xs
xsm
sm
md
lg

สนค.เผย “Virtual Event” ช่วยธุรกิจอีเวนท์ฝ่าวิกฤต COVID-19 ได้อย่างไร

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การระบาดของโรคโควิด - 19 ทำให้หลายประเทศออกมาตรการควบคุมการระบาดของเชื้อ ทั้งมาตรการ Lockdown การปิดสถานที่เสี่ยง ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของคนจำนวนมาก รวมทั้งการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) มาตรการเหล่านี้ไม่เพียงส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้ชีวิตของคนทั่วโลก แต่ยังส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีก ร้านอาหาร การท่องเที่ยว และการให้บริการต่างๆ ต้องหยุดชะงักลง หนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงคือ "ธุรกิจอีเวนท์" (Event Business) 

สถานการณ์ธุรกิจอีเวนท์ปัจจุบัน การทำการตลาดในเชิงกิจกรรมหรือการจัดงาน เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าและบริการ เนื่องจากการจัดงานสามารถสร้างประสบการณ์และการมีส่วนร่วมจากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง 


สำหรับปี 2020 ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ทำให้อีเวนท์ต่างๆ ในประเทศไทยและทั่วโลกมีทั้ง ‘ยกเลิก’ และ ‘เลื่อน’ ออกไปอย่างไม่มีกำหนด โดยในประเทศไทยเช่น งานบางกอก อินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์โชว์ครั้งที่ 41 งานมหกรรมบ้านและคอนโดครั้งที่ 42 งานพัทยามิวสิค เฟสติวัล 2020 รวมถึงงานแสดงสินค้า งานคอนเสิร์ต และการประชุมสัมมนาต่างๆ อีกมากมาย โดยปี 2020 ข้อมูลปรับปรุงล่าสุด ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 พบว่ามีจำนวนผู้เข้าร่วมประมาณ 0.35 ล้านคน ทำรายได้ประมาณ 24,195 ล้านบาท
.
ข้อมูลจาก Allied Market Research แสดงให้เห็นว่าขนาดของอุตสาหกรรมงานอีเวนท์ในตลาดโลกปี 2018 มีมูลค่า 1,100 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตถึงร้อยละ 10.3 ในปี 2026 โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 2,330 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนแบ่งรายได้เมื่อแบ่งตามช่วงอายุพบว่าในปี 2018 กลุ่มที่สร้างรายได้ให้กับตลาดสูงสุดคือกลุ่มอายุ 20 - 40 ปี โดยสร้างรายได้กว่า 2 ใน 5 ของมูลค่าตลาด และคาดว่าจะเติบโตถึงร้อยละ 11.6 ในปี 2026 หากแบ่งตามภูมิภาคพบว่า ยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่สร้างรายได้กว่า 2 ใน 5 เนื่องจากกว่าครึ่งของเมืองในยุโรปนิยมจัดงานอีเวนท์และการประชุมระดับนานาชาติ สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดที่ร้อยละ 13 เนื่องจากมีลีกกีฬาอย่างต่อเนื่อง มีความพร้อมในการใช้งานแบบดิจิทัล และมีความสามารถในการเติบโตเพื่อปรับให้เข้ากับเทคโนโลยีนวัตกรรม


