xs
xsm
sm
md
lg

UOB และ เดอะฟินแล็บ ดันโครงการ Smart Business Transformation ปี2 เปิดโลกดิจิทัล เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้ SME

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าภาคธุรกิจเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เห็นได้ชัดจากการปิดหน้าร้านซึ่งเป็นช่องทางหลักหรือที่เรียกว่าออฟไลน์ลงเกือบทั้งหมด บางธุรกิจถึงขั้นต้องปรับตัว เปลี่ยนแผนเพื่อการอยู่รอดในสถานการณ์เช่นนี้ ความจำเป็นในการเปิดโลกดิจิทัลสู่ช่องทางออนไลน์เป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ที่จะมาเป็นตัวช่วยให้ผู้ประกอบการ SME ของไทยได้ขยายขีดความสามารถในการทำธุรกิจได้อย่างไร้ชีดจำกัด ไร้พรหมแดน สร้างแต้มต่อทางธุรกิจได้เหนือคู่แข่งขันรายอื่นในตลาด


ยูโอบีชี้ปรับสู่ดิจิทัลทางรอด SME ไทย ต่อยอดธุรกิจกับโครงการ Smart Business Transformation 

ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)และ เดอะ ฟินแล็บ (The FinLab ) เปิดตัวสนับสนุน SME ไทยให้ปรับตัวสู่แพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบภายใต้โครงการ Smart Business Transformation (SBTP) โดยมีเป้าหมายที่ปรับเปลี่ยนผู้ประกอบการ SME ไทยให้เป็นองค์กรดิจิทัลให้ได้มากที่สุดภายใต้โครงการ SBTP ผู้ประกอบการ SME จะได้เรียนรู้โซลูชั่นที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถนำไปปรับเปลี่ยนการทำงานให้มีประสิทธืภาพได้อย่างเหมาะสม ทั้งสามารถประเมินผลลัพท์ที่ได้ด้วยเทคโนโยีอันทันสมัยจากฟินแล็บ

พอลลีน ซิม หัวหน้ากลุ่มงาน เดอะ ฟินแล็บ สิงคโปร์
พอลลีน ซิม หัวหน้ากลุ่มงาน เดอะ ฟินแล็บ สิงคโปร์ ให้ข้อมูลว่า The FinLab เริ่มต้นก่อนในประเทศสิงคโปร์ ความน่าสนใจคือ ฟินแล็บในตอนแรกโฟกัสที่ Tech Solution มีโครงการเข้ามาสนับสนุน ตัว FinTech Startup พบว่าแท้จริงแล้วมี SME อีกมากที่ต้องการความช่วยเหลือ และสามารถเอาเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไปช่วยได้ ทำให้ขยายจากจุดเริ่มต้นได้เพียงแค่ไม่ได้โฟกัสในเรื่องของเทคโนโลยี แต่พยายามที่จะผสมผสาน เอา Solution ของเทคโนโลยี มาช่วยSMEได้อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันมี Tech Solution 1,500 บริษัทด้วยกัน ครอบคลุม 48 ประเทศ จากทั่วทุกมุมโลก และช่วยเหลือเอสเอ็มอีในภูมิภาคกว่า 2,000 บริษัท ซึ่ง 1 ในนั้นเป็นเอสเอ็มอีของประเทศไทย

โดยขั้นตอนแรกที่ SME ต้องทำคือ กำหนดความต้องการขององค์กรว่าอยู่ที่ไหน ลำดับถัดไปคือขั้นตอนของการคัดเลือก ซึ่งฟินแล็บจะทำการคัดเลือกว่า Tech Solution ที่เข้าคู่กับประเภทธุรกิจเหล่านี้ได้บ้าง ต่อไปเป็นขั้นตอนของการลงมือทำจริง โดยการนำเอาทั้งสองอย่างเข้ามาผสมผสานเข้าด้วยกันและทดลองร่วมกัน เพื่อที่จะทำให้เกิดการช่วยเหลือจริงๆ

