ตรัง - เกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดตรังวอนรัฐบาลใหม่ ช่วยปรับราคายางพาราให้สูงขึ้นเพื่อสู้ภาวะเศรษฐกิจซบเซา
นายมนัส เซ่งหลี เกษตรกรชาวสวนยางพารา ซึ่งประกอบอาชีพนี้มานานกว่า 40 ปีแล้ว กล่าวว่า ราคายางพาราในขณะนี้ถือว่าค่อนข้างต่ำ ในขณะที่ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคกลับปรับตัวสูงขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แต่สิ่งที่น่าหนักใจที่สุดในการทำสวนยางพาราก็คือ ปัญหาของราคาปุ๋ย ที่ปรับตัวสูงขึ้นถึงกระสอบละ 50 บาทแล้ว
ฉะนั้น จึงอยากให้รัฐบาลใหม่ช่วยแก้ปัญหาของชาวสวนยางพารา เหมือนกับการแก้ปัญหาให้กับชาวนาในภาคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่ราคายางพาราอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท การใช้ชีวิตประจำวันในขณะนั้นยังไม่ลำบากเหมือนปัจจุบันนี้ เพราะยางพารา 1 กิโลกรัม สามารถซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงได้ 3 ลิตร แต่ยางพารา 1 กิโลกรัมในขณะนี้ กลับซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่ถึง 2 ลิตร
นายชิต กลิ่นชื่น เกษตรกรชาวสวนยางพาราอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาแม้ราคายางพารา โดยเฉพาะน้ำยางสด จะสูงมาก แต่ก็มีปัญหาเกิดขึ้นในหลายๆ ด้าน เช่น มีฝนตกชุกทุกวัน จนไม่สามารถกรีดได้ ในขณะที่ข้าวของก็มีราคาแพงขึ้น ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว จึงต้องหารายได้เสริมด้วยการเก็บเศษยาง (ขี้ยาง) จากต้นยาง เพื่อนำเงินมาเลี้ยงครอบครัวประทังชีวิต
นางจำรัส ส่งเสริม เกษตรกรชาวสวนยางพาราอีกคนหนึ่ง กล่าวด้วยว่า ตอนนี้ตนมีภาระหนี้สินที่ต้องชำระมากมาย ทั้งเงินกู้ธนาคาร เงินกู้รายวัน หรือค่าแชร์ จึงต้องการให้รัฐบาลใหม่ปรับราคายางพาราให้สูงขึ้นตามราคาสินค้าและน้ำมัน เพราะในช่วงที่ยางพาราปรับราคาลง สินค้าและน้ำมันไม่ได้ปรับราคาลงตามไปด้วย ประกอบกับต้องเจอกับฝนที่ตกลงมาเกือบทุกวัน แม้พวกตนจะแก้ปัญหาด้วยการประกอบอาชีพเสริมแล้ว
นายวิชิตร ขอบคุณ อาจารย์โรงเรียนลำภูราเรืองวิทย์ กล่าวว่า ตนเองเป็นทั้งครู และชาวสวนยางพารา เพราะต้องดิ้นรนต่อสู้กับสภาพเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ที่รับภาระหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าเทอม ค่าผ่อนรถ และต้องผ่อนธนาคารที่กู้ยืมเงินมาทำสวนยางพารา โดยในช่วงที่ราคาสินค้ายังไม่ปรับตัวสูงขึ้นนั้น ตนยังพอที่จะเก็บเงินออมไว้ให้กับลูกได้บ้าง แต่ขณะนี้เงินที่ได้มาแทบจะไม่พอใช้จ่ายในแต่ละเดือน
สำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านพ้นไปนั้น ก่อนหน้านี้ ผู้สมัครทุกคนต่างก็ออกมาบอกว่า จะให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของชาวสวนยางพาราในพื้นที่ภาคใต้ แต่ที่ผ่านมา พอได้เป็น ส.ส.ไปแล้ว ก็มักจะหายเงียบ ไม่มาดูแลเหมือนกับช่วงตอนหาเสียง และเมื่อเลือกเข้าไปเป็นผู้แทนแล้ว ก็ไม่สามารถช่วยเหลือพี่น้องชาวสวนยางพาราได้เลยสักครั้ง มาถึงครั้งล่าสุดนี้ก็ไม่รู้จะเป็นเช่นไรอีก
นายบุญสนอง ศรีสุข อายุ 48 ปี ผู้ประกอบการรับซื้อน้ำยางสด ซึ่งประกอบอาชีพนี้มานานกว่า 5 ปีแล้ว กล่าวว่า ราคาน้ำยางสด ในช่วงปี 2550 ที่ผ่านมา ยังคงทรงตัวอยู่ที่ประมาณกิโลกรัม 60-65 บาท ส่วนราคายางพาราแผ่นดิบนั้น อยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 70-75 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เกษตรกรชาวใต้ยังพออยู่ได้ และดีกว่าในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ถ้าเปรียบเทียบย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ จะมีเกษตรกรนำน้ำยางสดมาขายถึงวันละ 40-50 คน ต่างกับในช่วงนี้ที่จะนำน้ำยางสดมาขายแค่วันละ 20-25 คน เพราะประชาชนหันไปทำยางพาราแผ่นดิบกันมากขึ้น อันเป็นผลมาจากราคาน้ำยางที่ไม่แน่นอน ฉะนั้น อยากให้รัฐบาลใหม่มองเห็นถึงความสำคัญของชาวสวนยางพารา และให้ช่วยให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามราคาสินค้าอื่นๆ ด้วย
