สมัยที่ผมเริ่มงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยราว 40 ปีก่อน ได้มีโอกาสจับงานที่เกี่ยวกับเรื่องความเหลื่อมล้ำและปัญหาความยากจนของคนไทย แม้เวลาผ่านไปสถานการณ์ของประเทศในเรื่องนี้จะมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นบ้าง แต่ก็ยังคงมีโจทย์สำคัญหลายเรื่องที่ประเทศไทยควรเร่งจัดการอย่างเป็นระบบก่อนที่จะส่งผลต่อเสถียรภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)เป็นหนึ่งในความพยายามดังกล่าวของประเทศไทยที่ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) ได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายขึ้นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 54 ที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้กำหนดให้จัดตั้งขึ้นให้แล้วเสร็จภายใน
1 ปี ภายหลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อปี 2560
จากการที่ผมได้มีโอกาสลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนหลายพันคนใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศร่วมกับ กอปศ. ก็พบว่าทุกฝ่ายล้วนมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จนเริ่มส่งผลต่อความมั่นคงและเสถียรภาพของประเทศไทยทั้งด้าน สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในมิติต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
สิ่งหนึ่งที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างได้ที่ต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพทางหนึ่ง คือ การที่เราส่งเสริม “ความเสมอภาคทางการศึกษา” ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างแท้จริง
หากเด็กเยาวชนคนไทยทุกคนได้มีโอกาสที่เสมอภาคในการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความถนัดของตนไปจนสุดความสามารถ และตามบริบทในชุมชนท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่แล้ว ย่อมจะเป็นหนทางสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนให้สำเร็จได้อย่างยั่งยืน ภายในชั่วคนนี้ ไม่ทิ้งปัญหาความยากจนไปให้ ข้ามชั่วคนไปยังคนรุ่นต่อไป
นี่จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง กสศ. ที่ปัจจุบันมีคณะกรรมการบริหาร และ สำนักงานกองทุนฯ เป็นผู้นำเจตนารมณ์ และคำแนะนำจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติเข้าสู่ปีที่ 2 ในปี 2562
นับเป็นโอกาสอันดีที่ รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปีนี้ให้ความสำคัญกับงานวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา (Development Economics) โดยได้ประกาศรายชื่อนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้ร่วมกันวิจัยพัฒนา “นวัตกรรมการวิจัยเชิงทดลอง” เพื่อสนับสนุนการขจัดปัญหาความยากจนของโลก
คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า นักเศรษฐศาสตร์ 3 ท่านที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนากลุ่มงานวิจัยดังกล่าวตลอด 20 ปีที่ผ่านมาให้มีความก้าวหน้าจากงานวิจัยในวารสารวิชาการชั้นนำ สู่การเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าของเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนา
รายชื่อนักเศรษฐศาสตร์ทั้ง 3 ท่านคือ Professor Abhijit Banerjee และ Professor Esther Duflo จาก MIT และ Professor Michael Kremer จาก Harvard University
แนวโน้มปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโลก
เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ และความยากจน โดยเปรียบเทียบกับงบประมาณและทรัพยากรที่มีเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งในประเทศไทย และระดับนานาชาติแล้วจะพบว่า การมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปีนี้อาจจะ มาได้ถูกที่ถูกเวลา ก็เป็นได้
ผมขอยกตัวอย่างง่าย ๆ ที่เกี่ยวกับความเสมอภาคทางการศึกษาว่า ข้อมูลจากสถาบันสถิติแห่งองค์การยูเนสโก (UIS) แสดงให้เห็นว่ายังมีเด็กและเยาวชนมากกว่า 263 ล้านคนทั่วโลกที่ยังคงอยู่นอกระบบการศึกษา โดยเป็นเด็กวัยประถมศึกษามากกว่า 60 ล้านคน
