xs
xsm
sm
md
lg

"พอใจ" หรือ "สุขใจ" สองความรู้สึกที่ไม่เหมือนกัน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ภาพ pixabay.com
เราทุกคนต่างยอมรับว่าเราต้องการความสุข เราอยากมีความสุข เรารู้มาว่าเงินซื้อความสุขที่แท้จริงไม่ได้ แต่เงินสร้างความพอใจชั่วขณะได้ และที่สำคัญเงินก็มีผลกระทบความสุขเราได้เช่นกัน

มนุษย์เราต่างพยายามแสวงหาความสุข แต่น่าแปลกใจที่เราหลายคนกลับใช้ชีวิตไปในการกลับกันที่จะหาความสุข นี่คือสิ่งที่นักจิตวิทยา ชื่อ เดเนียล คาห์นีแมน ได้กล่าวไว้ ในการรับรางวัลโนเบล ปี 2002

เราต้องการความสุข แต่เรากลับหันไปสร้างความพอใจชั่วขณะ เราต้องการความสุขในระยะยาวแต่หลายครั้งเรามัวแต่สร้างภาพความสุขในระยะสั้น หรือแม้แต่เรากำลังสร้างสิ่งที่ไม่ได้ทำให้เรามีความสุข

เราทนทำงานกับคนที่เข้ากับเราไม่ได้ และไม่มีความสุขเลย เพื่อเงินในระยะสั้น และบั่นทอนชีวิตของเรา เพราะมันเป็นความทรงจำที่จะติดอยู่กับเราตลอดไป

เรานัดครอบครัวเลี้ยงฉลองเพื่อได้เจอหน้าพบปะสังสรรค์กัน แต่เรากลับเสียเวลานั่งถ่ายรูปลงโซเชียล เปิดมือถือส่งภาพตลอดงาน โดยทำให้เสียเวลาที่จะได้ใช้เวลาอันมีค่านี้กับครอบครัว

สิ่งนี้เป็นเรื่องปรกติตามทฤษฎี Prospect Theory ของ Daniel Kaheman และ Amos Tversky (1996) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี 2002 และนำมาประกอบการคิดเชิงเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรรม

โดยสรุปได้ว่ามนุษย์เรามีการทำงานของสมองสองระบบ คือ ระบบที่ 1 การคิดในระยะสั้น อัตโนมัติ ตัดสินรวดเร็ว และมักผิดพลาด มีอคติ ระบบที่ 2 คือ วิจารณญาณ คือการคิดที่ช้า ต้องอดทน ฝึกฝน จึงเป็นคนคิดเก่ง

คนส่วนใหญ่ มีแนวโน้มที่จะใช้สมองส่วนที่ 1 คือส่วนคิดเร็ว อัตโนมัติและใช้อารมณ์ ฉาบฉวย มากกว่าสมองส่วนที่ 2 คือสมองส่วนเหตุผล ซึ่งจะคิดช้ากว่า ด้วยเหตุนี้ทำให้เรามักตัดสินใจผิดพลาด และเลือกในสิ่งที่หลอกตัวเอง เช่น

นาย ก อยากทำงานที่บริษัทนี้มาก หาข้อมูลมาอย่างนี้เตรียมตัวพร้อมจนได้ทำงานสมหวัง ต่อมาเจอหัวหน้าพูดคำบางคำกระทบจิตใจ หลังจากทำงานมาเป็นปี นาย ก ตัดสินใจทันทีในขณะนั้นว่า "พอละ พรุ่งนี้ลาออกแน่นอน"

และสิ่งที่แปลกกว่านั้นคือ คนเรามีแนวโน้มทีจะเลือกจำข้อมูลที่เสริมความคิดอคติของตัวเอง มากกว่าจะหาข้อมูลเพื่อคิดไตร่ตรองว่าอะไรควรไม่ควร รุ่งขึ้น นาย ก ไปลาออก สมใจ แต่ในใจลึกๆรู้สึกเจ็บแค้นมากที่ต้องลาออก (เพราะจริงๆคือไม่อยากลาออก) นี่แหละคะ ชีวิต

มนุษย์เรามีแนวโน้มอยู่แล้วที่จะตัดสินใจจากสมองระบบที่ 1 ที่เป็นการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพราะชิน และคิดไปเองว่ามันสบายกว่าการคิดช้า แต่แล้วก็มานั่งบ่นว่าอยากมีชีวิตที่ดีกว่านี้

