ตรัง – ผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรัง ยอมรับมีการปรับลดพนักงานเฉพาะพนักงานในส่วนหัว หรือฝ่ายบริหารประมาณ 30 % แต่ไม่ได้มีการปรับลดพนักงานระดับล่างแต่อย่างใด โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจที่เผชิญตลอดเวลา 3 ปี ทำให้ไม่สามารถส่งออกได้ตามเป้า
นายบุญชู ศัยศักดิ์พงษ์ กรรมการตรวจสอบ บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด (มหาชน) หรือโรงงาน TRS ควนปริง ผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรัง เปิดเผยถึงกระแสข่าวเกี่ยวกับการปรับลดพนักงานของทางบริษัท ว่า เป็นการปรับลดเฉพาะพนักงานในส่วนหัว หรือฝ่ายบริหาร ไม่ใช่พนักงานระดับล่างทั่วไป จึงไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด โดยได้ทำการปรับลดออกไปประมาณ 30 % และมีการจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบ เพราะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และทางบริษัทก็ต้องยอมเสียชื่อเสียง แต่เพื่อรักษาองค์กรให้เดินหน้าต่อไปได้
ส่วนสาเหตุสำคัญที่ต้องทำการปรับลดพนักงานนั้น เพราะทางบริษัทประสบปัญหาหลายด้าน มาเป็นระยะเวลานานประมาณ 2-3 ปีแล้ว ทำให้ต้นทุนในการผลิตขยับตัวขึ้นมาสูงมาก โดยเฉพาะการที่ค่าเงินบาทแข็งตัว และการขาดแคลนวัตถุดิบประเภทกุ้งและหมึกกระดอง ซึ่งปัจจุบันในน่านน้ำของประเทศไทยเองแทบจะจับแทบไม่ได้เลย ต่างไปจากเดิมที่เคยมีสัตว์น้ำชุกชุมติดอันดับ 7 ของโลก ดังนั้น วัตถุดิบส่วนใหญ่ประมาณ 70 % ทั้งกุ้ง หมึกกระดอง และปลาแซลมอน ทางบริษัทจึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น จากประเทศโอมาน อินเดีย มอร็อกโก และอเมริกาใต้
นายบุญชู เปิดเผยอีกว่า จากสภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ได้ทำให้ภาคธุรกิจอย่างน้อย 4-5 ชนิดประสบปัญหา เช่น อาหารทะเล อสังหาริมทรัพย์ หรือบ้านจัดสรร ไม้ยางพารา และรองเท้า ทั้งนี้ บริษัทยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้รับผลกระทบมากเท่านั้น โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับอาหารทะเลถือว่าได้รับผลกระทบอย่างหนัก สำหรับโรงงาน TRS เองนั้นเดิมคาดการณ์ว่า ในปีนี้จะผลิตสินค้าเพื่อส่งออกได้ประมาณ 1 หมื่นตัน แต่มาจนถึงเวลานี้ยังไม่สามารถทำได้ตามเป้าที่วางไว้ ดังนั้น เพื่อความอยู่รอดของทางบริษัท จึงจำต้องปรับลดพนักงานฝ่ายบริหารออกไปส่วนหนึ่ง
ตลาดใหญ่ในการส่งออกของ บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด (มหาชน) ก็คือ ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งก่อนหน้านี้สามารถทำรายได้เข้าประเทศไทย ปีละกว่า 2,000 ล้านบาท และบางปียังทำยอดส่งออกได้ทะลุถึง 3,000 ล้านบาท แต่ในช่วงระยะหลังมาที่ประสบปัญหา ทำให้รายได้จากการส่งออกลดลงเหลือปีละประมาณ 1,500-1,800 ล้านบาท แต่ก็ยังคาดหวังว่าปลายปี 2550 นี้สถานการณ์จะต้องดีขึ้น ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องไปถึงธุรกิจอื่นๆ มากมายหลายอย่างด้วย โดยเฉพาะต่อคนงานที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2,000 คน
นายบุญชู ศัยศักดิ์พงษ์ กรรมการตรวจสอบ บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด (มหาชน) หรือโรงงาน TRS ควนปริง ผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรัง เปิดเผยถึงกระแสข่าวเกี่ยวกับการปรับลดพนักงานของทางบริษัท ว่า เป็นการปรับลดเฉพาะพนักงานในส่วนหัว หรือฝ่ายบริหาร ไม่ใช่พนักงานระดับล่างทั่วไป จึงไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด โดยได้ทำการปรับลดออกไปประมาณ 30 % และมีการจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบ เพราะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และทางบริษัทก็ต้องยอมเสียชื่อเสียง แต่เพื่อรักษาองค์กรให้เดินหน้าต่อไปได้
ส่วนสาเหตุสำคัญที่ต้องทำการปรับลดพนักงานนั้น เพราะทางบริษัทประสบปัญหาหลายด้าน มาเป็นระยะเวลานานประมาณ 2-3 ปีแล้ว ทำให้ต้นทุนในการผลิตขยับตัวขึ้นมาสูงมาก โดยเฉพาะการที่ค่าเงินบาทแข็งตัว และการขาดแคลนวัตถุดิบประเภทกุ้งและหมึกกระดอง ซึ่งปัจจุบันในน่านน้ำของประเทศไทยเองแทบจะจับแทบไม่ได้เลย ต่างไปจากเดิมที่เคยมีสัตว์น้ำชุกชุมติดอันดับ 7 ของโลก ดังนั้น วัตถุดิบส่วนใหญ่ประมาณ 70 % ทั้งกุ้ง หมึกกระดอง และปลาแซลมอน ทางบริษัทจึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น จากประเทศโอมาน อินเดีย มอร็อกโก และอเมริกาใต้
นายบุญชู เปิดเผยอีกว่า จากสภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ได้ทำให้ภาคธุรกิจอย่างน้อย 4-5 ชนิดประสบปัญหา เช่น อาหารทะเล อสังหาริมทรัพย์ หรือบ้านจัดสรร ไม้ยางพารา และรองเท้า ทั้งนี้ บริษัทยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้รับผลกระทบมากเท่านั้น โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับอาหารทะเลถือว่าได้รับผลกระทบอย่างหนัก สำหรับโรงงาน TRS เองนั้นเดิมคาดการณ์ว่า ในปีนี้จะผลิตสินค้าเพื่อส่งออกได้ประมาณ 1 หมื่นตัน แต่มาจนถึงเวลานี้ยังไม่สามารถทำได้ตามเป้าที่วางไว้ ดังนั้น เพื่อความอยู่รอดของทางบริษัท จึงจำต้องปรับลดพนักงานฝ่ายบริหารออกไปส่วนหนึ่ง
ตลาดใหญ่ในการส่งออกของ บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด (มหาชน) ก็คือ ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งก่อนหน้านี้สามารถทำรายได้เข้าประเทศไทย ปีละกว่า 2,000 ล้านบาท และบางปียังทำยอดส่งออกได้ทะลุถึง 3,000 ล้านบาท แต่ในช่วงระยะหลังมาที่ประสบปัญหา ทำให้รายได้จากการส่งออกลดลงเหลือปีละประมาณ 1,500-1,800 ล้านบาท แต่ก็ยังคาดหวังว่าปลายปี 2550 นี้สถานการณ์จะต้องดีขึ้น ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องไปถึงธุรกิจอื่นๆ มากมายหลายอย่างด้วย โดยเฉพาะต่อคนงานที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2,000 คน