สำหรับ SME จุดที่สำคัญและเป็นอุปสรรคในการขยายต่อธุรกิจไปยังต่างประเทศ ถ้าหากไม่มีพาร์ทเนอร์ที่เข้าใจตรงกันแล้วย่อมเป็นปัญหาที่ค่อนข้างแก้ไขยาก โดยฟินแล็บยังได้มีการเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุน ธนาคารยูโอบี (UOB) ในเรื่องของการให้คำปรึกษาและคำแนะนำ รวมถึงสนับสนุนทางด้านพาร์ทเนอร์ เช่น ต้องการขยายธุรกิจไปยังประเทศมาเลเซีย ที่ปรึกษาจากมาเลเซียก็จะช่วยให้คำแนะนำได้ ทั้งนี้ยังมีเรื่องของการเชื่อมต่อเครือข่าย UOB ในประเทศต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย ซึ่งเมื่อได้ฟินแล็บให้การสนับสนุนจะสามารถช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี รวมถึงเรื่องของ เครือข่ายในกรณีที่ต้องการค้นหาออฟฟิศที่ทำงานในต่างประเทศ

สิรินันท์ จิรดิลก SVP. Digital Engagement & FinTech Innovation
ด้าน สิรินันท์ จิรดิลก SVP. Digital Engagement & FinTech Innovation กล่าวว่า ปีที่แล้ว ฟินแล็บมีเอสเอ็มอีไทยที่สมัครเข้าร่วมโครงการประมาณ 1,000 ราย ซึ่งในท้ายที่สุดสามารถช่วยเหลือให้นำเทคโนโลยีมาใช้งานได้และประสบความสำเร็จรวม 15 ราย แต่ปีนี SME มีความต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 หลายรายมีหน้าร้านเพียงออฟไลน์ ทำให้มีความต้องการผันตัวเองให้เป็นออนไลน์เพิ่มมากยิ่งขึ้นฟินแล็บจึงได้ปรับรูปแบบโครงการจากเดิม โดยปีที่ 1 ให้คำปรึกษากับ SME ในโครงการแบบพบปะ มีเวิร์คช็อปร่วมกันมาเป็นการใช้ แพลตฟอร์ม เดอะ ฟินแล็บ ออนไลน์ ที่สามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงโครงการในปีที่ 2 มากขึ้น ใช้การเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพื่อปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล แต่ ยูโอบี และเดอะฟินแล็บ ยังคงมีแกนหลัก 3 ข้อเพือให้การสนับสนุน นั่นคือ 1) การให้ความรู้แก่ SME เมื่อมีความรู้แล้วและเข้าใจว่าต้องการอะไร 2) หลังจากนั้นจึงจะ ไปจับคู่กับเทคโนโลยีที่เหมาะสม และ 3) ช่วยให้ SME สามารถนำเอาเทคโนโลยีไปใช้งานได้จริง

โดยทางโครงการฯ จะมีแบบทดสอบที่อยู่บนเว็บไซต์ หรือเรียกสั้นๆว่า DNA ผู้ประกอบการ SME สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้เพื่อที่จะได้รู้ว่าตนเองมีความต้องการดิจิทัล ด้านใดบ้าง หลังจากนั้นเมื่อทราบแน่ชัดว่าต้องการอะไร ขั้นตอนต่อไปคือการหา Tech Solution ที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง โดยการทำแบบทดสอบอีก 1 ตัว คือ DSA และเมื่อทำแบบทดสอบนี้เสร็จสิ้นระบบ จะทำการโชว์ Tech Solutions ที่เหมาะสมและตอบโจทย์ขึ้นมาให้ ขณะที่ SME บางรายที่รู้แน่ชัดว่าตนเองต้องการอะไรก็สามารถเลือก Tech Solutions ที่อยู่บนแพลตฟอร์มได้เลยซึ่งปีนี้ได้มีการเพิ่ม Tech Solutions ที่เป็นคนไทยเข้าไปด้วยโดยความร่วมมือกับ สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ ATSI เพื่อรองรับการเข้าถึงของ SME ได้ง่ายขึ้นในเรื่องของภาษา และราคาของเทคโนโลยีโซลูชันที่เหมาะสมและตอบโจทก์

