สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ร่มกับ เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดประกวดนวัตกรรมอาหารฉายรังสี ภายใต้แนวคิด อาหารพื้นถิ่นไทย พัฒนาได้ด้วยเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ในรอบชิงชนะเลิศขึ้น โดยมีนางแน่งน้อย เวทยพงษ์ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการ ดร.หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์ รองผู้อำนวยการ คณะผู้บริหารสทน. และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมงาน ณTHE UNICORN SPACE ชั้น 22 Amarin Plaza
นางแน่งน้อย เวทยพงษ์ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานเปิดงาน กล่าวว่า วันนี้เราจะทำให้อาหารพื้นถิ่น ปลอดภัย เก็บรักษาได้นาน ด้วยรังสีนิวเคลียร์ โดยให้เห็นว่ารังสีสามารถถนอมอาหารได้ รังสีสามารถยืดอายุอาหารได้ และจะทำอย่างไรให้อาหารพื้นถิ่นกระจายสู่ตลาดโลก และเกิดคามมั่นใจในอาหารพื้นถิ่นฉายรังสี เพื่อเราจะก้าวสู่ครัวของโลก
ด้านรศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน.กล่าวว่า สำหรับโครงการประกวดนวัตกรรมอาหารฉายรังสี จะเป็นสิ่งหนึ่งที่มากระตุ้นเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมอาหารใหม่ๆให้เกิดขึ้นกับประเทศไทย โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีทางรังสีมาประยุกต์ใช้ ซึ่งมีประโยชน์ให้กับการพัฒนาด้านอาหารหลายอย่าง อย่างเช่นในเรื่องของการยืดอายุอาหาร การฆ่าเชื้ออาหาร ซึ่งจะทำให้อาหารพื้นถิ่นของประเทศไทยสามารถเปิดตลาดเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ สามารถแข่งขันสู่ตลาดโลกได้ ปีนี้มีทีมส่งเข้าประกวด 19 ทีม
ซึ่งเจอปัญหาเรื่องโควิด ปีต่อไปเราจะจัดให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ส่วนผลงานของน้องๆที่เข้ารอบ ก็น่าสนใจทั้งหมดเลย หลายๆผลงานเป็นสิ่งที่น่าสนใจและก็มีโอกาสที่จะขยายเข้าสู่ธุรกิจได้ ในอนาคตสิ่งที่สนท.ได้วางไว้ก็คือเราก็ต้องเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการที่จะหยิบผลิตภัณฑ์ที่รังสรรค์โดยน้องกลุ่มนี้มาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์จริงเข้าสู่ตลาด ทางสทน.และหน่วยงานอื่นในกระทรวงอว.จะมาร่วมกันขับเคลื่อนให้เชื่อมโยงผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถเข้าสู่ตลาดได้ อย่างเช่นเรื่องของขนมจีนหรือเรื่องของข้าวเหนียวที่ได้รางวัลชนะเลิศ ทำอย่างไรจะสามารถวางจำหน่ายสู่เซเว่นได้หรือไม่ หรือออกไปสู่ในห้างร้านใหญ่ๆหรือแม้กระทั่งการส่งออกไปสู่ต่างประเทศ ซึ่งก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างให้ชาวต่างประเทศได้รู้จักอาหารพื้นถิ่นของไทยมากยิ่งขึ้นในอนาคต
โดยผลการประกวด มี 2 รุ่น คือรุ่น รุ่นอุดมศึกษา (ระดับปริญญาตรี) และรุ่นบัณฑิตศึกษา (ระดับปริญญาโทและเอก) ทุนการศึกษา มูลค่า 130,000 บาท มีน้องๆ นิสิต นักศึกษา ให้ความสนใจและสมัครเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก ทาง สทน. พร้อมด้วยคณะกรรมการได้มีการคัดเลือกรอบแรกและนำที่มที่ผ่านเข้ารอบไปร่วมฝึกประสบการณ์เรียนรู้ภาคปฏิบัติเพื่อเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ โดยผลการตัดสินมีผู้ได้รับรางวัล ดังนี้
สำหรับรางวัล รุ่นอุดมศึกษา (ระดับปริญญาตรี) ผ่านเข้ารอบ 5 ผลงาน
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม ใครไม่คัดมังคุดคัด ผลงาน มังคุดคัดฉายรังสี : มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานมังคุดคัด ซึ่งเป็นของกินขึ้นชื่อของจังหวัดนครศรีธรรมราช แต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเก็บได้นาน โดยสีเนื้อของมังคุดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ทีมจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นนี้ โดยใช้เทคโนโลยีการฉายรังสี เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษา และเพื่อคงสภาพของผลิตภัณฑ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด สามารถคงความสดได้นานขึ้น ส่งผลให้สินค้าออกสู่ตลาดและเป็นที่รู้จักมากขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร
ผลงานของ นางสาวทพย์นภา ศรีอ่อน และนางสาววรรัตน์ ผดุงศิลป์ไพโรจน์
รับเงินรางวัล จำนวน 30,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่1 ได้แก่ทีม SU POWER UP ผลงาน ข้าวเหนียวเห็ดหอมสอดไส้น้ำพริกอ่อง : มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
ผลงานของนางสาวพรทิภา สอดสุข นางสาวพนิดา ตรีพงษ์พันธ์ นางสาวศิรประภา รอดจินดา
รับเงินราววัล จำนวน 15,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิสอันดับที่2
ได้แก่ทีม ข้าวแต๋น แต่นแตนแต๊น ผลงาน ข้าวแต๋นปักษ์ใต้ : สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
ผลงานของ นางสาวณิชกานต์ เกตุแก้ว นายชัชชัย เจริญเล็กอุทัย นางสาวหนึ่งฤทัย แอร่มหล้า
รับเงินราววัล จำนวน 10,000 บาท
รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม PUTA (ปาทู) ผลงาน อ่องปูนาฉายรังสี : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผลงานของ นายภาณุพงษ์ พฤกษชาติ นางสาวประภัสนัน อ้นอารี นางสาวอารียา สายบุตร
รับเงินราววัล จำนวน 5,000 บาท
รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม FMB ผลงาน ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเนื้อปลาส้มฉายรังสี : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผลงานของ นายกรพล คมง้าว นางสาวอภิญญา พวงทวี นางสาวสุมินา ธรรมกิตติ
รับเงินราววัล จำนวน 5,000 บาท
รุ่นบัณฑิตศึกษา (ระดับปริญญาโทและเอก) ผ่านเข้ารอบ 2 ผลงาน
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม ยิ่งฉาย ยิ่ง Shine ผลงาน หรอยแรง หนมจีนไม่ไร้น้ำยา : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการพัฒนาขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ ให้เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภค โดยการใช้เทคโนโลยีการฉายรังสี ซึ่งสามารถคงกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเครื่องแกงน้ำยาปักษ์ใต้ และสามารถยืดอายุเก็บรักษาให้นานขึ้นได้
ผลงานของ นางสาวรัฐนันท์ ติลกกุล นางสาวสยามล เผือกสีอ่อน นางสาวณัชชา รัตนลือชากุล
รับเงินราววัล จำนวน 30,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ทีม MU Innovator ผลงาน MoldiBean (ผลิตภัณฑ์เทมเป้ถั่วไทยผสม) : มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานของ นายยศสรัล บุญทาตุ้ย นางสาวนันทิชา บุรี นายยุทธพล วงษ์กิติโสภณ
รับเงินราววัล จำนวน 15,000 บาท
* * *คลิก Likeเพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ"รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุดและร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *
SMEs manager