ที่น่ากังวลไปกว่านั้น คือ แนวโน้มความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในระดับนานาชาติที่แม้จะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จำนวนเด็กนอกระบบการศึกษา (ระดับประถมศึกษา) ทั่วโลกที่เคยมีจำนวนมากกว่า 100 ล้านคน เมื่อปี 1990 ลดลงเหลือราว 63 ล้านคนในปี 2017 หรือลดลงเกือบร้อยละ 40 ระหว่าง 1990-2007 แต่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา (2007-2017) ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจของโลกเมื่อปี 2008 ซึ่งส่งผลให้ ทรัพยากรทั้งงบประมาณของรัฐ และเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือโครงการลดความเหลื่อมล้ำ และแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศด้อยพัฒนามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องนั้น จำนวนเด็กนอกระบบการศึกษาทั่วโลกจึงมีอัตราที่ลดลงน้อยมาก ไม่ถึง 100,000 คน
แสดงให้เห็นว่าความก้าวหน้าในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาในทศวรรษที่ผ่านมา เริ่มชะลอตัวลง กลุ่มเป้าหมาย 5-10% สุดท้ายยังเข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา หรือต้องออกจากการเรียนกลางคัน เพราะปัญหาสภาพเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ ฯลฯ มีสภาพปัญหาที่สลับซับซ้อนมากขึ้น และที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือ ตัวเลขเด็กนอกระบบการศึกษาในระดับโลกเริ่มกลับมามี แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นระหว่างปี 2016-2017 อีกครั้ง
นวัตกรรมการวิจัยเพื่อสนับสนุนนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษา
จากแนวโน้มสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโลกที่มีแนวโน้มลดลงในอัตราที่ถดถอยมากซึ่งสะท้อนสภาพปัญหาที่มีความยากมากขึ้น ในขณะที่งบประมาณของภาครัฐและเงินบริจาคกลับมีแนวโน้มลดลง จึงมีความจำเป็นที่ผู้กำหนดนโยบายต้องเลือกใช้ มาตรการที่ลงทุนน้อย แต่ได้ผลมาก
นวัตกรรมการวิจัยเชิงทดลอง ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปีนี้ จึงอาจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้กำหนดนโยบาย และหน่วยงานที่มีภารกิจลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาความยากจนสามารถใช้สนับสนุนข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน ด้วยกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์ในการพัฒนา และเลือกนโยบายที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในบริบทของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นจากนักวิชาการ นักลงทุน และประชาชนผู้เสียภาษี มากขึ้นในอนาคต
แล้วผลงานวิจัยเชิงทดลองของ Prof.Kremer, Prof.Banerjee และ Prof.Duflo ที่ส่วนใหญ่ดำเนินการผ่านศูนย์วิจัย Abdul Latif Jameel Poverty Action Lab (J-PAL) ของมหาวิทยาลัย MIT ให้ความเข้าใจอะไรมากขึ้นบ้าง
จากผลการวิจัยประเมินผลโครงการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามากกว่า 31 โครงการทั่วโลกด้วยกระบวนการ Randomized Control Trial (RCT) พบว่านโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้วยมาตรการที่เจาะจงไปที่ อุปสงค์ต่อการศึกษา (Demand for Education) ของนักเรียนและผู้ปกครองหลายมาตรการให้ผลลัพธ์และความคุ้มค่าทางงบประมาณที่สูงกว่ามาตรการด้านอุปทานของการศึกษา
ตัวอย่างเช่น
1)“การลดต้นทุนการเข้าถึงการศึกษา” เช่น
(1)การสนับสนุนเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข ต่ออัตราการมาเรียนของผู้เรียน
(2)เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขเพื่อแจ้งเตือน เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมของผู้รับเงิน มากกว่าเพื่อการตัดสิทธิการรับเงินอุดหนุน
(3)การสนับสนุน อาหารเช้า เครื่องแบบ และการเดินทาง แบบมีเงื่อนไข
(4)เงินอุดหนุนอย่างไม่มีเงื่อนไข
(5)การขจัดปัญหาสุขภาพของผู้เรียนที่เป็นอุปสรรคต่อการไปโรงเรียน เช่น การถ่ายพยาธิ การสนับสนุนแร่ธาตุ หรืออาหารเสริม)
2)“การเพิ่มการรับรู้ผลตอบแทนของการศึกษาในอนาคต” เช่น