เปิดโลกทัศน์กับ CEO ศรีจันทร์ ข้อมูลคือความสำคัญของการต่อยอด

รวิศ หาญอุตสาหะ CEO บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด และผู้บริหาร Mission to the Moon Media หนึ่งในผู้ประกอบการ SME ของไทยที่ประสบความสำเร็จในการปรับองค์กรสู่อิจิทัล ให้มุงมองสำหรับการปรับ สู่ Digital Mindset เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจไว้อย่างน่าสนใจว่า เวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามต้องถามถึงคุณค่าที่เป็นผลตอบรับว่าคืออะไร ทำแล้วได้ผลอะไร ความสำคัญก็คือองค์กรต้องเห็นประโยชน์ และความสำคัญเพื่อมาช่วยปรับเปลี่ยนในองค์กรให้ได้อย่างชัดเจน

ทั้งนี้การใช้ดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กร จะเริ่มจากการปรับเปลี่ยนในส่วนของหลังบ้านในการจัดการข้อมูล สำหรับศรีจันทร์ ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวที่ถูกถ่ายทอดมาประมาณ 3 รุ่นแล้ว ในส่วนของเครื่องสำอาง ก็จะมี SKU ที่เยอะมากในหมวดนี้ การจัดการโค้ดของสินค้าก็จะมีหลากหลายโค้ดที่ยากต่อการจัดการ ซึ่งก็เริ่มปรับเปลี่ยนโดยการ Clean DATA จัดระเบียบของข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน ในส่วนของหน้าบ้านก่อนอื่น

ผู้บริหารศรีจันทร์ กล่าวว่า ช่วงการระบาดโควิด-19 เปรียบเหมือนกับแรงผลักที่เข้ามาทำให้ทุกอย่างถูกจัดการอย่างรวดเร็วและมีระบบ ก่อนหน้านี้ก็มีความคิดกันอยู่แล้วว่าต้องการพัฒนาในส่วนของเว็บไซต์ให้แข็งแรง ซึ่งเว็บไซต์ตัวนี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อขายของของตัวเองเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่ยังต้องการขายของของรายอื่นๆ ได้ด้วย หลังจากทั้งสองส่วนทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านมาเชื่อมกันทำให้ทุกอย่างลื่นไหลไปอย่างสะดวก

“สำหรับกลุ่ม SMEที่มีงบประมาณจำกัดแต่ต้องการ Transformation แนะนำว่าหากมีงบที่จำกัดอันดับแรกก็ต้องคัดเลือกในเรื่องทั้งหมดที่ต้องการทำ หลังจากนั้นก็จะต้องมาเรียงลำดับว่าอะไรส่งผลที่สูงที่สุด ส่วนนั้นก็เป็นส่วนที่อาจจะได้รับการ Transformation มากที่สุดของธุรกิจเป็นอย่างแรก”

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เช่นนี้ผู้บริหารศรีจันทร์ ยกคำพูดมาอย่างหนึ่งคือส่วนตัวชอบคำของ ธอมัส ฟรีดแมน (Thomas L. Friedman) ที่เคยเปรียบเทียบไว้ว่า เมื่อก่อนคำว่าความมั่นคงใครหลายคนมักจะนึกถึงการนั่งอยู่บนเก้าอี้ หรือโซฟา แต่ว่ายุคนี้ความมั่นคงเปรียบเสมือนการปั่นจักรยานคือคุณจะหยุดไม่ได้ ซึ่งมันก็มั่นคงเมื่อคุณไม่หยุดปั่น แต่ว่าก็จะต้องรู้จักในการผ่อนแรงหรือเพิ่มแรงเมื่อผ่านไปยังสถานที่ต่างๆ ธุรกิจก็เช่นเดียวกัน และเป็นกำลังใจให้สำหรับเอสเอ็มอี และเชื่อว่าทุกคนล้วนผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว เราอาจจะกำลังค่อยๆ กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง

