xs
xsm
sm
md
lg

กลยุทธ์ปลูกกล้วยให้ได้ประโยชน์ กินก็ดี ขาย – ส่งออกก็ได้กำไร

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"กล้วย" เป็นพืชที่ปลูกได้ทั่วไปในพื้นที่ประเทศไทย กล้วยแต่ละชนิดสามารถเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่แตกต่างกันไป โดยที่ในแต่ละพื้นที่เพาะปลูกนั้นจะมีเนื้อที่ให้ผลผลิตที่ไม่เท่ากัน ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับปริมาณผลผลิตในแต่ละพื้นที่ ซึ่ง "กล้วยน้ำว้า" เป็นกล้วยที่มีการปลูกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากปลูกง่าย คนไทยรับประทานและใช้ประโยชน์จากกล้วยน้ำว้ามากกว่ากล้วยชนิดอื่น


การเพาะปลูกกล้วยที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อราคากล้วยแต่ละชนิด เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ได้ทำให้ราคามีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี กล้วยไข่และกล้วยหอมเป็นกล้วย 2 ชนิดที่มีราคาสูง โดยกล้วยไข่มีราคาเฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 20 บาท ขณะที่กล้วยหอมมีราคาเฉลี่ยที่ 18 บาทต่อกิโลกรัม โดยที่ราคากล้วยไข่มีแนวโน้มสูงขึ้น ในปี 2562 กล้วยไข่มีราคา 26 บาท เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ราคา 18 บาท โดยราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.44 มีอัตราการเติบโตตั้งแต่ปี 2558- 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.73 ผลผลิตกล้วยแต่ละชนิดในประเทศไทยมีปริมาณที่ผกผันกับพื้นที่การผลิต ทั้งนี้เนื่องจากสภาพภูมิกาศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างหนัก เช่น ภาวะภัยแล้ง ที่ส่งผลให้ต้นกล้วยนั้นขาดน้ำ ได้รับน้ำไม่เพียงพอทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่ตรงตามมาตรฐาน ไม่สามารถขายได้ รวมไปถึงภัยจากน้ำท่วมในบางพื้นที่ที่ทำให้พื้นที่เพาะปลูกเสียหาย ผลผลิตไม่ได้ตรงตามที่ต้องการ และราคาสินค้าตกต่ำลง


สถานการณ์การส่งออกกล้วยของไทย ไปยังต่างประเทศทั่วโลกทั้งในรูปแบบของผลกล้วยสด กล้วยอบแห้ง และกล้วยแปรรูปต่างๆ โดยกล้วยชนิดสำคัญที่ส่งออก คือ กล้วยไข่และกล้วยหอม โดยในปี 2563 (ม.ค. -ก.ค.) ไทยส่งออกกล้วยสดไปยังประเทศต่างที่สำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฮ่องกง และกัมพูชา อย่างไรก็ตามตลาดส่งออกกล้วยรายใหญ่อย่างประเทศจีนนั้นมีอัตราขยายตัวที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งในปี 2563 (ม.ค.-ก.ค.) อัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 44.67 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วพบว่าอัตราการขยายตัวของปีก่อนหน้า


ประเทศจีนเริ่มนำเข้ากล้วยไข่สดของไทยเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2557 เนื่องจากกล้วยไข่มีชื่อที่เป็นมงคลในภาษาจีนว่า “หวงตี้เจี้ยว” หมายถึง “กล้วยจักรพรรดิ” เชื่อว่าเป็นผลไม้มงคลที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ อีกทั้งรูปทรงผลที่เล็กกว่ากล้วยหอมจึงรับประทานได้ง่ายกว่าอีกด้วย กล้วยไข่จึงเป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศจีน นอกจากผลกล้วยสดที่ไทยสามารถส่งออกได้มากแล้ว จีนยังได้เริ่มนำเข้ากล้วยแปรรูปต่าง ๆ จากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อาทิ กล้วยอบแห้ง


นอกจากผลกล้วยสดแล้ว ประเทศไทยได้ส่งออกกล้วยอบแห้งด้วยเช่นกัน โดยในปี 2562 ไทยส่งออกกล้วยอบแห้งเป็นมูลค่า 169 ล้านบาท โดยประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ไทยส่งออกกล้วยอบแห้งไปมากที่สุด รวมมูลค่า 114.35 ล้านบาท รองลงมา ประเทศสิงคโปร์ มีมูลค่าส่งออก 8.99 ล้านบาท  Market Share ของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เวียดนามเพิ่มขึ้น ปี 2562 ประเทศจีนนำเข้าผลกล้วยสดและแห้งจากไทยเป็นมูลค่า 16.31 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 505.61 ล้านบาท) และประเทศกัมพูชาเป็นคู่แข่งรายใหม่ ในตลาดกล้วยหอมของไทย หลังจากการลงนามใน “ข้อตกลงการตรวจกักกันโรคสำหรับกล้วยหอมที่กัมพูชาจะส่งเข้าสาธารณรัฐประชาชนจีน” ในเดือนสิงหาคม 2561 เป็นต้นมา ทำให้กล้วยหอมเป็นผลไม้ชนิดแรกที่กัมพูชาสามารถส่งเข้าไปขายในตลาดจีนได้โดยไม่ต้องผ่านประเทศที่


โอกาสและศักยภาพการส่งออกสินค้ากล้วย “กล้วยอินทรีย์” โอกาสทองของกล้วยไทย “กล้วยหอม” เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะกล้วยหอมพันธุ์สีทอง เนื่องจากรสชาติที่อร่อย มีกลิ่นหอม แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะสามารถปลูกกล้วยหอมได้ แต่มีเพียง 2 จังหวัด คือ โอกินาวา และคาโงชิมา ทำให้ประเทศญี่ปุ่นมีความต้องการนำเข้ากล้วยหอมทองของไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกล้วยหอมอินทรีย์ ที่ปลอดสารพิษที่เป็นอัตรายต่อสุขภาพ ซึ่งทำให้เกษตรกรไทยหันมาปลูกกล้วยด้วยระบบอินทรีย์มากขึ้น เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่นและสามารถส่งออกได้ราคาดีเพิ่มมากขึ้น


กล้วยเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และเป็นพืชที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี ทำให้ง่ายต่อการเพาะปลูกและดูแลรักษา ปลูกขายก็สร้างรายได้และทำกำไรได้ดี กล้วยจึงเป็นอีกหนึ่งพืชผลทางการเกษตรที่ควรได้รับการสนับสนุน ให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกหนึ่งชนิดที่เป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกร ได้ปลูกขายเพื่อบริโภคทั้งภายในแต่ส่งขายไปยังต่างประเทศ ซึ่งการสนับสนุนและส่งเสริมการปลูกกล้วยนั้นควรเป็นไปตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตและการค้าสินค้ากล้วย โดยความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เรื่องการส่งออกสินค้ากล้วยไปขายยังต่างประเทศ เกษตรจึงควรหันมาปลูกและแปรรูปกล้วย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศทดแทนการส่งออก รวมทั้งส่งเสริมการแปรรูปสินค้ากล้วยให้ตอบสนองต่อความต้องการการบริโภคในรูปแบบใหม่

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

*
* *
คลิกLikeเพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ"
รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด
และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *





SMEs manager


กำลังโหลดความคิดเห็น