่ครูอยากเห็นรัฐบาลใหม่เข้ามาจัดการคือปัญหาการทำร้ายและเข่นฆ่าครูในพื้นที่ รัฐบาลจะต้องลดตัวเลขความสูญเสียตรงนี้ให้ได้ รวมทั้งพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ เพราะสถานการณ์ที่บีบคั้นทำให้การเรียนการสอนเกิดการสะดุด ในขณะที่นักเรียนเองก็จะต้องไปสอบแข่งขันกับนักเรียนพื้นที่อื่นๆ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่สถานการณ์ดีกว่า ทำให้เสียโอกาสตรงนี้ไป รวมทั้งการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรครูในพื้นที่รัฐต้องทำอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ
“ควรให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นตัวตั้งในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะนักการเมืองมักจะหาเสียงด้วยการชูนโยบายด้านการจัดการศึกษาเป็นตัวนำในการพัฒนาและแก้ปัญหาอื่นๆ แต่เมื่อเข้ามาจริงๆ กลับทำในสิ่งที่สวนทาง ตอนนี้คนที่มานั่งดูแลต้องเดินหน้าแก้ปัญหาทันทีจะบอกว่ายังใหม่ไม่ได้” นายไพรัช กล่าว
ด้านนางอังคณา นีละไพจิตร กรรมาธิการวิสามัญศึกษาสอบสวนปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ เผยกับ “ผู้จัดการรายวัน” ถึงความคาดหวังในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลชุดใหม่ว่า ผู้ที่เข้ามารับผิดชอบด้านความมั่นคงทั้งในส่วนของกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี นั่งควบตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม และในส่วนของกระทรวงมหาดไทยที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรัฐมนตรีว่าการฯนั้น ดูจากชื่อบุคคลทั้งสองแล้วก็พบว่า เท่าที่ผ่านมาบุคคลทั้งสองยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของการอำนวยความยุติธรรมและการรักษาสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ที่เข้ามาดูแลจึงควรให้ความสำคัญกับส่วนนี้ กระนั้นแม้ที่ผ่านมาบุคคลทั้งสองจะไม่มีความชัดเจนแต่ก็ยังคาดหวังว่าจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้
“การจับกุมควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยตามกฎหมายระบุว่า ไม่ได้ห้ามเยี่ยม แต่ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่กลับไม่ให้เยี่ยม ญาติพี่น้องของคนที่ถูกจับก็มีความสงสัยและไม่สบายใจ ตามวิธีปฏิบัติผู้ต้องสงสัยต้องถูกส่งไปควบคุมตัวที่กองบังคับการตำรวจภูธรภาค 9 แต่ในความเป็นจริงกลับมีการควบคุมตัวที่หน่วยเฉพาะกิจในพื้นที่ มีการเค้นและซ้อมผู้ถูกควบคุมตัว ก่อให้เกิดความคลางแคลงว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่” นางอังคณา กล่าว และว่า
ในส่วนของแนวคิดที่จะให้มีการปลดอาวุธเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น สถานการณ์ที่เป็นอยู่เจ้าหน้าที่ยังจำเป็นต้องมีอาวุธไว้เพื่อป้องกันประชาชนผู้บริสุทธิ์ ไม่ใช่ว่าปลดทั้งหมด กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการพกพาอาวุธเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย แต่ต้องไม่ทำเกินกว่าเหตุ
นางอังคณา ยังกล่าวอีกว่า สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ขณะนี้ไม่ดีขึ้นเลย ไม่แตกต่างกับยุคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รับบาลใหม่ต้องยุติให้ได้โดยเร็วที่สุด
“การออกมาเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิมนุษยชนอาจถูกบางฝ่ายตั้งคำถามว่าเป็นการเข้าข้างผู้กระทำความผิดหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลางในส่วนที่รับผิดชอบ เราตรวจสอบทั้งสองฝ่าย รัฐเป็นผู้มีอำนาจต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยการไม่ละเมิดกฎหมาย หากเจ้าหน้าที่ละเมิดกฎหมาย ก็ถือว่าไม่แตกต่างกับโจร เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลใหม่ต้องทำคือยุติการซ้อมและทรมานผู้ถูกควบคุมตัวโดยเร็ว”
นางอังคณา กล่าวถึงแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนว่า แนวทางการแก้ปัญหาของกรรมาธิการวิสามัญศึกษาสอบสวนปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องการให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมต่อการแก้ปัญหาให้มากที่สุด โดยจะมีการเสนอร่างพระราชบัญยัติ (พ.ร.บ.) ให้ภาคประชาชนร่วมกันแก้ปัญหาภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความคืบหน้าไปแล้วในระดับหนึ่ง
“ขณะนี้ได้ร่างหลักการและเหตุผลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ร่าง พ.ร.บ.ตัวนี้จะเป็น พ.ร.บ.คู่ขนาน มีองค์กรอิสระเป็นผู้ดูแลลักษณะคล้ายคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ หรือ กอส.” นางอังคณา กล่าว
ต่อข้อซักถามที่ว่าองค์กรดังกล่าวจะทับซ้อนกับการทำงานของ ศอ.บต.หรือไม่ นางอังครา กล่าวว่า จะไม่ทับซ้อนกับการทำหน้าที่ของ ศอ.บต.ซึ่งในส่วนของ ศอ.บต.เองก็ยังทำงานได้ไม่เต็มที่เนื่องจากยังไม่มี พ.ร.บ.รองรับ ขณะนี้ ศอ.บต.ทำงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ฝ่ายกลาโหมเองก็ต้องการที่จะดึงส่วนนี้ไปดูแลเอง ศอ.บต.ยุคนี้ จึงยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวังของประชาชนในพื้นที่ แม้ ศอ.บต. มองว่าองค์กรใหม่จะซ้ำซ้อน แต่เราเชื่อว่าไม่เป็นแบบนั้น เพราะปัญหาที่ผ่านมาพิสูจน์ได้อย่างหนึ่งว่าหากหน่วยงานของรัฐไม่ติดขัดเรื่องการทำงานปัญหาก็คงไม่บานปลายมาจนถึงทุกวันนี้ และจะเป็นเรื่องดีหากเรามีสภาประชาชนที่มีอิสระ มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมมาร่วมกันแก้ปัญหา” นางอังคณา กล่าว และว่า
คณะทำงานยังไม่ได้มีการนำเสนอแนวคิดดังกล่าวกับรัฐบาล แต่ถ้ารัฐไม่ทำก็จะมีการล่ารายชื่อประชาชนให้ได้จำนวนตามกฎหมายเพื่อยื่นเสนอ พ.ร.บ.เอง และจะมีการปรึกษาหารือกับหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ด้วย เนื่องจาก ส.ส.ประชาธิปัตย์เป็นเสียงส่วนใหญ่ที่คนในพื้นที่ไว้วางใจให้เป็นตัวแทนเพื่อแก้ปัญหา จึงต้องให้โอกาสกับ ส.ส.ประชาธิปัตย์ มาร่วมกันหาทางแก้ปัญหาด้วย ซึ่งตรงส่วนนี้รัฐบาล ซึ่งมีพรรคพลังประชาชนเป็นเสียงส่วนใหญ่จะต้องเปิดใจให้กว้าง
“แม้ที่ผ่านมาบุคคลระดับสูงในรัฐบาลใหม่มีท่าทีไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไม่สนับสนุนการเรียกร้องโดยสันติ แต่เมื่อรัฐบาลนี้มาจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน เราก็ต้องให้เกียรติในกาพิสูจน์ฝีมือ ในส่วนของประชาชนเองก็จะใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่เช่นกัน” นางอังคณา กล่าว
นายไพรัช วิหะกะรัตน์ ประธานสมาพันธ์วิชาชีพครู 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงการเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีว่า ในที่ประชุมของสมาพันธ์ฯ ได้มีการพิจารณาบุคคลที่เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้วพบว่า ครูในสมาพันธ์ฯไม่คาดหวังว่ารัฐมนตรีคนใหม่จะสามารถแก้ปัญหาที่หมักหมมมาเป็นเวลานานได้ เนื่องจากผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ไม่ได้มีประสบการณ์ตรงในเรื่องนี้ ทั้งตัวรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วย ที่ถือว่ายังเป็นมือใหม่
“ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหนึ่งมาจากการปรับโครงสร้างราชการของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ซึ่งก็คือรัฐบาลปัจจุบัน เพียงแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ สมาพันธ์ฯครู มองว่าวิธีคิดในการแก้ปัญหาจะยังคงเป็นรูปแบบเดิมเหมือนที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยเคยทำ ความจริงครูอยากได้บุคคลที่มีประสบการณ์เป็นนักคิด นักการศึกษา และนักปฏิบัติเข้ามาทำหน้าที่เมื่อออกมาเป็นแบบนี้ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร แต่เราไม่คาดหวัง” นายไพรัช กล่าว
นายไพรัช กล่าวว่า เรื่องเร่งด่วนที่ครูอยากเห็นรัฐบาลใหม่เข้ามาจัดการคือปัญหาการทำร้ายและเข่นฆ่าครูในพื้นที่ รัฐบาลจะต้องลดตัวเลขความสูญเสียตรงนี้ให้ได้ รวมทั้งพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ เพราะสถานการณ์ที่บีบคั้นทำให้การเรียนการสอนเกิดการสะดุด ในขณะที่นักเรียนเองก็จะต้องไปสอบแข่งขันกับนักเรียนพื้นที่อื่นๆ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่สถานการณ์ดีกว่า ทำให้เสียโอกาสตรงนี้ไป รวมทั้งการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรครูในพื้นที่รัฐต้องทำอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ
“ควรให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นตัวตั้งในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะนักการเมืองมักจะหาเสียงด้วยการชูนโยบายด้านการจัดการศึกษาเป็นตัวนำในการพัฒนาและแก้ปัญหาอื่นๆ แต่เมื่อเข้ามาจริงๆ กลับทำในสิ่งที่สวนทาง ตอนนี้คนที่มานั่งดูแลต้องเดินหน้าแก้ปัญหาทันทีจะบอกว่ายังใหม่ไม่ได้” นายไพรัช กล่าว
ด้านนางอังคณา นีละไพจิตร กรรมาธิการวิสามัญศึกษาสอบสวนปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ เผยกับ “ผู้จัดการรายวัน” ถึงความคาดหวังในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลชุดใหม่ว่า ผู้ที่เข้ามารับผิดชอบด้านความมั่นคงทั้งในส่วนของกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี นั่งควบตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม และในส่วนของกระทรวงมหาดไทยที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรัฐมนตรีว่าการฯนั้น ดูจากชื่อบุคคลทั้งสองแล้วก็พบว่า เท่าที่ผ่านมาบุคคลทั้งสองยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของการอำนวยความยุติธรรมและการรักษาสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ที่เข้ามาดูแลจึงควรให้ความสำคัญกับส่วนนี้ กระนั้นแม้ที่ผ่านมาบุคคลทั้งสองจะไม่มีความชัดเจนแต่ก็ยังคาดหวังว่าจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้
“การจับกุมควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยตามกฎหมายระบุว่า ไม่ได้ห้ามเยี่ยม แต่ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่กลับไม่ให้เยี่ยม ญาติพี่น้องของคนที่ถูกจับก็มีความสงสัยและไม่สบายใจ ตามวิธีปฏิบัติผู้ต้องสงสัยต้องถูกส่งไปควบคุมตัวที่กองบังคับการตำรวจภูธรภาค 9 แต่ในความเป็นจริงกลับมีการควบคุมตัวที่หน่วยเฉพาะกิจในพื้นที่ มีการเค้นและซ้อมผู้ถูกควบคุมตัว ก่อให้เกิดความคลางแคลงว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่” นางอังคณา กล่าว และว่า
ในส่วนของแนวคิดที่จะให้มีการปลดอาวุธเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น สถานการณ์ที่เป็นอยู่เจ้าหน้าที่ยังจำเป็นต้องมีอาวุธไว้เพื่อป้องกันประชาชนผู้บริสุทธิ์ ไม่ใช่ว่าปลดทั้งหมด กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการพกพาอาวุธเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย แต่ต้องไม่ทำเกินกว่าเหตุ