(1)การเพิ่มการรับรู้ของครอบครัวต่อผลการตอบแทนของการศึกษาต่อรายได้ของบุตรหลานในอนาคต
(2)ส่งเสริมความมุ่งมั่นต่ออนาคตของผู้เรียน
(3)ค้นหาและแนะแนวผู้เรียนยากจนและด้อยโอกาสที่ประเมินโอกาสสำเร็จการศึกษาตนเองต่ำ
(4)การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อให้ครอบครัวเห็นคุณค่าในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมากขึ้น
(5)มาตรการแก้ไขอุปสรรคทางการศึกษาของเด็กผู้หญิง เช่น การไม่ได้รับการสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาจากครอบครัวที่เท่าเทียมกับเด็กผู้ชาย
ตัวอย่างมาตรการทางฝั่งอุปสงค์เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากผลการวิจัยและการประเมินผลด้วยกระบวนการวิจัยเชิงทดลองมามากกว่า 58 งานวิจัย ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี พบว่าสามารถเพิ่มอัตราการเข้าเรียน การสำเร็จการศึกษา และลดอัตราการหลุดออกจากระบบการศึกษาของผู้เรียนจากครัวเรือนที่มีความยากจนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และใช้งบประมาณน้อยกว่ามาตรการทางฝั่งอุปทาน อย่างการสร้างโรงเรียน สร้างห้องเรียนเพิ่ม หรือการเพิ่มครู
งานวิจัยดังกล่าวจึงได้ข้อสรุปที่น่าสนใจว่า การที่เด็ก เยาวชน หรือ ผู้ปกครอง ปฏิเสธการศึกษา แม้รัฐบาลจะสร้างโรงเรียน หรือจ้างครูเพิ่มเติมในพื้นที่ใกล้เคียงพวกเขามากขึ้นแล้ว มิใช่พวกเขาเป็นคนที่ขาดซึ่งเหตุผล หรือ ไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาต่ออนาคตของบุตรหลาน แต่คนกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นการตัดสินใจ ด้วยมาตรการลดความเหลื่อมล้ำที่เข้าใจในอุปสงค์ต่อการศึกษาของพวกเขาอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบทเฉพาะต่างๆ อย่างแท้จริง
ความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นภารกิจที่ใหญ่หลวง และหาใช่ภารกิจที่ กสศ. จะดำเนินการให้สำเร็จได้เพียงลำพัง ด้วยทรัพยากรที่จำกัด และโจทย์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง
(เรียบเรียงจากปาฐกถา เรื่อง “นวัตกรรมในการจัดทำนโยบายเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จัดโดย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ้งภากรณ์ และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ.)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)เป็นหนึ่งในความพยายามดังกล่าวของประเทศไทยที่ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) ได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายขึ้นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 54 ที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้กำหนดให้จัดตั้งขึ้นให้แล้วเสร็จภายใน
1 ปี ภายหลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อปี 2560
จากการที่ผมได้มีโอกาสลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนหลายพันคนใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศร่วมกับ กอปศ. ก็พบว่าทุกฝ่ายล้วนมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จนเริ่มส่งผลต่อความมั่นคงและเสถียรภาพของประเทศไทยทั้งด้าน สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในมิติต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
สิ่งหนึ่งที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างได้ที่ต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพทางหนึ่ง คือ การที่เราส่งเสริม “ความเสมอภาคทางการศึกษา” ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างแท้จริง
หากเด็กเยาวชนคนไทยทุกคนได้มีโอกาสที่เสมอภาคในการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความถนัดของตนไปจนสุดความสามารถ และตามบริบทในชุมชนท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่แล้ว ย่อมจะเป็นหนทางสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนให้สำเร็จได้อย่างยั่งยืน ภายในชั่วคนนี้ ไม่ทิ้งปัญหาความยากจนไปให้ ข้ามชั่วคนไปยังคนรุ่นต่อไป
