รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2562 ที่เพิ่งประกาศผลเมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับความสนใจมาก เป็นผลงานการศึกษาวิธีแก้ปัญหา “ความยากจน” ด้วยการริเริ่มใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองในพื้นที่จริง (Experimental Research)
นี่นับเป็นวิธีใหม่ในการหาคำตอบจากภาคปฏิบัติด้วยวิธีทดลองแบบสุ่ม โดยมีกลุ่มควบคุมที่เรียกว่า RCT (Randomized Controlled Tried) สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมุ่งไปที่เรื่องการแก้ปัญหา “ความยากจน” ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกพยายามแก้ จนถึงขนาดองค์กรสหประชาชาติ ซึ่งประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Golds) ที่ผู้นำ 193 ประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย) ไปลงนามยืนยันจะผลักดันการแก้ปัญหาของโลกทั้ง 17 เป้าหมายให้สำเร็จภายในปี 2030
“ความยากจน” ก็เป็นเป้าหมายแรกที่นำขบวนปัญหาท้าทายของโลก แม้ว่าหลายประเทศจะมีข้อมูลว่าแนวโน้มดีขึ้น แต่ขณะนี้ก็ยังมีกว่า 700 ล้านคนที่อยู่ทั่วโลก ยังอยู่ในสภาพขัดสน ขาดแคลน เช่นเข้าไม่ถึงน้ำสะอาด และภาวะการรักษาพยาบาลยังไม่ดีพอ
ผมได้มีโอกาสสนทนาและแลกเปลี่ยนความเห็นกับ ดร.วรภัทร โตธนะเกษม กรรมการผู้จัดการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ (IRDP) ท่านได้เสนอความเห็นว่า น่าจะมีนักเศรษฐศาสตร์ไทยสักจำนวนหนึ่งประกาศตัวเป็น “แนวร่วมในการวิจัยเพื่อลดความยากจน” และมีการนำเสนอผลงานเป็นระยะ
พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการนำผลการวิจัยไปกำหนดเป็นนโยบายเรื่องการแก้ปัญหาความยากจนด้วย
“ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ ต้องไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด”
ผมขอเสริมว่า หน่วยงานที่น่าจะเห็นเป็นโอกาสนำขบวนความคิดนี้ก็น่าจะเป็น สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่จะได้ศึกษาแนวทางและวิธีการของ 3 นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลประจำปีนี้ เพื่อนำมาประยุกต์ออกแบบโครงการวิจัยแนวใหม่
เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาความยากจนการศึกษาและสาธารณสุขของสังคมไทยให้ได้ผล
3 นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลปีนี้ ก็คือ อภิจิต บาเนอร์จี (เชื้อชาติอินเดีย) และ เอสเธอร์ ดัฟโล (เชื้อชาติฝรั่งเศส) ศาสตราจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซสต์ (MIT) และ ไมเคิล เครเมอร์ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
นักเศรษฐศาสตร์ดาวเด่นทั้ง 3 สนใจศึกษาปัญหาด้านเศรษฐศาสตร์เชิงพัฒนาการเป็นพิเศษ สั่งสมผลงานการวิจัยและบทความวิชาการที่ได้รับรางวัลอยู่เสมอ
จุดเด่นของงานวิจัยที่ได้รับยกย่องนี้ คือการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกว้างขวางและซับซ้อน ซึ่งหลายประเทศ หลายรัฐบาลที่มีการกล่าวถึงการแก้ปัญหาและประชาชนต่างคาดหวัง
เท่าที่ทำกันมาหลายยุคสมัย มีการจัดโครงสร้าง มีหน่วยงานเพื่อแก้ปัญหาและออกมาตรการช่วยเหลือผู้ยากไร้มาทุกรัฐบาล แต่การแก้ปัญหาก็ยังไม่เห็นผลชัด
นักวิจัยทั้ง 3 จึงได้เปลี่ยนวิธีคิดจากภาพใหญ่ของการแก้ปัญหาความยากจน มาเน้นการแก้ปัญหาเป็นประเด็นเฉพาะ ซึ่งก็เป็นส่วนย่อยของปัญหาความยากจนนั่นเอง
จากการตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบในการแก้ปัญหาที่ตรงจุดเช่น...