นางอังคณา ยังกล่าวอีกว่า สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ขณะนี้ไม่ดีขึ้นเลย ไม่แตกต่างกับยุคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รับบาลใหม่ต้องยุติให้ได้โดยเร็วที่สุด
“การออกมาเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิมนุษยชนอาจถูกบางฝ่ายตั้งคำถามว่าเป็นการเข้าข้างผู้กระทำความผิดหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลางในส่วนที่รับผิดชอบ เราตรวจสอบทั้งสองฝ่าย รัฐเป็นผู้มีอำนาจต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยการไม่ละเมิดกฎหมาย หากเจ้าหน้าที่ละเมิดกฎหมาย ก็ถือว่าไม่แตกต่างกับโจร เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลใหม่ต้องทำคือยุติการซ้อมและทรมานผู้ถูกควบคุมตัวโดยเร็ว”
นางอังคณา กล่าวถึงแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนว่า แนวทางการแก้ปัญหาของกรรมาธิการวิสามัญศึกษาสอบสวนปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องการให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมต่อการแก้ปัญหาให้มากที่สุด โดยจะมีการเสนอร่างพระราชบัญยัติ (พ.ร.บ.) ให้ภาคประชาชนร่วมกันแก้ปัญหาภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความคืบหน้าไปแล้วในระดับหนึ่ง
“ขณะนี้ได้ร่างหลักการและเหตุผลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ร่าง พ.ร.บ.ตัวนี้จะเป็น พ.ร.บ.คู่ขนาน มีองค์กรอิสระเป็นผู้ดูแลลักษณะคล้ายคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ หรือ กอส.” นางอังคณา กล่าว
ต่อข้อซักถามที่ว่าองค์กรดังกล่าวจะทับซ้อนกับการทำงานของ ศอ.บต.หรือไม่ นางอังครา กล่าวว่า จะไม่ทับซ้อนกับการทำหน้าที่ของ ศอ.บต.ซึ่งในส่วนของ ศอ.บต.เองก็ยังทำงานได้ไม่เต็มที่เนื่องจากยังไม่มี พ.ร.บ.รองรับ ขณะนี้ ศอ.บต.ทำงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ฝ่ายกลาโหมเองก็ต้องการที่จะดึงส่วนนี้ไปดูแลเอง ศอ.บต.ยุคนี้ จึงยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวังของประชาชนในพื้นที่ แม้ ศอ.บต. มองว่าองค์กรใหม่จะซ้ำซ้อน แต่เราเชื่อว่าไม่เป็นแบบนั้น เพราะปัญหาที่ผ่านมาพิสูจน์ได้อย่างหนึ่งว่าหากหน่วยงานของรัฐไม่ติดขัดเรื่องการทำงานปัญหาก็คงไม่บานปลายมาจนถึงทุกวันนี้ และจะเป็นเรื่องดีหากเรามีสภาประชาชนที่มีอิสระ มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมมาร่วมกันแก้ปัญหา” นางอังคณา กล่าว และว่า
คณะทำงานยังไม่ได้มีการนำเสนอแนวคิดดังกล่าวกับรัฐบาล แต่ถ้ารัฐไม่ทำก็จะมีการล่ารายชื่อประชาชนให้ได้จำนวนตามกฎหมายเพื่อยื่นเสนอ พ.ร.บ.เอง และจะมีการปรึกษาหารือกับหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ด้วย เนื่องจาก ส.ส.ประชาธิปัตย์เป็นเสียงส่วนใหญ่ที่คนในพื้นที่ไว้วางใจให้เป็นตัวแทนเพื่อแก้ปัญหา จึงต้องให้โอกาสกับ ส.ส.ประชาธิปัตย์ มาร่วมกันหาทางแก้ปัญหาด้วย ซึ่งตรงส่วนนี้รัฐบาล ซึ่งมีพรรคพลังประชาชนเป็นเสียงส่วนใหญ่จะต้องเปิดใจให้กว้าง
“แม้ที่ผ่านมาบุคคลระดับสูงในรัฐบาลใหม่มีท่าทีไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไม่สนับสนุนการเรียกร้องโดยสันติ แต่เมื่อรัฐบาลนี้มาจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน เราก็ต้องให้เกียรติในกาพิสูจน์ฝีมือ ในส่วนของประชาชนเองก็จะใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่เช่นกัน” นางอังคณา กล่าว