xs
xsm
sm
md
lg

สสว.หนุน 30 กลุ่มคลัสเตอร์เดินหน้าปั้น ผปก. 4,246 ราย สานต่อโครงการสนับสนุนเครือข่าย SME คาดสร้างรายได้กว่า 472 ล้านบาท

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. เดินหน้าโครงการสนับสนุนเครือข่าย SME หนุน 30 กลุ่มคลัสเตอร์ ปั้นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 4,246 ราย เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มคลัสเตอร์ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ คาดในปี 2563 สามารถสร้างรายได้กว่า 472 ล้านบาท

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว.
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. กล่าวว่า หนึ่งในแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการที่สำคัญของ สสว. คือ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการรวมกลุ่มกันเป็นคลัสเตอร์ ซึ่งจะเป็นการรวมกลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ เพื่อเพิ่มกำลังให้เกิดอำนาจทางการต่อรองมากขึ้น และยังก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ที่จะช่วยการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับเอสเอ็มอี พร้อมต่อยอดทางการเงินและการตลาดต่อไปในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับแนวการดำเนินงานหลักของ สสว. Connext กล่าวคือ การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงการส่งเสริมและขยายช่องทางการตลาด


ทั้งนี้ เอสเอ็มอีส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายเล็ก จึงแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ยาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรวมกลุ่มกันเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งในการแข่งขัน รวมทั้งยังเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ ให้สามารถนำจุดแข็งของแต่ละรายมาร่วมกันพัฒนาสินค้าให้มีความโดดเด่นทั้งในเรื่องรูปแบบ นวัตกรรมและการบริการ ซึ่งจะเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่ามากขึ้น โดยที่ผ่านมา สสว.ได้เป็นหน่วยงานกลางระหว่างภาครัฐกับเอกชน ในการดึงศักยภาพของทุกฝ่ายเข้ามาพัฒนาเอสเอ็มอีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


สำหรับโครงการสนับสนุนเครือข่าย SME นี้ ทางด้าน สสว.ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ซึ่งการรวมกลุ่มหรือการสร้างเครือข่ายในรูปแบบคลัสเตอร์นี้ จะเน้นการกระตุ้นความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการ โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาด ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ การพัฒนาผู้ประกอบการในเครือข่ายให้มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการพัฒนาช่องทางการตลาดในเชิงรุกผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การแสดงสินค้าและการเจรจาธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ และสร้างการรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ของคนไทยให้แก่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศให้รู้จักมากยิ่งขึ้น


นอกจากนี้ ในปี 2563 สสว.ได้ดำเนินการร่วมกับ 7 หน่วยงาน ได้แก่ 1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร 2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ปลากัด 3. มหาวิทยาลัยนเรศวร ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ Health Retreatment 4. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ 5. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ Sport Economy 6. สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ BCG Fashion Lifestyle และ 7. สถาบันอาหาร ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์มะพร้าว สับปะรด และกระเทียม


ด้านผลสำเร็จในการดำเนินโครงการปี 2563 คือ สามารถสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาและเชื่อมโยงในรูปแบบคลัสเตอร์ จำนวน 30 คลัสเตอร์ มีผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจแบบคลัสเตอร์ 4,246 ราย และสามารถลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจหรือมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 472.12 ล้านบาท


ทั้งนี้ โครงการฯ ดังกล่าวไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างคลัสเตอร์ใหม่ๆ ขึ้นมาได้เท่านั้น แต่คลัสเตอร์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ยังสามารถผลักดันและต่อยอดการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น คลัสเตอร์ปลากัด ได้สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งสมาคมปลากัดแห่งประเทศไทย ผลักดันให้มีการจัดทำมาตรฐานปลากัดและจัดประกวดปลาสวยงาม ทำให้มีการยกระดับมูลค่าของปลากัดทั้งในเชิงราคาในท้องตลาดและการส่งออก พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลากัด โดยตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็น Hub การส่งออกปลากัดในฐานะปลาสวยงามไปทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศจีน อินเดีย และเยอรมนี


ในส่วนของคลัสเตอร์คอสเพลย์ ได้จัดตั้งสมาคมอุตสาหกรรมคอสเพลย์ไทยในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคอสเพลย์ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อผลักดันให้คอสเพลย์ไทยไปสู่มาตรฐานระดับโลก นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมผู้ประกอบการภาคเกษตรในการนำเทคโนโลยีขึ้นมาต่อยอด พัฒนาขึ้นเป็นถุงตากแห้งข้าว ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ในการอบข้าวเปลือกให้ได้ความชื้นตามมาตรฐาน โดยมีจุดเด่นจากเดิม 5 วัน เหลือเพียง 3 วัน และสามารถลดต้นทุนค่าแรงลงได้กว่า 40% การดำเนินงานดังกล่าวนับเป็นเพียงตัวอย่างความสำเร็จของการรวมตัวเป็นคลัสเตอร์ ในการสร้างพลังต่อยอดองค์ความรู้และเพิ่มมูลค่าให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างยั่งยืนต่อไป


















https://www.facebook.com/SMEs.manager/?ref=bookmarks" target="_blank">* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *
https://www.facebook.com/SMEs.manager" data-small-header="false" data-adapt-container-width="true" data-hide-cover="false" data-show-facepile="true" data-show-posts="false">
https://www.facebook.com/SMEs.manager">https://www.facebook.com/SMEs.manager">SMEs manager




กำลังโหลดความคิดเห็น