GQ ศึกษาตลาดก่อนปรับตัว Mind Set ด้านดิจิทัลของคนในทีมต้องตรงกัน

กุณฑลี เตกาญจนวนิช Marketing Director แห่ง Supara Group และ GQ Apparel เล่าให้ฟังถึงการปรับตัวว่า ทางฝั่งของ GQ เองเมื่อปลายปีที่แล้วก่อนที่จะมีผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ๆ ออกมาจะต้องมีการพูดคุยในองค์กรว่าทำไมบริษัทจึงจะต้องเกิดการปรับตัว และจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง “การ Transformation ของ SME อย่างแรกเลย resources ที่สำคัญที่สุดก็คือคนที่เป็นคนที่ผลักดันเกี่ยวกับ Digital Transformation ทั้งหมด โดยต้องดูว่า Mind Set ของคนในทีมต้องตรงกัน เพื่อความง่ายต่อการพัฒนาในอนาคต”

สำหรับการ Transformation ของ GQ เริ่มจากการดูภาพรวมทั้งหมดว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เริ่มจากต้องดูเทรนด์สินค้าในห้างสรรพสินค้า สำรวจความต้องการของลูกค้า โดยทาง GQ คิดถึงความจำเป็นที่จะต้องมีนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเสื้อเชิ้ตขาวโดยเฉพาะ และใช้สื่อออนไลน์เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในหลากหลายกลุ่ม ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาในส่วนของสินค้าที่ออกมาก่อนหน้ากากอนามัย คือเสื้อที่ใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนสีตามอุณหภูมิ เพื่อเตรียมรับเทศกาลสงกรานต์ แต่หลังจากที่ออกมาได้ไม่นานก็มีข่าวเลื่อนจัดเทศกาลออกไป ช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่เจ็บหนักมากเช่นกัน แต่ก็ต้องยอมรับและพร้อมปรับตัวจึงเป็นที่มาของการปรับตัวนำผ้าที่เป็นเทคโนโลยีสะท้อนน้ำออกมาทำตลาด ประจวบเหมาะกับไทยขาดแคลนหน้ากากอนามัยพบดี ซึ่งถือว่าเป็นสินค้าที่ใช้เวลาสั้นมากเมื่อเทียบกับสินค้าอื่นๆ และอีกเร็วๆ นี้ก็จะมีสินค้าตัวใหม่ออกมาอย่างแน่นอน

สำหรับเอสเอ็มอีที่กำลังต้องการ Digital Transformation เคล็ดลับหนึ่งอย่างจาก ผู้บริหาร GQ คือ การ “ลงมือทำ อย่าคิดเยอะ” บางครั้งสิ่งที่เราไม่ได้เตรียมตัวหรือว่าบางครั้งการใช้เวลาน้อย และลองลงมือทำไปเลย จะทำให้ได้รับประสบการณ์จริง ได้รู้ผลด้วยตัวเองว่าทำแบบนี้แล้วได้ผลหรือไม่ หรือควรจะปรับอย่างไร และด้วยสถานการณ์ แบบนี้อย่ามัวแต่คิดท้อแท้ แต่ต้องลงมือทำไปเพื่อที่จะได้เรียนรู้ไปด้วยกัน

