xs
xsm
sm
md
lg

รู้จัก “สติ – STI” 3 ปัจจัยเร่งด่วนที่ SMEs ต้องมี เพื่อก้าวต่อไปในปี 2564

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในปี 2563 ทุกๆ คน ทั่วโลกได้รู้จักกับโรคโควิด - 19 โรคติดต่อร้ายแรงที่มุ่งหมายพรากชีวิต โดยไม่สนใจว่าคนนั้นจะรวยหรือจน และนอกจากชีวิตแล้ว โรคร้ายชนิดนี้ ก็ยังได้พรากวิถีชีวิตดั่งเดิมของทุกๆ คน จนทำให้ส่งผลกระทบไปสู่ทุกๆ ด้าน เช่น ด้านการดำเนินงานของผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อให้สอดคล้องและตอบโจทย์ธุรกิจในยุค New Normal บางกิจการไม่สามารถปรับตัวได้ทันก็ต้องปิดกิจการไป หรือ บางกิจการสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันตามสถานการณ์ก็สามารถกอบโกยผลกำไรได้ จนพูดได้ว่าเป็นปีที่วิกฤตของหลายๆ กิจการเลยก็ว่าได้


ด้วยความพลิกผันอย่างฉับพลันจากวิกฤตโรคโควิด – 19 ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ จึงทำให้หน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐที่ดูแลผู้ประกอบการ SMEs ได้พยายามหานโยบายใหม่ๆ เพื่อเป็นวิธีและแนะนำการดำเนินงานในยุค New - Normal ในการแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงานของธุรกิจๆ นั้น ให้ฝ่าฟันวิกฤตในครั้งนี้

ปัจจัยที่ 1. “Skill” หรือ “ทักษะเร่งด่วน”
และในปีใหม่นี้ พ.ศ. 2564 หลายๆ หน่วยงานจึงได้มีการออกนโยบายต่างๆ มาแนะนำกับผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับการวิเคราะห์ในความเป็นไปได้จากฐานข้อมูลของปี 2563 เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการวิธีการทำงานในปี 2564 และเพื่อตอบโจทย์กิจการให้ตรงจุดในยุค New Normal ที่วิกฤตโควิด – 19 ยังไม่มีท่าทีว่าจะจางหายไป และหนึ่งในนโยบายที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการในปีใหม่นี้ ก็คือ “สติ - STI” นโยบายจาก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ปัจจัยที่ 2  “Tools” หรือ “เครื่องมือเร่งด่วน”
“สติ – STI” นั้นย่อมาจาก (Skill – Tools - Industry) ซึ่งหากอ่านทับศัพท์เป็นภาษาไทย ก็จะออกเสียงเป็นคำว่า “สติ” ซึ่งเป็นนโยบายและแนวความคิดของทาง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ) กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้มีการวิเคราะห์จากฐานข้อมูลของปี 2563 เพื่อเป็นแนวทางแบบ “เร่งด่วน” เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการได้อย่างเต็มศักยภาพในปี 2564 โดยประกอบด้วย 3 ปัจจัยเร่งด่วนสำคัญ ได้แก่

ปัจจัยที่ 3. “Industry” หรือ “อุตสาหกรรมเร่งด่วน”
ปัจจัยที่ 1. “Skill” หรือ “ทักษะเร่งด่วน” ที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องเร่งเรียนรู้ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากข้อมูลในปี 2563 พบว่า SMEs จำเป็นต้องปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทักษะวิชาตัวเบา (Lean) การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับรายได้ในปัจจุบัน ถือเป็นทักษะที่จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการกิจได้ต่อเนื่อง ขณะเดียวกันจะต้องพัฒนาต่อยอดทักษะเดิม เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง ทักษะการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการปรับใช้ในกระบวนการต่างๆ และทักษะความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าให้กับภาคอุตสาหกรรม และทาง กสอ. ยังได้มีการขยายผลศูนย์ Mini Thai - IDC ไปยังภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ในระดับท้องถิ่นไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ปัจจัยที่ 2 ได้แก่ “Tools” หรือ “เครื่องมือเร่งด่วน” ปัจจัยนี้จะเป็นตัวช่วยเร่งในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งประกอบไปด้วย แพลตฟอร์มออนไลน์ (DIProm มาร์เก็ตเพลส) โดยรวบรวมผลิตภัณฑ์คุณภาพจากผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมจาก กสอ. เพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า ทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค นิเวศอุตสาหกรรม โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายของผู้ประกอบการทั้งมิติเชิงอุตสาหกรรมและพื้นที่ เพื่อสร้างความร่วมมือ ต่อยอดองค์ความรู้ และการยกระดับอุตสาหกรรม เงินทุนเพื่อการประกอบการ ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการประกอบกิจการ อาทิ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย การสนับสนุนเงินกู้จากสถาบันการเงินทั้งในกำกับของรัฐ และเอกชน รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากภาพเอกชน เพื่อสร้างสภาพคล่องให้กับการดำเนินธุรกิจและก่อให้เกิดการจัดตั้งธุรกิจได้ในอนาคต


และปัจจัยที่ 3. “Industry” หรือ “อุตสาหกรรมเร่งด่วน” ที่ได้มุ่งเน้นก็คือ เกษตรอุตสาหกรรม ซึ่งจากข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม มูลการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูป ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2563 อยู่ที่ 243,855 ล้านบาท ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเพียงพอ สำหรับการสนับสนุนในระยะเวลาเร่งด่วน เพื่อให้เป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ ผ่านการยกระดับศักยภาพในภาคการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป การพัฒนานักธุรกิจเกษตร และการส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพและพัฒนาภาคการเกษตรให้มีศักยภาพรวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบธุรกิจสู่กระบวนการผลิตที่มีมูลค่าสูงต่อยอดขยายผลเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งการส่งเสริมวิสาหกิจให้มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รองรับความต้องการของผู้บริโภค


ในปี 2564 นี้ “สติ - STI” จึงเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่น่าสน ที่ผู้ประกอบการจะนำไปปรับเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้ประกอบการต้องรู้จักนำไปใช้ให้ถูกวิธี โดยนำไปบูรณาการกับธุรกิจที่ตัวเองดำเนินงานอยู่ เพื่อการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง และได้รับผลกระทบน้อยที่สุด จากวิกฤตโรคโควิด – 19 นี้


* *คลิกLikeเพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด
และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *


SMEs manager


กำลังโหลดความคิดเห็น