นี่จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง กสศ. ที่ปัจจุบันมีคณะกรรมการบริหาร และ สำนักงานกองทุนฯ เป็นผู้นำเจตนารมณ์ และคำแนะนำจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติเข้าสู่ปีที่ 2 ในปี 2562
นับเป็นโอกาสอันดีที่ รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปีนี้ให้ความสำคัญกับงานวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา (Development Economics) โดยได้ประกาศรายชื่อนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้ร่วมกันวิจัยพัฒนา “นวัตกรรมการวิจัยเชิงทดลอง” เพื่อสนับสนุนการขจัดปัญหาความยากจนของโลก
คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า นักเศรษฐศาสตร์ 3 ท่านที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนากลุ่มงานวิจัยดังกล่าวตลอด 20 ปีที่ผ่านมาให้มีความก้าวหน้าจากงานวิจัยในวารสารวิชาการชั้นนำ สู่การเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าของเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนา
รายชื่อนักเศรษฐศาสตร์ทั้ง 3 ท่านคือ Professor Abhijit Banerjee และ Professor Esther Duflo จาก MIT และ Professor Michael Kremer จาก Harvard University
แนวโน้มปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโลก
เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ และความยากจน โดยเปรียบเทียบกับงบประมาณและทรัพยากรที่มีเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งในประเทศไทย และระดับนานาชาติแล้วจะพบว่า การมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปีนี้อาจจะ มาได้ถูกที่ถูกเวลา ก็เป็นได้
ผมขอยกตัวอย่างง่าย ๆ ที่เกี่ยวกับความเสมอภาคทางการศึกษาว่า ข้อมูลจากสถาบันสถิติแห่งองค์การยูเนสโก (UIS) แสดงให้เห็นว่ายังมีเด็กและเยาวชนมากกว่า 263 ล้านคนทั่วโลกที่ยังคงอยู่นอกระบบการศึกษา โดยเป็นเด็กวัยประถมศึกษามากกว่า 60 ล้านคน
ที่น่ากังวลไปกว่านั้น คือ แนวโน้มความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในระดับนานาชาติที่แม้จะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จำนวนเด็กนอกระบบการศึกษา (ระดับประถมศึกษา) ทั่วโลกที่เคยมีจำนวนมากกว่า 100 ล้านคน เมื่อปี 1990 ลดลงเหลือราว 63 ล้านคนในปี 2017 หรือลดลงเกือบร้อยละ 40 ระหว่าง 1990-2007 แต่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา (2007-2017) ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจของโลกเมื่อปี 2008 ซึ่งส่งผลให้ ทรัพยากรทั้งงบประมาณของรัฐ และเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือโครงการลดความเหลื่อมล้ำ และแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศด้อยพัฒนามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องนั้น จำนวนเด็กนอกระบบการศึกษาทั่วโลกจึงมีอัตราที่ลดลงน้อยมาก ไม่ถึง 100,000 คน
แสดงให้เห็นว่าความก้าวหน้าในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาในทศวรรษที่ผ่านมา เริ่มชะลอตัวลง กลุ่มเป้าหมาย 5-10% สุดท้ายยังเข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา หรือต้องออกจากการเรียนกลางคัน เพราะปัญหาสภาพเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ ฯลฯ มีสภาพปัญหาที่สลับซับซ้อนมากขึ้น และที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือ ตัวเลขเด็กนอกระบบการศึกษาในระดับโลกเริ่มกลับมามี แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นระหว่างปี 2016-2017 อีกครั้ง
นวัตกรรมการวิจัยเพื่อสนับสนุนนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษา
จากแนวโน้มสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโลกที่มีแนวโน้มลดลงในอัตราที่ถดถอยมากซึ่งสะท้อนสภาพปัญหาที่มีความยากมากขึ้น ในขณะที่งบประมาณของภาครัฐและเงินบริจาคกลับมีแนวโน้มลดลง จึงมีความจำเป็นที่ผู้กำหนดนโยบายต้องเลือกใช้ มาตรการที่ลงทุนน้อย แต่ได้ผลมาก