“ TikTok For Business “ แพลตฟอร์มเพื่อ SME 

TikTok ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่กำลังมาแรงมากๆ ธัญวุฒิ วงษ์สุนทร SMB, Lead TikTok กล่าวว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่รวมวิดีโอแบบสั้นทั้งหมดทั่วทุกประเทศมาไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ซึ่งหลายคนให้ความสนใจแพลตฟอร์มดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ที่ผ่านมาและยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2020 นี้ TikTok มีคอนเทนท์ที่หลากหลาย เช่น สอนภาษา สอนบุคลิกภาพ หรือสอนทำอาหาร การรีวิวอาหาร รวมถึงรีวิวการท่องเที่ยวและการให้ความรู้ต่างๆ
เป้าหมายของ TikTok อยู่ที่ต้องการทราบว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะสามารถใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มนี้ได้อย่างไร จึงเป็นที่มาของการทำ TikTok For Business ในปีนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการทำการตลาดบนแพลตฟอร์มสำหรับ SME ซึ่งประเภทโฆษณาบน TiKTok นั้นจะมีทั้งหมด 5 ประเภท โดยเริ่มจาก 1.Brand Takeover ซึ่งจะอยู่ในส่วนแรกของการเริ่มต้นเข้าแอปพลิเคชั่น 2.Top View จะอยู่หลังจากกด Takeover ซึ่งเป็นวิดีโอตัวแรกที่ขึ้นในหน้าแรกของผู้ใช้งานความต่างคือสามารถใส่วิดีโอที่มีความยาวเพิ่มขึ้น 3.In-Feed Ads ทุกคนจะสามารถมองเห็นโฆษณาได้ทั้งที่ติดตามและไม่ได้ติดตาม โดยทั้ง 3 ฟังก์ชั่นจะเหมาะสำหรับการรับรู้แบรนด์ต่างๆ

สำหรับฟังก์ชั่น ทีผู้ประกอบการ SME ต้องการให้ผู้ใช้งานเข้ามามีส่วนร่วมด้วยจะมี 2 ฟังก์ชั่นด้วยกัน ซึ่งฟังก์ชั่นแรกคือ Hastag Challenge เป็นการที่แบรนด์สร้างเทรนด์อะไรบางอย่างขึ้นมา ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ และฟังก์ชั่นสุดท้าย คือ Brand Effect สามารถใช้เอฟเฟกต์ ให้เข้ากับแบรนด์ได้ ซึ่งสามารถคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ร่วมกับ Hastag Challenge ได้ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ในส่วนของประเภท In-Feed Ads ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ก็สามารถใช้บริการได้เหมือนกัน ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่ให้ความง่ายสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีทีมงานสามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะถูกแทรกอยู่ระหว่างวิดีโอปกติและวิดีโอที่เป็น Ads ในปัจจุบันมีแบรนด์ต่างๆ ที่ใช้ TikTok For Business Solutions ไปแล้วหลากหลากหลายแบรนด์โดยจะมีทั้งต่างประเทศและในประเทศ และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทย 

บทสรุปของการเดินหน้าทุกธุรกิจก่อนโควิด ทุกคนเร่งและวางเข็มพุ่งชนเป้าหมายแบบไม่ยากเย็น แต่วิกฤตโควิค-19 ที่ยาวนานและต่อเนื่องจากต้นปีมาจนถึงวันนี้ การสร้างโอกาสทางธุรกิจ การเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัล ต้องเร่งให้เกิดเพื่อความอยู่รอดและต่อกรกับภาวะเศรษฐกิจและวิกฤตที่ยากลำบากนี้จริงๆ โครงการ Smart Business Transformation ที่ขับเคลื่อนโดยธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) (ธนาคารยูโอบี (ไทย) และเดอะ ฟินแล็บ (The FinLab) ในปีที่ 2 ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เดอะ ฟินแล็บ ออนไลน์ (The Finlab Online) คือ หนทางก้าวกระโดด ทางลัด ที่ SME ไทยทั่วทุกภูมิภาค เพียงกล้า มีใจ พร้อมสร้างโอกาสให้ตนเองเปลี่ยนถ่ายสู่ธุรกิจดิจิทัลแบบไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มาพัฒนาขีดความสามารถของ SMEs สัญชาติไทยทุกพื้นที่ เพียงคลิ๊กลงทะเบียนเข้าโครงการที่ https://thefinlab.com/th/thailand/ท่านั้น

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *




กำลังโหลดความคิดเห็น