การขาดแคลนทรัพยากรในโรงเรียน ทำให้ผลการเรียนของเด็กนักเรียนไม่ดีจริงหรือ
ผลการวิจัยพบว่า การให้ทรัพยากรเพิ่ม (อย่างเช่น การแจกเครื่องเล่นอินเทอร์เน็ตในยุคหนึ่งของไทย) ไม่ได้ทำให้ผลการเรียนรู้ของเด็กสูงขึ้น จากการทดลองทำให้รู้ว่าการขาดแรงจูงใจของครูในการสอบและการสอนที่ไม่ตรงกับระดับการเรียนรู้ของเด็กเป็นปัญหาสำคัญ
ขณะที่นโยบายไม่ต้องใช้งบประมาณ เช่น การใช้ครูผู้ช่วยในการช่วยสอนเด็กที่ติดตามการเรียนไม่ทัน แทนการลดขนาดชั้นเรียน ทำให้ผลการเรียนรู้โดยเฉลี่ยของเด็กดีขึ้น
อย่างที่มีปัญหาครูที่อินเดีย ขาดสอนบ่อย งานวิจัยพบว่า จ้างครูเป็นสัญญาระยะสั้นและต่ออายุ เมื่อผลการสอนออกมาดี จะทำให้ผลการสอบของนักเรียนดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างการตั้งราคายาที่เหมาะสม และยาแจกฟรีสำหรับคนยากจน ซึ่งแนวคิดระดับนโยบายและผู้บริหารอาจต้องทบทวน
ข้อคิด...
ปรากฏการณ์ที่มีการยกย่องผลงานการวิจัยแนวใหม่ที่คลุกลงพื้นที่ จนได้พบวิธีการที่ได้ผลดีของการแก้ปัญหาความยากจน ที่ได้ข้อมูลจากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่เขียนนโยบายจากคนในส่วนกลาง
ผลงานวิชาการจึงเป็นที่ยอมรับ เพราะจับต้องได้ เพราะมุ่งที่ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ (Outcome) ซึ่งจะเกิดผลการเปลี่ยนแปลงเชิงพัฒนา (Impect)ไม่ใช่ผลงานเชิงปริมาณการได้ทำ (Output)
งานนี้ในสถาบันระดับโลกด้านการพัฒนาพากันตื่นตัวและยินดีที่จะเปลี่ยนวิธีคิดและนำเอาวิธีการตามที่นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้ใช้วิธีวิจัยเชิงทดลองจนได้ข้อสรุปประเด็นการแก้ปัญหาของความยากจน
ทั้งประเด็นการศึกษา สาธารณสุข การครองชีพและคุณภาพชีวิต ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องน่าจะได้ใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้วิธีการซึ่งผ่านการทดลองมาประยุกต์ใช้ในนโยบายและมาตรการเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งจะได้ทั้งผลงานและความนิยม
suwatmgr@gmail.com
นี่นับเป็นวิธีใหม่ในการหาคำตอบจากภาคปฏิบัติด้วยวิธีทดลองแบบสุ่ม โดยมีกลุ่มควบคุมที่เรียกว่า RCT (Randomized Controlled Tried) สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมุ่งไปที่เรื่องการแก้ปัญหา “ความยากจน” ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกพยายามแก้ จนถึงขนาดองค์กรสหประชาชาติ ซึ่งประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Golds) ที่ผู้นำ 193 ประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย) ไปลงนามยืนยันจะผลักดันการแก้ปัญหาของโลกทั้ง 17 เป้าหมายให้สำเร็จภายในปี 2030
“ความยากจน” ก็เป็นเป้าหมายแรกที่นำขบวนปัญหาท้าทายของโลก แม้ว่าหลายประเทศจะมีข้อมูลว่าแนวโน้มดีขึ้น แต่ขณะนี้ก็ยังมีกว่า 700 ล้านคนที่อยู่ทั่วโลก ยังอยู่ในสภาพขัดสน ขาดแคลน เช่นเข้าไม่ถึงน้ำสะอาด และภาวะการรักษาพยาบาลยังไม่ดีพอ
ผมได้มีโอกาสสนทนาและแลกเปลี่ยนความเห็นกับ ดร.วรภัทร โตธนะเกษม กรรมการผู้จัดการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ (IRDP) ท่านได้เสนอความเห็นว่า น่าจะมีนักเศรษฐศาสตร์ไทยสักจำนวนหนึ่งประกาศตัวเป็น “แนวร่วมในการวิจัยเพื่อลดความยากจน” และมีการนำเสนอผลงานเป็นระยะ
พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการนำผลการวิจัยไปกำหนดเป็นนโยบายเรื่องการแก้ปัญหาความยากจนด้วย
“ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ ต้องไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด”