ธุรกิจอีเวนท์ หนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่เสี่ยงอาจทรุดยาว ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟต์ ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ This is Working เกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 โดยมองว่าแม้ว่าวิกฤตการระบาดของ COVID-19 จะจบลง แต่จะมี 4 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้เหมือนเดิม จนกว่าจะมีวัคซีนรักษาโรค COVID-19 ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจอีเว้นท์ อาทิ สัมมนา กีฬา และการแสดงโชว์สดต่างๆ
.
Bill Gates ให้คำแนะนำต่อการปรับตัวของธุรกิจโดยใช้คำว่า “Push things digitally” นั่นก็คือการทำ “Digital Transformation” ที่เป็นการสร้างประสิทธิภาพจากศักยภาพด้านดิจิทัลของธุรกิจ ที่จะทำให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์ใหม่ที่ดีกว่าการใช้งานแบบเดิม ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบโมเดลทางธุรกิจและโครงสร้างการสร้างรายได้ใหม่แบบออนไลน์ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตใหม่ได้อีกครั้ง สำหรับธุรกิจอีเวนท์ Bill Gates พยากรณ์ว่าหลังจากนี้ธุรกิจอีเวนท์จะปรับตัวเป็นออนไลน์มากขึ้น และอาจถึงขั้นมีอาชีพใหม่ตามมา นั่นคือ นักออกแบบอีเวนท์ออนไลน์ เพราะถือว่าเป็นคนละศาสตร์และศิลป์กับการจัดอีเวนท์สด เนื่องจากระบบออนไลน์มีกระบวนการทำงาน และวิธีสร้างประสบการณ์ที่ต่างกัน


Virtual Event เป็นการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ที่นำมาพัฒนารูปแบบการจัดอีเวนท์ที่เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมของงานอีเวนท์ที่จัดขึ้นจริงมาอยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถมีส่วนร่วมผ่านการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต จึงช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและสัมผัสประสบการณ์แก่ผู้คนจากทุกภูมิภาคทั่วโลกได้อย่างใกล้ชิด และสามารถสัมผัสกับเนื้อหาแบบเดียวกับงานอีเวนท์ที่จัดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง โดยมีแพลตฟอร์มยอดนิยมและเป็นที่รู้จักสำหรับการจัด Virtual Event เช่น การใช้ Facebook YouTube Live หรือ Livestream สำหรับการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) การใช้ WebinarJam หรือ Zoom สำหรับสัมมนาออนไลน์ และการใช้ vFairs หรือ Connex สำหรับจัดงานอีเว้นท์บนโลกเสมือนจริง เป็นต้น


โอกาสของ Virtual Event ในตลาดธุรกิจอีเวนท์ Virtual Event เป็นการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ที่นำมาพัฒนารูปแบบการจัดอีเวนท์ที่เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมของงานอีเวนท์ที่จัดขึ้นจริงมาอยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถมีส่วนร่วมผ่านการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต จึงช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและสัมผัสประสบการณ์แก่ผู้คนจากทุกภูมิภาคทั่วโลกได้อย่างใกล้ชิด และสามารถสัมผัสกับเนื้อหาแบบเดียวกับงานอีเวนท์ที่จัดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง โดยมีแพลตฟอร์มยอดนิยมและเป็นที่รู้จักสำหรับการจัด Virtual Event เช่น การใช้ Facebook YouTube Live หรือ Livestream สำหรับการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) การใช้ WebinarJam หรือ Zoom สำหรับสัมมนาออนไลน์ และการใช้ vFairs หรือ Connex สำหรับจัดงานอีเว้นท์บนโลกเสมือนจริง เป็นต้น


บทบาทกระทรวงพาณิชย์ในการสนับสนุน Virtual Event ศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนการจัดงานแบบ Virtual Event พร้อมทั้งวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหา และอุปสรรค เพื่อจัดทำแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการทั้งผู้จัดงานอีเวนท์และเจ้าของแบรนด์ ให้สามารถการจัดงานแบบ Virtual Event ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของพฤติกรรมลูกค้า พัฒนาและสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจอีเวนท์และเจ้าของแบรนด์ เพื่อให้ตระหนักถึงโอกาสจาก Virtual Event และเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวในอนาคต โดยจัดเป็นรูปแบบการอบรมให้ความรู้ จากธุรกิจต้นแบบที่ได้ดำเนินการจัดงาน Virtual Event  ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Virtual Event เพื่อให้ผู้ประกอบการแต่ละธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

** *คลิกLikeเพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ"
รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด
และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *



กำลังโหลดความคิดเห็น