นายมนัส เซ่งหลี เกษตรกรชาวสวนยางพารา ซึ่งประกอบอาชีพนี้มานานกว่า 40 ปีแล้ว กล่าวว่า ราคายางพาราในขณะนี้ถือว่าค่อนข้างต่ำ ในขณะที่ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคกลับปรับตัวสูงขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แต่สิ่งที่น่าหนักใจที่สุดในการทำสวนยางพาราก็คือ ปัญหาของราคาปุ๋ย ที่ปรับตัวสูงขึ้นถึงกระสอบละ 50 บาทแล้ว
ฉะนั้น จึงอยากให้รัฐบาลใหม่ช่วยแก้ปัญหาของชาวสวนยางพารา เหมือนกับการแก้ปัญหาให้กับชาวนาในภาคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่ราคายางพาราอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท การใช้ชีวิตประจำวันในขณะนั้นยังไม่ลำบากเหมือนปัจจุบันนี้ เพราะยางพารา 1 กิโลกรัม สามารถซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงได้ 3 ลิตร แต่ยางพารา 1 กิโลกรัมในขณะนี้ กลับซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่ถึง 2 ลิตร
นายชิต กลิ่นชื่น เกษตรกรชาวสวนยางพาราอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาแม้ราคายางพารา โดยเฉพาะน้ำยางสด จะสูงมาก แต่ก็มีปัญหาเกิดขึ้นในหลายๆ ด้าน เช่น มีฝนตกชุกทุกวัน จนไม่สามารถกรีดได้ ในขณะที่ข้าวของก็มีราคาแพงขึ้น ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว จึงต้องหารายได้เสริมด้วยการเก็บเศษยาง (ขี้ยาง) จากต้นยาง เพื่อนำเงินมาเลี้ยงครอบครัวประทังชีวิต
นางจำรัส ส่งเสริม เกษตรกรชาวสวนยางพาราอีกคนหนึ่ง กล่าวด้วยว่า ตอนนี้ตนมีภาระหนี้สินที่ต้องชำระมากมาย ทั้งเงินกู้ธนาคาร เงินกู้รายวัน หรือค่าแชร์ จึงต้องการให้รัฐบาลใหม่ปรับราคายางพาราให้สูงขึ้นตามราคาสินค้าและน้ำมัน เพราะในช่วงที่ยางพาราปรับราคาลง สินค้าและน้ำมันไม่ได้ปรับราคาลงตามไปด้วย ประกอบกับต้องเจอกับฝนที่ตกลงมาเกือบทุกวัน แม้พวกตนจะแก้ปัญหาด้วยการประกอบอาชีพเสริมแล้ว
นายวิชิตร ขอบคุณ อาจารย์โรงเรียนลำภูราเรืองวิทย์ กล่าวว่า ตนเองเป็นทั้งครู และชาวสวนยางพารา เพราะต้องดิ้นรนต่อสู้กับสภาพเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ที่รับภาระหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าเทอม ค่าผ่อนรถ และต้องผ่อนธนาคารที่กู้ยืมเงินมาทำสวนยางพารา โดยในช่วงที่ราคาสินค้ายังไม่ปรับตัวสูงขึ้นนั้น ตนยังพอที่จะเก็บเงินออมไว้ให้กับลูกได้บ้าง แต่ขณะนี้เงินที่ได้มาแทบจะไม่พอใช้จ่ายในแต่ละเดือน
สำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านพ้นไปนั้น ก่อนหน้านี้ ผู้สมัครทุกคนต่างก็ออกมาบอกว่า จะให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของชาวสวนยางพาราในพื้นที่ภาคใต้ แต่ที่ผ่านมา พอได้เป็น ส.ส.ไปแล้ว ก็มักจะหายเงียบ ไม่มาดูแลเหมือนกับช่วงตอนหาเสียง และเมื่อเลือกเข้าไปเป็นผู้แทนแล้ว ก็ไม่สามารถช่วยเหลือพี่น้องชาวสวนยางพาราได้เลยสักครั้ง มาถึงครั้งล่าสุดนี้ก็ไม่รู้จะเป็นเช่นไรอีก
นายบุญสนอง ศรีสุข อายุ 48 ปี ผู้ประกอบการรับซื้อน้ำยางสด ซึ่งประกอบอาชีพนี้มานานกว่า 5 ปีแล้ว กล่าวว่า ราคาน้ำยางสด ในช่วงปี 2550 ที่ผ่านมา ยังคงทรงตัวอยู่ที่ประมาณกิโลกรัม 60-65 บาท ส่วนราคายางพาราแผ่นดิบนั้น อยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 70-75 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เกษตรกรชาวใต้ยังพออยู่ได้ และดีกว่าในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ถ้าเปรียบเทียบย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ จะมีเกษตรกรนำน้ำยางสดมาขายถึงวันละ 40-50 คน ต่างกับในช่วงนี้ที่จะนำน้ำยางสดมาขายแค่วันละ 20-25 คน เพราะประชาชนหันไปทำยางพาราแผ่นดิบกันมากขึ้น อันเป็นผลมาจากราคาน้ำยางที่ไม่แน่นอน ฉะนั้น อยากให้รัฐบาลใหม่มองเห็นถึงความสำคัญของชาวสวนยางพารา และให้ช่วยให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามราคาสินค้าอื่นๆ ด้วย