ผมขอเสริมว่า หน่วยงานที่น่าจะเห็นเป็นโอกาสนำขบวนความคิดนี้ก็น่าจะเป็น สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่จะได้ศึกษาแนวทางและวิธีการของ 3 นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลประจำปีนี้ เพื่อนำมาประยุกต์ออกแบบโครงการวิจัยแนวใหม่
เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาความยากจนการศึกษาและสาธารณสุขของสังคมไทยให้ได้ผล
3 นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลปีนี้ ก็คือ อภิจิต บาเนอร์จี (เชื้อชาติอินเดีย) และ เอสเธอร์ ดัฟโล (เชื้อชาติฝรั่งเศส) ศาสตราจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซสต์ (MIT) และ ไมเคิล เครเมอร์ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
นักเศรษฐศาสตร์ดาวเด่นทั้ง 3 สนใจศึกษาปัญหาด้านเศรษฐศาสตร์เชิงพัฒนาการเป็นพิเศษ สั่งสมผลงานการวิจัยและบทความวิชาการที่ได้รับรางวัลอยู่เสมอ
จุดเด่นของงานวิจัยที่ได้รับยกย่องนี้ คือการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกว้างขวางและซับซ้อน ซึ่งหลายประเทศ หลายรัฐบาลที่มีการกล่าวถึงการแก้ปัญหาและประชาชนต่างคาดหวัง
เท่าที่ทำกันมาหลายยุคสมัย มีการจัดโครงสร้าง มีหน่วยงานเพื่อแก้ปัญหาและออกมาตรการช่วยเหลือผู้ยากไร้มาทุกรัฐบาล แต่การแก้ปัญหาก็ยังไม่เห็นผลชัด
นักวิจัยทั้ง 3 จึงได้เปลี่ยนวิธีคิดจากภาพใหญ่ของการแก้ปัญหาความยากจน มาเน้นการแก้ปัญหาเป็นประเด็นเฉพาะ ซึ่งก็เป็นส่วนย่อยของปัญหาความยากจนนั่นเอง
จากการตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบในการแก้ปัญหาที่ตรงจุดเช่น...
การขาดแคลนทรัพยากรในโรงเรียน ทำให้ผลการเรียนของเด็กนักเรียนไม่ดีจริงหรือ
ผลการวิจัยพบว่า การให้ทรัพยากรเพิ่ม (อย่างเช่น การแจกเครื่องเล่นอินเทอร์เน็ตในยุคหนึ่งของไทย) ไม่ได้ทำให้ผลการเรียนรู้ของเด็กสูงขึ้น จากการทดลองทำให้รู้ว่าการขาดแรงจูงใจของครูในการสอบและการสอนที่ไม่ตรงกับระดับการเรียนรู้ของเด็กเป็นปัญหาสำคัญ
ขณะที่นโยบายไม่ต้องใช้งบประมาณ เช่น การใช้ครูผู้ช่วยในการช่วยสอนเด็กที่ติดตามการเรียนไม่ทัน แทนการลดขนาดชั้นเรียน ทำให้ผลการเรียนรู้โดยเฉลี่ยของเด็กดีขึ้น
อย่างที่มีปัญหาครูที่อินเดีย ขาดสอนบ่อย งานวิจัยพบว่า จ้างครูเป็นสัญญาระยะสั้นและต่ออายุ เมื่อผลการสอนออกมาดี จะทำให้ผลการสอบของนักเรียนดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างการตั้งราคายาที่เหมาะสม และยาแจกฟรีสำหรับคนยากจน ซึ่งแนวคิดระดับนโยบายและผู้บริหารอาจต้องทบทวน
ข้อคิด...
ปรากฏการณ์ที่มีการยกย่องผลงานการวิจัยแนวใหม่ที่คลุกลงพื้นที่ จนได้พบวิธีการที่ได้ผลดีของการแก้ปัญหาความยากจน ที่ได้ข้อมูลจากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่เขียนนโยบายจากคนในส่วนกลาง
ผลงานวิชาการจึงเป็นที่ยอมรับ เพราะจับต้องได้ เพราะมุ่งที่ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ (Outcome) ซึ่งจะเกิดผลการเปลี่ยนแปลงเชิงพัฒนา (Impect)ไม่ใช่ผลงานเชิงปริมาณการได้ทำ (Output)
งานนี้ในสถาบันระดับโลกด้านการพัฒนาพากันตื่นตัวและยินดีที่จะเปลี่ยนวิธีคิดและนำเอาวิธีการตามที่นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้ใช้วิธีวิจัยเชิงทดลองจนได้ข้อสรุปประเด็นการแก้ปัญหาของความยากจน
ทั้งประเด็นการศึกษา สาธารณสุข การครองชีพและคุณภาพชีวิต ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องน่าจะได้ใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้วิธีการซึ่งผ่านการทดลองมาประยุกต์ใช้ในนโยบายและมาตรการเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ซึ่งจะได้ทั้งผลงานและความนิยม
suwatmgr@gmail.com