หากเรามีความเข้าใจความคิด พฤติกรรม และความสุขในชีวิตที่แท้จริงของเรา และใจเย็น อดทน มีวินัยหน่อย เราอาจได้รับความสุขหลักๆ หลายอย่างที่เราต้องการ เช่น ความสำเร็จทางครอบครัว ความสำเร็จทางการงาน ความสำเร็จทางการศึกษา

นักเรียนรักดีจำนวนมาก มีความใฝ่ฝัน อยากเรียนเก่งๆ จะได้สอบมหาวิทยาลัยดังๆ ได้ จึงตั้งใจไปสมัครเรียนพิเศษกับเหล่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญ เมื่อเจออุปสรรค เช่น รถติด เหนื่อย ไม่ได้เที่ยวเหมือนเดิม ก็บ่นว่า ท้อจังเหนื่อยมาก จึงเลิกล้มการฝึกฝน ทางเลือกสูงที่ฝันไว้จึงต้องเลื่อนลงมา เพราะอารมณ์หรือสมองส่วนที่ 1 ทำงานไปแล้วโดยไม่รู้ตัว สุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไปก็มานั่งเสียดายว่าวันนั้นถ้าอดทนกว่านั้นเราคงผ่านมาได้

เรายอมรับตัวเองว่า มนุษย์เรามีแนวโน้มจะหลอกตัวเองเถอะค่ะ เราจะได้หาทางแก้ โดยใช้สมองส่วนที่ 2 ที่ต้องอดทน ต้องฝึก เพราะการใช้อารมณ์ไม่ได้ช่วยให้เรามีความสุขเลย ทั้งทางด้านการงาน ชีวิตส่วนตัว หรือแม้แต่การเงิน

สมัยนี้ใคร ๆ ก็ให้ความสนใจกับอิสรภาพทางการเงิน แต่เรารีบเข้าใจเร็วไป คิดว่าอิสรภาพทางการเงินคือ ชีวิตที่มีอิสระ แม้ตอนเรานอน เงินยังพอกพูนตลอด โดยหลักการให้เงินทำงานแทนเรา แบบที่ Warren Buffet และBill Gates รวมถึงอภิมหาเศรษฐีทำกันได้ โดยทำให้คนสมัยนี้พยายามศึกษาเรื่องเงิน เรื่องหุ้น เรื่องเศรษฐศาสตร์ จนลืมมองไปถึงคุณลักษณะบางอย่าง ที่เหล่าบรรดาบุคคลโด่งดังเหล่านี้มีคล้ายๆกัน นั้นคือ ความขยันและวินัยของชีวิต

มีกี่คน ที่รวยและชีวิตมีความสุข โดยไม่ได้เริ่มจากคำว่า ขยัน และ วินัย

Warren Buffet ก็เติบโตมาจาก เด็กส่งนม Bill Gates ก็ไม่ได้มั่งคั่งมาแต่เด็ก หรือเศรษฐีในเมืองไทยก็ล้วนแต่มีเรื่องราวของต่อสู่ฟันผ่า ขยัน อดทน จนน่าชื่นชม สุดท้าย พวกเขาเหล่านี้ จึงมีความเข้าใจชีวิตทีลึกซึ่ง ลดละความพอใจช่วยขณะ เพื่อสร้างความสุขในระยะยาว

ซึ่งผลจากการเก็บความพอใจไว้ เลือกที่จะใช้สมองระบบที่ 2 คือส่วนวิจารณญาณทำงาน จึงทำให้เขาเหล่านี้อดทน มีวินัย ฝึกฝน ศึกษาหาข้อมูลและประเมิน และที่สุด ข้อมูลถูกต้อง และที่สุดก็ได้ความสุขคือ อิสรภาพทางการเงิน และอิสรภาพของชีวิต

ครูฮ้วง

-----------------

ครูฮ้วง-เสาวลักษณ์ ลี้รุ่งเรืองพร เจ้าของสถาบัน Campus Genius Center ผู้สอนหลักสูตรติวเข้มเพื่อการสอบ SAT ด้วยแนวคิดแบบ Critical Thinking ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถยื่นคะแนนเข้าเรียน และประสบความสำเร็จในการเรียนคณะอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ



กำลังโหลดความคิดเห็น