นวัตกรรมการวิจัยเชิงทดลอง ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปีนี้ จึงอาจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้กำหนดนโยบาย และหน่วยงานที่มีภารกิจลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาความยากจนสามารถใช้สนับสนุนข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน ด้วยกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์ในการพัฒนา และเลือกนโยบายที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในบริบทของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นจากนักวิชาการ นักลงทุน และประชาชนผู้เสียภาษี มากขึ้นในอนาคต
แล้วผลงานวิจัยเชิงทดลองของ Prof.Kremer, Prof.Banerjee และ Prof.Duflo ที่ส่วนใหญ่ดำเนินการผ่านศูนย์วิจัย Abdul Latif Jameel Poverty Action Lab (J-PAL) ของมหาวิทยาลัย MIT ให้ความเข้าใจอะไรมากขึ้นบ้าง
จากผลการวิจัยประเมินผลโครงการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามากกว่า 31 โครงการทั่วโลกด้วยกระบวนการ Randomized Control Trial (RCT) พบว่านโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้วยมาตรการที่เจาะจงไปที่ อุปสงค์ต่อการศึกษา (Demand for Education) ของนักเรียนและผู้ปกครองหลายมาตรการให้ผลลัพธ์และความคุ้มค่าทางงบประมาณที่สูงกว่ามาตรการด้านอุปทานของการศึกษา
ตัวอย่างเช่น
1)“การลดต้นทุนการเข้าถึงการศึกษา” เช่น
(1)การสนับสนุนเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข ต่ออัตราการมาเรียนของผู้เรียน
(2)เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขเพื่อแจ้งเตือน เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมของผู้รับเงิน มากกว่าเพื่อการตัดสิทธิการรับเงินอุดหนุน
(3)การสนับสนุน อาหารเช้า เครื่องแบบ และการเดินทาง แบบมีเงื่อนไข
(4)เงินอุดหนุนอย่างไม่มีเงื่อนไข
(5)การขจัดปัญหาสุขภาพของผู้เรียนที่เป็นอุปสรรคต่อการไปโรงเรียน เช่น การถ่ายพยาธิ การสนับสนุนแร่ธาตุ หรืออาหารเสริม)
2)“การเพิ่มการรับรู้ผลตอบแทนของการศึกษาในอนาคต” เช่น
(1)การเพิ่มการรับรู้ของครอบครัวต่อผลการตอบแทนของการศึกษาต่อรายได้ของบุตรหลานในอนาคต
(2)ส่งเสริมความมุ่งมั่นต่ออนาคตของผู้เรียน
(3)ค้นหาและแนะแนวผู้เรียนยากจนและด้อยโอกาสที่ประเมินโอกาสสำเร็จการศึกษาตนเองต่ำ
(4)การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อให้ครอบครัวเห็นคุณค่าในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมากขึ้น
(5)มาตรการแก้ไขอุปสรรคทางการศึกษาของเด็กผู้หญิง เช่น การไม่ได้รับการสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาจากครอบครัวที่เท่าเทียมกับเด็กผู้ชาย
ตัวอย่างมาตรการทางฝั่งอุปสงค์เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากผลการวิจัยและการประเมินผลด้วยกระบวนการวิจัยเชิงทดลองมามากกว่า 58 งานวิจัย ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี พบว่าสามารถเพิ่มอัตราการเข้าเรียน การสำเร็จการศึกษา และลดอัตราการหลุดออกจากระบบการศึกษาของผู้เรียนจากครัวเรือนที่มีความยากจนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และใช้งบประมาณน้อยกว่ามาตรการทางฝั่งอุปทาน อย่างการสร้างโรงเรียน สร้างห้องเรียนเพิ่ม หรือการเพิ่มครู
งานวิจัยดังกล่าวจึงได้ข้อสรุปที่น่าสนใจว่า การที่เด็ก เยาวชน หรือ ผู้ปกครอง ปฏิเสธการศึกษา แม้รัฐบาลจะสร้างโรงเรียน หรือจ้างครูเพิ่มเติมในพื้นที่ใกล้เคียงพวกเขามากขึ้นแล้ว มิใช่พวกเขาเป็นคนที่ขาดซึ่งเหตุผล หรือ ไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาต่ออนาคตของบุตรหลาน แต่คนกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นการตัดสินใจ ด้วยมาตรการลดความเหลื่อมล้ำที่เข้าใจในอุปสงค์ต่อการศึกษาของพวกเขาอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบทเฉพาะต่างๆ อย่างแท้จริง
ความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นภารกิจที่ใหญ่หลวง และหาใช่ภารกิจที่ กสศ. จะดำเนินการให้สำเร็จได้เพียงลำพัง ด้วยทรัพยากรที่จำกัด และโจทย์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง
(เรียบเรียงจากปาฐกถา เรื่อง “นวัตกรรมในการจัดทำนโยบายเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จัดโดย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ้งภากรณ์ และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ.)